Categories
Football Business

กระเป๋าตุงแค่ไหน ? : เปิดตัวเลข 20 สโมสรพรีเมียร์ลีก จ่ายเงินให้เอเยนต์นักเตะในรอบปี

เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมฟุตบอลอังกฤษ หรือ เอฟเอ ได้เปิดเผยยอดเงินของทั้ง 20 สโมสรในพรีเมียร์ลีก ที่ได้จ่ายให้เอเย่นต์นักฟุตบอลไปในช่วง 2 รอบตลาดนักเตะ ทั้งซัมเมอร์ 2021 และเดือนมกราคม 2022

ตัวเลขที่ได้รวบรวมในรอบล่าสุด นับตั้งแต่ 2 กุมภาพันธ์ 2021 ถึง 31 มกราคม 2022 มียอดการซื้อขายนักเตะรวมกันทั้งสิ้น 1.44 พันล้านปอนด์ และเอเย่นต์ได้ส่วนแบ่ง 19 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นจำนวนเงิน 272.6 ล้านปอนด์

นับตั้งแต่มีการรวบรวมสถิติเป็นครั้งแรกในปี 2015 จะเห็นได้ว่าจำนวนเงินเข้ากระเป๋าเอเย่นต์เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี สำหรับยอดเงินในรอบปีนี้ เพิ่มขึ้นจากรอบปีที่แล้ว 4 แสนปอนด์ และเป็นตัวเลขที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกด้วย

แมนเชสเตอร์ ซิตี้, แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และเชลซี เฉพาะ 3 ทีมนี้ มียอดเงินที่ต้องจ่ายให้เอเย่นต์รวมกันถึง 1 ใน 3 ของทั้งหมด ขณะที่เบรนท์ฟอร์ด ที่เลื่อนชั้นขึ้นมาด้วยการเพลย์ออฟ จ่ายน้อยที่สุดแค่ 3.5 ล้านปอนด์

จำนวนเงินที่ทีมในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ เสียให้บรรดาเอเย่นต์ในรอบ 12 เดือนหลังสุด เป็นจำนวนที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับ 5 ลีกใหญ่ของยุโรป ทั้งเซเรีย อา อิตาลี, บุนเดสลีกา เยอรมนี, ลาลีกา สเปน และลีกเอิง ฝรั่งเศส

ในปัจจุบันนี้ มีเอเย่นต์นักฟุตบอลมากกว่า 2,000 คน ที่ลงทะเบียนกับเอฟเอ เมื่อมีดีลย้ายสโมสร, ต่อสัญญา หรือยกเลิกสัญญา ก็จะได้รับส่วนแบ่งตามเปอร์เซ็นต์ แน่นอนว่าพวกเขามักจะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ

มิโน่ ไรโอล่า เอเย่นต์นักฟุตบอลระดับท็อปของวงการ ที่เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อ 30 เมษายนที่ผ่านมา ได้อยู่เบื้องหลังนักเตะระดับโลกหลายคน อาทิ ปอล ป็อกบา รวมถึงเออร์ลิง ฮาแลนด์ ที่ตกเป็นข่าวย้ายทีมอย่างหนัก

ท่ามกลางกระแสข่าวที่ว่า องค์กรลูกหนังอย่าง “ฟีฟ่า” เตรียมจะกำหนดเพดานการใช้จ่าย และออกมาตรการทางกฎหมายใหม่ๆ เพื่อต้องการขจัดปัญหาการกินเงินส่วนต่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับดีลการซื้อขายนักเตะ

ทั้ง 20 สโมสรในลีกสูงสุดของอังกฤษ มียอดการจ่ายเงินให้ “นายหน้าค้านักเตะ” ในช่วงปี 2021-2022เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ดังต่อไปนี้

1. แมนเชสเตอร์ ซิตี้ (35 ล้านปอนด์)

แมนเชสเตอร์ ซิตี้ คือทีมแชมป์จ่ายเงินให้เอเย่นต์มากที่สุดในรอบ 12 เดือนล่าสุด และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2017 ด้วยจำนวนเงิน 35 ล้านปอนด์ มากกว่ารอบปี 2020-2021 ที่จ่ายไป 30.1 ล้านปอนด์

ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา แมนฯ ซิตี้ ได้ซื้อนักเตะฝีเท้าดีเข้าสู่ทีมมากมาย เช่น ลีรอย ซาเน่, จอห์น สโตนส์, อิลคาย กุนโดกัน, กาเบรียล เชซุส, แบร์นาร์โด้ ซิลวา, ไคล์ วอล์คเกอร์, อายเมอริค ลาป็อกต์ เป็นต้น

แต่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซิตี้ ซื้อนักเตะบิ๊กเนมเพียงไม่กี่ราย เมื่อเทียบกับช่วงแรกๆ ที่เป๊ป กวาร์ดิโอล่าเข้ามาคุมทีมใหม่ๆ แต่ด้วยจำนวนค่าตัวนักเตะที่สูง ทำให้พวกเขาต้องจ่ายเงินให้นายหน้ามากขึ้นตามไปด้วย

เหตุผลที่ “เรือใบสีฟ้า” ต้องจ่ายเงินให้เอเย่นต์ถึง 35 ล้านปอนด์ภายใน 1 ปี ไม่ใช่แค่การดึงตัวแจ็ค กริลิช เป็นค่าตัวสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการต่อสัญญาบรรดานักเตะในทีมด้วย

2. แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (29 ล้านปอนด์)

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด คือทีมที่ตามมาเป็นอันดับ 2 ในเรื่องการเสียค่าใช้จ่ายให้เอเย่นต์นักเตะรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา เป็นจำนวนเงิน 29 ล้านปอนด์ น้อยกว่าช่วงปี 2020-2021 ที่มีตัวเลข 29.8 ล้านปอนด์

แน่นอนว่า ดีลใหญ่ที่สุดของยูไนเต็ด คือการกลับคืนสู่โอลด์ แทร็ฟฟอร์ดของคริสเตียโน่ โรนัลโด้ เมื่อช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมา ซึ่งมีฮอร์เก้ เมนเดส จาก Gestifute International Limited เป็นนายหน้าคู่ใจของเขา

นอกจากนี้ ยังมีราฟาเอล วาราน แนวรับชาวฝรั่งเศส ที่มีอ็องโตนี่ พี่ชายของเขา อยู่เบื้องหลังการดึงตัวมาจากเรอัล มาดริด และดีลของเจดอน ซานโช่ ที่ย้ายมาจากโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ด้วยค่าตัว 78 ล้านปอนด์

และเหตุผลอีกอย่างหนึ่ง ที่มีส่วนทำให้ยอดเงินที่จ่ายให้เอเย่นต์ค่อนข้างสูง คือการต่อสัญญานักเตะตัวหลักในทีม ทั้งฆวน มาต้า ที่ต่อสัญญาไปอีก 1 ปี จนจบซีซั่นนี้ และเอริค ไบญี่ ที่ขยายสัญญาจนถึงปี2024

ขอบคุณภาพ : https://www.facebook.com/manchesterunited

3. เชลซี (28.2 ล้านปอนด์)

เมื่อช่วงปี 2020-2021 เชลซีคือทีมอันดับ 1 ที่จ่ายเงินให้เอเย่นต์มากที่สุดในพรีเมียร์ลีก (35.2 ล้านปอนด์) แต่ในรอบ 12 เดือนหลังสุดที่ผ่านมา พวกเขาอยู่อันดับที่ 3 ด้วยจำนวนเงิน 28.2 ล้านปอนด์

ในช่วงตลาดซื้อขายนักเตะ 2 รอบล่าสุด เชลซีมีดีลใหญ่เพียงแค่ 2 ดีลเท่านั้น คือโรเมลู ลูกากู ที่ย้ายมาจากอินเตอร์ มิลาน คืนสู่ทีมเก่า ด้วยค่าตัว 97.5 ล้านปอนด์ และยืมตัวซาอูล นิเกซ จากแอตเลติโก้ มาดริด

ดีลของลูกากู ทำให้เฟเดริโก้ ปาสโตเรลโล่ เอเย่นต์ส่วนตัวของดาวยิงทีมชาติเบลเยียม ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับโรมัน อบราโมวิช อดีตเจ้าของสโมสรมาอย่างยาวนาน ได้รับส่วนแบ่งไปค่อนข้างสูง

นับตั้งแต่ “เสี่ยหมี” เข้ามาเทคโอเวอร์สโมสรเมื่อปี 2003 ทำให้เชลซีเป็นทีมที่จ่ายเงินให้เอเย่นต์มากที่สุดในยุโรป ส่วนการเสริมผู้เล่นในช่วงซัมเมอร์นี้ ขึ้นอยู่กับเจ้าของทีมคนใหม่ที่จะเข้ามารับช่วงต่อไป

ขอบคุณภาพ : https://www.facebook.com/ChelseaFC

4. ลิเวอร์พูล (22.1 ล้านปอนด์)

อดีตทีมที่เคยครองตำแหน่งอันดับ 1 ในการเสียเงินให้เอเย่นต์ ถึง 3 ปีซ้อน ตั้งแต่ปี 2018-2020 สำหรับในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ลิเวอร์พูล อยู่ในอันดับที่ 4 มียอดค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 22.1 ล้านปอนด์

ตัวเลข 22.1 ล้านปอนด์ของลิเวอร์พูล มาจากดีลใหญ่ถึง 2 ดีล ทั้งอิบราฮิม่า โกนาเต้ กองหลังค่าตัว 36 ล้านปอนด์ จากแอร์เบ ไลป์ซิก และหลุยส์ ดิอาซ ปีกชาวโคลอมเบียจากปอร์โต้ 50 ล้านปอนด์

ส่วนดีลย้ายออก “หงส์แดง” ก็ต้องจ่ายเงินให้เอเยนต์ของแฮร์รี่ วิลสัน ปีกขวาที่ย้ายไปฟูแล่ม, มาร์โก้ กรูยิช กองหลังชาวเซอร์เบียที่ย้ายไปปอร์โต้ และไทโว อโวนิยี่ ที่ย้ายไปยูนิโอน เบอร์ลิน

นอกจากนี้ ทีมของเจอร์เก้น คล็อปป์ ยังมีการต่อสัญญาใหม่กับนักเตะหลายราย อาทิ อลิสซอน เบ็คเกอร์, ฮาร์วี่ย์ เอลเลียตต์, แอนดรูว์ โรเบิร์ตสัน, อาเดรียน, ควีวีน เคลเลเฮอร์ และนาธานเนียล ฟิลลิปส์

5. อาร์เซน่อล (18.7 ล้านปอนด์)

อาร์เซน่อล หมดเงินไป 18.7 ล้านปอนด์ กับค่าเอเย่นต์ในช่วง 12 เดือนหลังสุด ติดท็อป 5 ของพรีเยร์ลีก เป็นตัวเลขที่มากกว่าในช่วงระหว่างปี 2020-2021 ที่จ่ายเงินให้เอเย่นต์ทั้งหมด 16.5 ล้านปอนด์

ก่อนหน้านี้ อาร์เซน่อลไม่ค่อยพึ่งพาเอเย่นต์ชื่อดังที่มีอิทธิพลสูงมากเท่าใดนัก เอเย่นต์ส่วนใหญ่ที่เข้ามาเป็นเอเย่นต์ที่มีประวัติการซื้อขายนักเตะกับสโมสรน้อย ทำให้ค่าจ้างเอเย่นต์ยังไม่สูงมาก

แต่ในตลาดนักเตะ 2 รอบล่าสุด “เดอะ กันเนอร์ส” คือทีมที่จ่ายเงินซื้อนักเตะถึง 149 ล้านยูโร มากที่สุดในลีก แลกกับนักเตะ 6 คน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากเป้าหมายของทีมสูงขึ้น

6. ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ (13.9 ล้านปอนด์)

สเปอร์ จ่ายเงินให้เอเย่นต์ในรอบ 12 เดือนหลังสุดทั้งหมด 13.9 ล้านปอนด์ ต่ำสุดในกลุ่ม “บิ๊ก 6” พรีเมียร์ลีก และเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าช่วงระหว่างปี 2020-2021 ที่จ่ายเงินให้เอเย่นต์ทั้งหมด 16.5 ล้านปอนด์

ถึงแม้ว่าสเปอร์ จะถูกเรียกว่าเป็น 1 ใน 6 สโมสรใหญ่ของพรีเมียร์ลีก แต่สถานะทางการเงินยังเป็นรองอีก 5 ทีมใหญ่ที่อยู่เหนือพวกเขา ยอดเงินที่จ่ายให้เอเย่นต์ในปีที่ผ่านมา ใกล้เคียงกับทีมระดับกลางหลายๆ ทีม

การเสริมทัพของ “ไก่เดือยทอง” ในฤดูกาลนี้ จะเน้นไปที่นักเตะดาวรุ่งที่สามารถใช้งานได้หลายปี ซึ่งพวกเขาก็ทำผลงานได้ดี แต่ในฤดูกาลหน้า ความคาดหวังเรื่องผลงานของสโมสรจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

7. วัตฟอร์ด (12.6 ล้านปอนด์)

ทีมที่จ่ายเงินให้เอเย่นต์มากที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ของพรีเมียร์ลีกคือ วัตฟอร์ด คิดเป็นเงิน 12.6 ล้านปอนด์ ซึ่งมากกว่าเมื่อฤดูกาลก่อน ที่อยู่ในลีกแชมเปี้ยนชิพ โดยใช้ไปแค่ 2.1 ล้านปอนด์ หรือต่างกันถึง 6 เท่า

ฤดูกาลนี้ วัตฟอร์ดได้มีดีลต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งการเสริมนักเตะใหม่, ต่อสัญญา หรือย้ายออกจากทีม รวมกันทั้งหมด 31 คน แต่ถ้านับเฉพาะนักเตะที่ดึงเข้ามา พวกเขาได้เซ็นสัญญาไปทั้งหมด 24 คน

ซึ่งเอเย่นต์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัตฟอร์ดมากที่สุด คือ อาร์เนาด์ บายาต ที่ได้รับความไว้วางใจจากจิโน่ ปอซโซ่ เจ้าของสโมสรชาวอิตาเลียน และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังดีลสำคัญๆ หลายคน

8. เลสเตอร์ ซิตี้ (12 ล้านปอนด์)

เลสเตอร์ ซิตี้ จ่ายเงินให้กับเอเย่นต์ไป 12 ล้านปอนด์ ในรอบ 12 เดือนหลังสุด อยู่ในอันดับที่ 8 ส่วนตัวเลขช่วงระหว่างปี 2020-2021 ใช้เงินไป 12.5 ล้านปอนด์ น้อยกว่ากันแค่ 500,000 ปอนด์เท่านั้น

ตลาดนักเตะช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมา เลสเตอร์ใช้เงินไป 55 ล้านปอนด์ มากที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสร ได้นักเตะใหม่ อาทิ พัตสัน ดาก้า, บูบาการี่ ซูมาเร่, ยานนิค เวสเตอร์การ์ด, อเดโมล่า ลุคแมน และไรอัน เบอทรานด์

นอกจากนี้ ยังมีการต่อสัญญาฉบับใหม่กับนักเตะหลายคน เช่นแดนนี่ วอร์ด, ริคาร์โด้ เปเรยร่า, ฮาร์วี่ย์ บาร์นส์, เจมส์ จัสติน, มาร์ค อัลไบรท์ตัน และเอลดิน จาคูโปวิช

ขอบคุณภาพ : https://www.facebook.com/lcfc

9. วูล์ฟแฮมป์ตัน (11.9 ล้านปอนด์)

วูล์ฟแฮมป์ตัน จ่ายเงินค่าเอเย่นต์ในรอบ 12 เดือนล่าสุด เป็นจำนวน 11.9 ล้านปอนด์ อยู่ในอันดับที่ 9 ของพรีเมียร์ลีก ซึ่งน้อยกว่าช่วงปี 2020-2021 ที่ติดอันดับ 8 ด้วยจำนวนเงิน 12.6 ล้านปอนด์

ในฤดูกาลนี้ วูล์ฟแฮมป์ตัน ได้เปลี่ยนกุนซือจากนูโน่ เอสปิริโต ซานโต มาเป็นบรูโน่ ลาจ ซึ่งยังคงนโยบาย “โปรตุกีส คอนเน็คชั่น” ดึงนักเตะที่เป็นลูกค้าของฮอร์เก้ เมนเดส เอเย่นต์ชื่อดังเข้าสู่ทีม

ดีลของเยอร์สัน มอสเกร่า กองหลังดาวรุ่งวัย 21 ปี ที่ย้ายมาจากแอตเลติโก นาซิอองนาล สโมสรในโคลัมเบีย มีการเปิดเผยว่า ฮวน ปาโบล อังเคล อดีตดาวยิงแอสตัน วิลล่า เป็นนายหน้าให้กับเขา

10. เอฟเวอร์ตัน (11.5 ล้านปอนด์)

รอบ 12 เดือนหลังสุด เอฟเวอร์ตัน จ่ายเงินให้กับเอเย่นต์ติดอันดับ “ท็อป เทน” ของพรีเมียร์ลีก คิดเป็นเงิน 11.5 ล้านปอนด์ ภายใต้สถานการณ์ที่สโมสรประสบกับปัญหาทางการเงินอย่างหนักในเวลานี้

ตลาดนักเตะ 2 รอบล่าสุด เอฟเวอร์ตันดึงตัวผู้เล่นใหม่เข้ามาไม่น้อย เช่น เดมาไร เกรย์, แอนดรอส ทาวน์เซ่น, ซาโลมอน รอนดอน, วิตาลี มิโคเลนโก้, นาธาน แพตเตอร์สัน ดอนนี่ ฟาน เดอ เบค, เดเล่ อัลลี่ เป็นต้น

ส่วนดีลย้ายออกที่สำคัญ เช่นการปล่อยฮาเมส โรดริเกวซ และเบอร์นาร์ด 2 นักเตะที่กินค่าเหนื่อยสูงสุดออกไป รวมถึงลูคัส ดีญ ที่มีนายหน้าคนดังอย่างเคีย จูรับเชี่ยน อยู่เบื้องหลังในการย้ายไปแอสตัน วิลล่า

11. ลีดส์ ยูไนเต็ด (11.4 ล้านปอนด์)

ลีดส์ ยูไนเต็ด มียอดการจ่ายเงินให้กับเอเย่นต์ในรอบ 12 เดือนหลังสุด ทั้งหมด 11.4 ล้านปอนด์ อยู่ในอันดับที่ 11 ของพรีเมียร์ลีก มากกว่าช่วงระหว่างปี 2020-2021 ที่พวกเขาจ่ายไป 7 ล้านปอนด์

ตลาดนักเตะช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมา ลีดส์ใช้เงินประมาณ 50 ล้านปอนด์ แลกกับ 3 นักเตะทีมใหญ่ ทั้งแดเนี่ยล เจมส์ จากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, จูเนียร์ เฟอร์โป จากบาร์เซโลน่า และแจ็ค แฮร์ริสัน จากแมนเชสเตอร์ ซิตี้

นอกจากนี้ ยังต่อสัญญาให้กับนักเตะตัวหลัก เช่น อิลลัน เมสลิเย่ร์ (ขยายไปอีก 5 ปี), แพทริค แบมฟอร์ด, สจ๊วต ดัลลัส, อดัม ฟอร์ชอว์ และไทเลอร์ โรเบิร์ต รวมถึงนักเตะอคาเดมี่ และนักเตะที่ขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่เป็นครั้งแรก

12. เวสต์แฮม ยูไนเต็ด (10.5 ล้านปอนด์)

เวสต์แฮม ยูไนเต็ด จ่ายเงินให้กับเอเย่นต์ในรอบ 12 เดือนหลังสุด เป็นจำนวนเงิน 10.5 ล้านปอนด์ อยู่ในอันดับที่ 12 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากรอบปี 2020-2021 ที่เสียค่าใช้จ่ายให้เอเย่นต์ 9.7 ล้านปอนด์

การใช้จ่ายในตลาดนักเตะ 2 รอบล่าสุด เวสต์แฮมได้นักเตะใหม่มา 5 คน ได้แก่ เคิร์ต ซูม่า, นิโกล่า วลาซิช, เคร็ก ดอว์สัน พร้อมยืมตัว 2 นักเตะทั้งอเล็กซ์ คราล และอัลฟองเซ่ อาเรโอล่า

การเซ็นสัญญานักเตะของ “เดอะ แฮมเมอร์ส” ในฤดูกาลนี้ ช่วยยกระดับผลงานได้ดี โดยในเวลานี้ มีลุ้นเล็กๆ ในการติดท็อป 4 พรีเมียร์ลีก และยังอยู่ในเส้นทางลุ้นแชมป์ยูฟ่า ยูโรป้า ลีก อีกด้วย

ขอบคุณภาพ : https://www.facebook.com/WestHam

13. แอสตัน วิลล่า (9.6 ล้านปอนด์)

แอสตัน วิลล่า เป็นทีมอันดับที่ 13 ของทีมที่จ่ายเงินให้กับเอเย่นต์มากที่สุดในพรีเมียร์ลีกในรอบ 12 เดือนล่าสุด ด้วยจำนวน 9.6 ล้านปอนด์ มากกว่าช่วงปี 2020-2021 ที่ใช้เงินไป 8.9 ล้านปอนด์

การขายแจ็ค กริลิช ไปให้แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ด้วยค่าตัว 100 ล้านปอนด์ เป็นสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอังกฤษ ทำให้วิลล่า มีงบประมาณมหาศาลที่จะเสริมตัวผู้เล่นในตลาดนักเตะ 2 รอบล่าสุด

ดีลของเอมิเลียโน่ บูเอนเดีย, ลีออน ไบลี่ย์, ลูคัส ดีญ และแดนนี่ อิงส์ เฉพาะ 4 คนนี้ มีค่าตัวรวมกันประมาณ 115 ล้านปอนด์ อีกทั้งยังยืมตัวฟิลิปเป้ คูตินโญ่ มาจากบาร์เซโลน่า ในช่วงเดือนมกราคมด้วย

14. คริสตัล พาเลซ (8.9 ล้านปอนด์)

คริสตัล พาเลซ จ่ายเงินไป 8.9 ล้านปอนด์ กับค่าเอเย่นต์ในช่วง 12 เดือนหลังสุด เป็นอันดับที่ 14 ของพรีเยร์ลีก เพิ่มขึ้นจากช่วงระหว่างปี 2020-2021 ที่จ่ายเงินให้เอเย่นต์ทั้งหมด 6.8 ล้านปอนด์

ในตลาดนักเตะ 2 รอบล่าสุด พาเลซใช้เงินซื้อนักเตะไปไม่น้อยกว่า 60 ล้านปอนด์ เช่น ไมเคิล โอลิเซ่, โจอาคิม แอนเดอร์สัน, อ็อดซอนน์ เอดูอาร์, มาร์ค เกฮี, ฌอง ฟิลิปป์ มาเตต้า เป็นต้น

ส่วนนักเตะตัวเก๋าอย่างเจมส์ แม็คอาเธอร์ มิดฟิลด์วัย 34 ปี เพิ่งขยายสัญญาออกไป แต่จะไม่ได้เป็นการต่อสัญญาแบบระยะยาว ขึ้นอยู่กับการพิจารณาว่า เขายังมีประโยชน์กับสโมสรหรือไม่

15. นอริช ซิตี้ (8.7 ล้านปอนด์)

นอริช ซิตี้ มียอดการจ่ายเงินให้กับเอเย่นต์ในรอบ 12 เดือนหลังสุด ทั้งหมด 8.7 ล้านปอนด์ ซึ่งมากกว่าช่วงระหว่างปี 2020-2021 ที่อยู่ในลีกแชมเปี้ยนชิพ ได้จ่ายค่าเอเย่นต์ไป 6.8 ล้านปอนด์

สำหรับเงินที่ต้องจ่ายให้นายหน้าของนอริชนั้น มาจากการซื้อผู้เล่นเข้ามาถึง 11 คนในตลาดนักเตะช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมา รวมถึงการปล่อยตัวเอมิเลียโน่ บูเอนเดีย ไปให้แอสตัน วิลล่า ด้วยค่าตัว 33 ล้านปอนด์

นอกจากนี้ การยกเลิกสัญญากับนักเตะหลายคน และการเปลี่ยนแปลงกุนซือจากดาเนียล ฟาร์ก มาเป็นดีน สมิธ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ก็ถูกนับรวมเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเอเย่นต์ด้วย

16. นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด (7.7 ล้านปอนด์)

นิวคาสเซิล ที่เพิ่งมีเจ้าของสโมสรรายใหม่ไปเมื่อเร็วๆ นี้ จ่ายเงินค่าเอเย่นต์ไปเพียง 7.7 ล้านปอนด์ น้อยกว่าช่วงระหว่างปี 2020-2021 ในยุคของไมค์ แอชลี่ย์ อดีตเจ้าของทีมคนก่อน ที่จ่ายไป 11.3 ล้านปอนด์

ในฤดูกาลนี้ นิวคาสเซิลเสริมนักเตะมา 5 คน ค่าตัวรวมกันประมาณ 92 ล้านปอนด์ แต่จะเน้นหนักไปที่ตลาดนักเตะเดือนมกราคม ประกอบด้วยคีแรน ทริปเปียร์, แดน เบิร์น, โจ วิลล็อค, คริส วูด และบรูโน่ กิมาไรส์

เป็นที่น่าแปลกใจว่า ซีซั่นนี้นิวคาสเซิลเสียเงินค่านายหน้าน้อยกว่าซีซั่นที่แล้ว แต่ด้วยความสามารถในการดึงนักเตะที่มากกว่าเดิมในอนาคต พวกเขามีแนวโน้มที่จะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายให้นายหน้าเพิ่มขึ้น

ขอบคุณภาพ : https://www.facebook.com/newcastleunited

17. ไบรท์ตัน (6.2 ล้านปอนด์)

ไบรท์ตัน ได้จ่ายเงินให้เอเย่นต์ไปทั้งหมด 6.2 ล้านปอนด์ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา มากสุดเป็นอันดับที่ 17 ของพรีเมียร์ลีก น้อยลงจากช่วงระหว่างปี 2020-2021 ที่เสียค่าเอเย่นต์ไป 7.5 ล้านปอนด์

สมัยที่ไบรท์ตัน ยังอยู่ในลีกแชมเปี้ยนชิพ จ่ายเงินให้นายหน้านักเตะไม่ถึง 1 ล้านปอนด์ จนกระทั่งในฤดูกาล 2016/17 เป็นซีซั่นแรกที่พวกเขาจ่ายเงินแตะ 7 หลัก และได้เลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ลีกในซีซั่นถัดไป

ดีลใหญ่ของ “เดอะ ซีกัลส์” ในฤดูกาลนี้ ฝั่งขาเข้าคืออิน็อค เอ็มเวปู มาจากซัลซ์บวร์ก ราคา 20 ล้านปอนด์ ส่วนฝั่งขาออก คือการขายเบน ไวท์ เซ็นเตอร์แบ็กชาวอังกฤษไปให้อาร์เซน่อล ด้วยค่าตัวสูงถึง 50 ล้านปอนด์

18. เบิร์นลี่ย์ (6 ล้านปอนด์)

เบิร์นลีย์ อยู่ในอันดับ 18 ของทีมที่จ่ายเงินให้กับเอเย่นต์มากที่สุดในพรีเมียร์ลีก ในรอบ 12 เดือนล่าสุด คิดเป็นเงิน 6 ล้านปอนด์ ซึ่งสูงกว่าในช่วงระหว่างปี 2020-2021 ที่เสียเงินไป 4.5 ล้านปอนด์

“เดอะ คลาเร็ตส์” เสริมผู้เล่นเข้ามาหลายคน อาทิ วูท เวกฮอร์สต์, แม็กซ์เวล คอร์เน็ต, นาธาน คอลลินส์ และคอนเนอร์ โรเบิร์ตส์ พร้อมกับดึงนักเตะฟรีเอเย่นต์อย่างเวย์น เฮนเนสซีย์ และอารอน เลนน่อน

อย่างไรก็ตาม มีผู้เล่นในทีมชุดปัจจุบันอยู่ 10 คน ที่กำลังจะหมดสัญญาหลังจบฤดูกาลนี้ แต่จนถึงเวลานี้ ก็ยังไม่มีนักเตะคนใดตกลงต่อสัญญาใหม่เลย ส่วนแจ็ค คอร์ก และแอชลี่ย์ บาร์นส์ เหลือสัญญาอยู่ 1 ปีเท่านั้น

19. เซาธ์แธมป์ตัน (4.9 ล้านปอนด์)

เซาธ์แธมป์ตัน มียอดการจ่ายเงินให้กับเอเย่นต์ในรอบ 12 เดือนหลังสุด ทั้งหมด 4.9 ล้านปอนด์ มากกว่าเบรนท์ฟอร์ด เพียงทีมเดียวเท่านั้น เมื่อเทียบกับช่วงระหว่างปี 2020-2021 พวกเขาจ่ายไป 6.8 ล้านปอนด์

ดีลใหญ่สุดของ “เดอะ เซนส์” ในตลาดนักเตะ 2 รอบล่าสุด คือ อดัม อาร์มสตรอง ย้ายจากแบล็คเบิร์น โรเวอร์ส ส่วนขาออก ได้ปล่อยตัวแดนนี่ อิงส์ ไปให้แอสตัน วิลล่า และยานนิค เวสเตอร์การ์ด ไปให้เลสเตอร์ ซิตี้ 

ส่วนกรณีของอเล็กซ์ แม็คคาร์ธี่ย์ ผู้รักษาประตูมือ 1 ของทีม ที่กำลังจะหมดสัญญาหลังจบซีซั่นนี้ มีรายงานว่าเจ้าตัวกำลังจะตัดสินใจต่อสัญญาฉบับใหม่ออกไปอีก 3 ปี

20. เบรนท์ฟอร์ด (3.5 ล้านปอนด์)

เบรนท์ฟอร์ด ทีมที่เลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีกสูงสุดครั้งแรกในรอบ 74 ปี ใช้เงินซื้อนักเตะเพียง 30 ล้านปอนด์ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ทำให้เป็นทีมที่จ่ายเงินให้เอเย่นต์น้อยที่สุดในพรีเมียร์ลีก ระหว่างปี 2021-2022

จำนวนเงิน 3.5 ล้านปอนด์ของเบรนฟอร์ด น้อยกว่า 2 ทีมที่เลื่อนชั้นมาด้วยกันทั้งวัตฟอร์ด (12.6 ล้านปอนด์) และนอริช ซิตี้ (8.7 ล้านปอนด์) อีกทั้งน้อยกว่าอันดับ 1 อย่างแมนเชสเตอร์ ซิตี้ถึง 10 เท่า

ดีลใหญ่ที่สุดของเบรนท์ฟอร์ด คือดีลของคริสตอฟเฟอร์ เอเยอร์ เซ็นเตอร์แบ็กชาวนอร์เวย์ ย้ายจากกลาสโกว์ เซลติก ด้วยค่าตัว 13.5 ล้านปอนด์ เป็นสถิติสูงสุดของสโมสร ในช่วงซัมเมอร์ปี 2021

Author : จักรพันธ์ ภู่ทอง

Photo : The Athletic

อ้างอิง :

https://theathletic.com/3223559/2022/04/02/analysed-premier-league-spent-272m-agents-fees-transfers?source=user-shared-article

https://www.dailymail.co.uk/sport/football/article-10672961/Premier-League-clubs-spent-272MILLION-agents-fees-2021-22.html

https://www.thefa.com/football-rules-governance/policies/intermediaries/intermediaries-transactions

Categories
Football Business

LaLiga Pool Party : ลาลีกา จัดดูบอลมันส์ ดนตรีสด กิจกรรมสนุก ริมสระน้ำ Rooftop bar ใจกลางเมือง ลุ้นเรอัล มาดริด ฉลองแชมป์ลาลีกา 2021/22

ใกล้เข้ามาเต็มทีแล้ว กับการลุ้นแชมป์ลาลีกา 2021/22 ของ “ราชันชุดขาว” สาวกทีม เรอัลมาดริด คงจะเหงากันแย่ ถ้าต้องนั่งลุ้นแชมป์ โห่ร้องคนเดียวอยู่บ้าน แต่งานนี้ถ้าไม่อยากเหงา ลองเปลี่ยนบรรยากาศมานั่งเชียร์บอลด้วยกันจะดีกว่าไหม ร่วมลุ้นรับสิทธิ์เข้างาน นั่งดื่ม กิน ชิลล์ ดูบอลฟรี !! ในกรุงเทพฯ กับกิจกรรมสุดพิเศษที่ทางการตลาดของลีกฟุตบอลสเปน ลาลีกา เขาจัดให้

กิจกรรมนี้เป็นการต่อยอดประสบการณ์  และเสริมสร้างให้คอบอลไทยได้มีส่วนร่วมกับฟุตบอลสเปนโดยจัดงานให้แฟนบอลไทยได้ออกมาเชียร์บอลร่วมกัน ตอกย้ำภาพจากกิจกรรมครั้งก่อนทั้ง ลาลีกา ฟุตบอลแคมป์ จ.นครนายก และลาลีกา ElClasico Boat Trip ล่องเรือดูบอล ชมวิวริม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ได้จัดมาแล้ว

โดยครั้งนี้มาในคอนเซ็ปต์ “LaLiga Pool Party” ดูบอลมันส์ ดนตรีสด กิจกรรมสนุก ริมสระน้ำบน Rooftop bar ในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2565 ณ Sora beach Rooftop bar เอกมัย ชวนทุกคนมาเชียร์บอลคู่ระหว่าง เรอัล มาดริด ปะทะ เอสปันญอล เวลา 21.00 น. เพื่อลุ้นทีมชุดขาวว่าจะเก็บอย่างน้อย 1 แต้มคว้าแชมป์ลีกในปีนี้ได้หรือไม่ไปด้วยกันกับเหล่าอินฟลูเอนเซอร์สายฟุตบอลชื่อดังมากมาย

งานนี้นอกจากจะได้ดูบอลบน Rooftop bar ท่ามกลางแสงไฟสลัวและวิวเมือง 360 องศา สุดโรแมนติกยามค่ำคืนแล้ว ยังได้ผ่อนคลายไปกับเสียงดนตรีสดสุดไพเราะ ต่อด้วยการมิกซ์เพลงจาก DJ พร้อมดินเนอร์ และดื่ม ฟรี! ร่วมกับแขกรับเชิญพิเศษ และอินฟลูเอนเซอร์ สายฟุตบอลเพียบ !! นำโดย เจมส์ ลาลีกา และ ขวัญ ลามาเซีย 2 กูรูฟุตบอล ที่จะมาร่วมพูดคุยวิเคราะห์เกมก่อนเริ่มการแข่งขัน นอกจากนี้ยังมีทั้ง พีชชงพีชชี่, เดอะนัทซัดหมดแมกซ์, มายด์เปี๊ยกบางใหญ่ ฯลฯ ที่จะมาร่วมสนุกสร้างสีสันความมันส์ริมสระน้ำไปด้วยกัน

ความสนุกยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะในงานยังมีกิจกรรมให้ร่วมสนุก ลุ้นรับรางวัลอีกมากมายเหมือนเช่นเคยจากผู้สนับสนุน M88 ซึ่งเป็นสปอนเซอร์หลักของลาลีกา

ย้ำว่า.. งานนี้เข้าร่วม ฟรี !! สำหรับผู้ที่สนใจร่วมงาน (จำนวนจำกัด) ที่ทำตามกติการ่วมสนุกอย่างครบถ้วนและถูกต้อง (ทุกท่านจะได้รับการตรวจ ATK โดยไม่มีค่าใช้จ่ายก่อนเข้างาน)

กติกาลุ้นรับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมฟรี!

1. สแกน QR Code หรือ คลิกที่ลิงนี้ https://bit.ly/39iGR9Z แล้วกรอกข้อมูลตามขั้นตอน

2. แจ้งชื่อ-นามสกุล เบอร์ติดต่อ และ E-mail 

3. ส่งภาพถ่ายที่แสดงความเป็น LaLiga ของคุณมาในแบบฟอร์ม

สำหรับการประกาศผลว่าใครจะเป็นผู้โชคดีได้เข้าร่วมกิจกรรม จะทำการประกาศในวันศุกร์ ที่ 29 เมษายน 2565 ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อไป พร้อมส่งการ์ดเชิญให้ทาง E-Mail

สุดท้ายนี้ อย่าลืม ! แอดไลน์ @khaimukdam กันไว้นะคะ เพื่อไม่ให้พลาดกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ และสามารถเข้ามาพูดคุย สอบถามกันได้

แล้วเตรียมตัวไปสนุกด้วยกันนะคะ

👉 กำหนดการงาน LaLiga Pool Party

📌 ณ Sora beach Rooftop bar เอกมัย 12 กรุงเทพฯ

📅 ในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2565

▶︎ 18.00 – ลงทะเบียน พร้อมตรวจ ATK 

▶︎ 18.30 – พิธีกรกล่าวต้อนรับแขกพิเศษทุกคน

▶︎ 18.35 – คุณ จอร์โจ้ ปอมปิลี รอสซี่ กล่าวเปิดงาน และถ่ายภาพรวม

▶︎ 19.00 – รับประทานอาหาร พร้อมฟังดนตรีสด

▶︎ 20.00 – เพลินไปกับการมิกซ์เพลงสนุก ๆ จาก DJ

▶︎ 21.00 – Talk KOLs

▶︎ 21.15 – ดูบอล พร้อมฟังดนตรีสดร่วมกัน

▶︎ 23.00 – จับรางวัล Lucky draw 

.

📝 ภาวินีย์ สูญสิ้นภัย

Categories
Football Business

กระทบไหล่ เท็ดดี้ เชอริงแฮม กลยุทธ์การตลาดเพื่อประสบการณ์อันทรงคุณค่าให้กับคุณลูกค้าแฟนบอลของแบรนด์

การสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ประโยคนี้ประโยคเดียวสามารถสร้างสรรค์ให้เกิดกิจกรรมทางการตลาดอันบรรเจิดสุดได้ตราบเท่าที่สมองมนุษย์ และนักการตลาดจะพึงคิดค้นกลยุทธ์ในการเนรมิตให้เกิดประสบการณ์ดังกล่าวขึ้นมา และต้องยอมรับว่า งานอีเวนต์ “Exclusive Meet and Greet with Teddy Sheringham by Supersports” เมื่อวันที่ 24มีนาคม ที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ทุกประการ

สำหรับแฟนฟุตบอลพรีเมียร์ลีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด น่าจะรู้จัก และจดจำภาพ “น้าหมี” (เรียกตามชื่อหน้า เท็ดดี้ โดยคนไทย) เท็ดดี้ เชอริงแฮม ได้จากการกดประตูตีเสมอ และโหม่ง assist ประตูชัยให้แมนฯยูไนเต็ด พลิกนรกแซงชนะบาเยิร์น มิวนิค ในศึก UCL Final 1999 ช่วงทดเจ็บ 2-1 พร้อมซิว 3 แชมป์ “ทริปเบิ้ล แชมป์” ในซีซั่นนั้น 1998/99 อันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสำเร็จในอาชีพค้าแข้งของดาวเตะรายนี้ทั้งในระดับสโมสร, ทีมชาติ หรือส่วนตัวที่เคยได้รับรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมประจำปีของอังกฤษ ฤดูกาล 2000/01 เท่านั้น

เอ็ดเวิร์ด พอล คือ ชื่อหน้า และชื่อกลางที่แท้จริงที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก ปัจจุบันอายุ 55 ปี เกิดวันที่ 2 เม.ย.1966 ประสบความสำเร็จในทุกที่ ทุกสโมสรที่ทำหน้าที่ หลัก ๆ คือ มิลล์วอลล์ ที่เริ่มค้าแข้ง, ฟอเรสต์, สเปอร์ส 2 รอบ, แมนฯยูไนเต็ด, ปอร์ตสมัธ และเวสต์แฮม พ่วงด้วยสถิติติดทีมชาติอังกฤษ 51 ครั้ง ยิง 11 ประตู อีกทั้งยังติดทีมชาติผู้ดีถึงอายุ 36 ปีร่วมเล่นฟุตบอลโลก 2002

ด้วยสไตล์การเล่นสง่างาม ใส่เบอร์ 10 มาตลอด และให้สัมภาษณ์ในงาน Meet & Greet นี้ว่า ได้ขอเบอร์ 10 ที่ว่างพอดีจากเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน (เดวิด เบคแคม โยกจากเบอร์ 10 ไปเบอร์ 7) เป็นจุดที่แสดงให้เห็นว่า เจ้าตัวก็มองตนเองเป็นกองหน้าแถว 2 หรือจะเรียกหน้าต่ำ หรือหน้าคอยสนับสนุน หรือคล้ายกับ False 9 ในสมัยปัจจุบัน พร้อมยอมรับ เยอร์เกน คลินส์มันน์ เป็นคู่หัวหอกที่ร่วมเล่นด้วยที่ดีที่สุดในสมัยอยู่กับสเปอร์สที่สอดคล้องว่า เท็ดดี้ ได้พัฒนาสไตล์ และแนวทางการเล่นจากช่วงเวลานั้นกับคลิ้นซี่ได้ดีที่สุดต่อยอดมาสู่แมนฯยูไนเต็ด ในช่วงพีค จนถึงปลายค้าแข้ง

ฉะนั้น นับตั้งแต่มีข่าว เท็ดดี้จะมีงาน “Exclusive Meet and Greet” ผ่านสื่อกีฬา และเหล่า influencers, KOLs สายฟุตบอล รวมถึงเพจ “ไข่มุกดำ” ที่ได้จัดกิจกรรมร่วมสนุก ( https://bit.ly/3wEdWqy ) ได้ผู้โชคดีเป็นคุณ นนทนันท์ คนเที่ยง

และแฟนเพจอีกท่านหนึ่ง คุณ พชรธรณ์ ทรัพย์สิริเทวี ที่ไม่สบาย และทางเพจได้ประสานงานกับผู้จัดงานขอเวลาเพิ่มเพื่อให้เท็ดดี้ เขียนให้กำลังใจ “To.X, Get well soon” กระแสกิจกรรมนี้จึงถือว่า “ปัง” พอสมควร

“การส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดทางด้านกีฬาให้กับลูกค้า และแฟนฟุตบอลทุกคน เป็นสิ่งที่ซูเปอร์สปอร์ตให้ความสำคัญสูงสุดเสมอมา ฟุตบอลเป็นประเภทกีฬาหลักสำหรับเรา ภายในพื้นที่ของซูเปอร์สปอร์ต และโซน Futbol X จึงเป็นที่เดียวในประเทศไทยที่จัดเต็มด้วยอุปกรณ์กีฬาฟุตบอล และคอลเลคชั่นสำหรับแฟนๆ ฟุตบอลไว้อย่างครบครัน นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมแบบเอ็กซ์คลูซีฟเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เชื่อมระหว่างซูเปอร์สปอร์ต และแฟนบอลให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ในวันนี้ เราภูมิใจที่ได้จัดกิจกรรมพิเศษอันน่าตื่นตาตื่นใจ ในการนำนักเตะระดับตำนานของพรีเมียร์ลีกมาพบกับแฟน ๆ  และหวังว่าผู้เข้าร่วมงานทุกท่านจะชื่นชอบและมีความสุขไปกับกิจกรรมนี้”

มร. โทนี่ มอร์ตัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซี อาร์ ซี สปอร์ต จำกัด กล่าว

ซึ่งงานนี้มีแฟนคลับผู้โชคดี 80 คนร่วมกิจกรรมผ่านช่องทางต่าง ๆ เดินทางมาร่วมงาน รวมไปถึงแขกรับเชิญ อินฟลูเอนเซอร์ และสื่อมวลชม ในแวดวงกีฬามากมาย ไม่เฉพาะผู้นำสาวกปิศาจแดง แมนเชสเตอร์ 

อย่าง “บอ.บู๋” บูรณิจน์ รัตนวิเชียร และ “พีชชี่” วรันทร สมกิจรุ่งโรจน์ เท่านั้น

ทีมการตลาด PPTV นำโดย คุณฤทธิชัย พรหมปราบทุกข์ และพิธีกร ป๊อป วีระพล เต็มโชติโกศล, ทีมงาน “ขอบสนาม” คุณเบลล์, คุณนัท, เกมส์เอง หรือเพจวิเคราะห์บอลจริงจัง, เพจดูบอลกับแนท, SoccerSuck, คุณปฐม อุ่นบริบูรณ์ บรรณาธิการจาก เนชั่น กรุ๊ป, กลุ่ม/แฟนบอลสเปอร์ส ฯลฯ และฯลฯ ต่างพร้อมใจกันมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับงานครั้งนี้ไปด้วยกัน

งานนี้จัดขึ้นโดย ซูเปอร์สปอร์ต ในเครือเซ็นทรัลรีเทล และได้ PPTV เป็น Official Media Partner จัดการออร์กาไนซ์ โดยบริษัทอามันโด้ เปิดโอกาสสร้างประสบการณ์ดี ๆ ให้แฟนฟุตบอล ได้พบปะแบบใกล้ชิดกับ “น้าหมี” เท็ดดี้ เชอริงแฮม อดีตศูนย์หน้าในตำนาน คือ ตัวอย่างกลยุทธ์การตลาดผ่านการทำงานร่วมกับตำนานนักฟุตบอลชื่อเสียงระดับโลกเพื่อโอกาสในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับ และจดจำ ผ่านประสบการณ์กับนักเตะ Legend Player แบบที่เงินซื้อไม่ได้

การได้เห็นเหล่า Influencers, KOLs มาร่วมงานจำนวนมาก และแฟนบอลให้การตอบรับเป็นอย่างดีผ่านกิจกรรมคัดเลือกผู้มาร่วมงาน Exclusive Meet & Greet รวมถึงกระแสการประชาสัมพันธ์เป็นการเข้าถึง และ PR Value ผ่านสื่อมูลค่าสูงทั้งก่อน และหลังงานจนทำให้รับรู้ของแบรนด์ Supersports ได้รับการตอบรับเป็นบวก และมีภาพลักษณ์ดีร่วมกับนักเตะระดับโลกจึงน่าจะอธิบายได้ว่า กิจกรรมนี้เป็นอะไรมากกว่าการที่ เท็ดดี้ เชอริงแฮม มาร่วมมอบลายเซ็น และถ่ายรูปให้แฟนบอลกระทบไหล่แบบธรรมดา ๆ แน่นอน

เรื่อง: ภาวินีย์ สูญสิ้นภัย

เรียบเรียง: ณัฐวุฒิ ประเทืองศิลป์

ขอบคุณรูปภาพจาก : Supersports

Categories
Football Business

GAMBOL X Liverpool FC : ปรากฎการณ์จับแบรนด์สโมสรฟุตบอลระดับโลกของแบรนด์รองเท้าลำลองไทย เพื่อต่อยอด และรักษาความเป็นเบอร์ 1 เอาไว้ยั้งยืนยง

(มี.ค.2565) สร้างกระแส และเกิดแรงกระเพื่อมเป็นวงกว้างไม่น้อยกับกลยุทธ์ทางการตลาดที่แกมโบล (GAMBOL) ผู้นำแบรนด์รองเท้าลำลองอันดับหนึ่งในประเทศไทย เปิดตัวการจับมือทางการค้าร่วมกันกับสโมสรฟุตบอลชื่อดังแห่งพรีเมียร์ลีก ลิเวอร์พูล ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมาพร้อมการทำการตลาดตามมาให้เป็นฮือฮาก่อนงานแถลงข่าวอย่างเป็นทางการเมื่อวันเสาร์ที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา 

แกมโบล ขยับครั้งแรก และเรียกความสนใจจากเหล่าแฟนพันธุ์แท้ หงส์แดง ลิเวอร์พูล ด้วยการเปิด พรีออเดอร์ คอลเลคชั่น GAMBOL Liverpool FC Limited Edition ลิขสิทธิ์แท้จากสโมสรเพียง 1,892 คู่ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 โดยได้รับความสนใจจากสาวก “หงส์แดง”เกินคาด เพราะรองเท้า Limited Edition ล็อตนี้ถูกจองขายหมดเกลี้ยงภายใน 30 นาทีเท่านั้น!

สำหรับการเปิดตัวเมื่อ 19 มี.ค.นั้น ถือว่าเป็นการใช้โอกาสได้ตรงจังหวะ เพราะกระแสความสำเร็จของทีมหงส์แดง กำลังมาแรง และมีโอกาสลุ้นถึง 4 แชมป์ในฤดูกาลเดียว อันส่งผลให้แบรนด์สินค้าที่ associate กับสโมสรลิเวอร์พูลได้รับความนิยม ตอบโจทย์ อันส่งผลสู่เป้าหมายเป็นยอดขายที่ดีได้

จากความสำเร็จของการพรีออเดอร์ที่ผ่านมา หากมองในมุมของการตลาด นี่คือโอกาสในการขยายตลาดต่อไปได้ และทำให้เห็นช่องทางจะผลิตรองเท้ารุ่นพิเศษแบบต่าง ๆ ออกมาอีก เพราะไม่ใช่แค่การเอาใจแฟนบอลของลิเวอร์พูล แต่ยังหมายรวมไปถึงผู้ที่ชื่นชอบรองเท้า ชอบดีไซน์ หรือชอบรองเท้ารูปแบบนี้ที่สามารถตอบโจทย์ตามไลฟ์สไตล์หลากหลายได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตามก่อนจะมาเป็น GAMBOL X Liverpool FC ในวันนี้ เบื้องหลังต้องผ่านการทำงานหนัก และใช้เวลามากมายไม่น้อยเลยเดียว

“ที่มาที่ไปของคอลเลคชั่นนี้มาจากการที่มองเห็นถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในปัจจุบัน ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ หันมาใส่ใจสุขภาพกัน และการออกกำลังกายกันมากขึ้น จึงใช้โอกาสตรงนี้ วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด เจาะกลุ่มไปทางกีฬาให้มากขึ้น โดยส่วนตัวชอบเรื่องกีฬาอยู่แล้ว และเป็นแฟนหงส์แดงอยู่แล้วด้วย ทำให้เกิดแนวคิดนี้ และเริ่มหาคอนเนคชั่น เพื่อประสานไปทางลิเวอร์พูล”

คุณนิติ กิจกำจาย ผู้อำนวยการ บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรองเท้าแบรนด์ แกมโบล กล่าว

นอกจากนี้คุณนิติ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ทาง GAMBOL รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ถือลิขสิทธิ์ Official Licensee ของ สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล เอฟซี (Liverpool FC) และจะได้ทำงานร่วมกันเป็นระยะเวลา 3 ปี (2022-2024) อันทำให้แกมโบลเป็นแบรนด์รองเท้าลำลองรายแรก และรายเดียวของประเทศไทย ที่จะได้ร่วมงานกับสโมสรฟุตบอลจากอังกฤษ”

ทั้งนี้ ด้วยความที่ GAMBOL Liverpool FC Limited Edition มีความโดดเด่น และตอกย้ำตัวตนของแฟนบอล “หงส์แดง” ด้วยลาย YNWA (You’ll Never Walk Alone) ซึ่งบอกถึงสปิริตได้อย่างชัดเจนผ่านความสำเร็จของการพรีออเดอร์ที่ผ่านมา ดังนั้นจึงแน่นอนว่า จะมีการปล่อย GAMBOL Liverpool FC Special Collection ออกมาอีกหลายรุ่นเพื่อเอาใจแฟนคลับของสโมสรฟุตบอล รวมถึงผู้ที่ชื่นชอบสวมใส่รองเท้าแตะ ชื่นชอบงานดีไซน์ โดยจะเป็นรูปแบบรองเท้าแตะแบบหนีบ และรองเท้ารัดสัน ซึ่งมีความแตกต่างกันที่ดีไชน์และลวดลายของแบบรองเท้า เพื่อให้ตอบโจทย์ตามไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของแฟนคลับสโมสรฟุตบอล

“ด้วยดีไซน์ของรองเท้าที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และใช้นวัตกรรมการผลิตที่ทันสมัย จีโบลด์ เทคโนโลยี (G-Bold Technology) เอกสิทธิ์เฉพาะของแกมโบล (GAMBOL) ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้รองเท้า นุ่ม ทน เบา สวมใส่สบาย บวกกับชื่อเสียงความยิ่งใหญ่ของสโมสร Liverpool Fc ที่มีมาอย่างยาวนาน รวมเข้ากับกลุ่มแฟนคลับของสโมสรที่เหนียวแน่น จึงมั่นใจได้ว่าคอลเลคชั่น GAMBOL Liverpool FC Special Collection จะสามารถครองใจกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแน่นอนในทุกรุ่นที่ผลิตออกมา”

คุณนิติ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับรองเท้าแกมโบลรุ่นพิเศษที่กำลังพูดถึงอยู่นี้ มีการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยดึงแก่นความเป็นสโมสรลิเวอร์พูล ให้มาเข้ากับแบรนด์ แกมโบล อย่างกลมกลืนที่สุดผ่านแนวคิดซึ่งเกิดจากการคำนึงถึงดีไซน์เสื้อสโมสรในปีที่ผ่านมาประยุกต์เข้ากับลวดลายของรองเท้าให้คงเอกลักษณ์ความเป็นหงส์แดง ในรูปแบบของแบรนด์แกมโบลซึ่งกว่าจะมาเป็น GAMBOL X Liverpool FC ต้องผ่านการดำเนินการที่ยาวนานถึง 7-8 เดือน เพื่อติดต่อสื่อสาร ออกแบบ ปรับปรุงงาน ก่อนจะได้รับอนุมัติจากสโมสรลิเวอร์พูลให้ทำการผลิตได้

ปรากฎการณ์ GAMBOL X Liverpool FC ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะอย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้นว่า เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ที่ผ่านมา ได้มีการจัดงานแถลงข่าวอย่างเป็นทางการเปิดตัวรองเท้า GAMBOL Liverpool FC Special ถึง 4 รุ่น พร้อมแขกรับเชิญในแวดวงกีฬามากมายไม่เฉพาะแฟนบอลลิเวอร์พูล อย่าง “แจ็คกี้” อดิสรณ์ พึ่งยา หรือนิหน่า สุฐิตา ปัญญายงค์ เท่านั้น แต่เป็นแฟนปิศาจแดง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด นำโดย “บอ.บู๋” บูรณิจน์ รัตนวิเชียร และ “พีชชี่” วรันทร สมกิจรุ่งโรจน์ ก็มาร่วมงานด้วยเช่นกันเพื่อเป็นสีสันไม่แบ่งแยกทีม

โดยเฟสแรก GAMBOL จะเปิดตัวสินค้าสู่ตลาดก่อน 2 รุ่น คือ รุ่น LEGENDS ไซส์ 36-46 ราคา 650.- กับ รุ่น SUPER SUB ไซส์ 36-46 ราคา 890.- เพื่อให้กลุ่มลูกค้าที่พลาดการสั่งซื้อเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ได้จองก่อน ซึ่งทั้ง 2 รุ่นที่จะปล่อยออกมานี้ จะเริ่มวางตลาดพร้อมกันในวันที่ 1 เม.ย. ที่จะถึงนี้

ขณะที่อีก 2 รุ่นถัดมา ในชื่อว่า RUSH และ HERO ไซส์ 36-44 จะเริ่มวางจำหน่ายช่วงไหน และราคาเท่าไหร่นั้น สามารถรอติดตามที่หน้าเฟสบุ๊คแฟนเพจ GAMBOL กันได้เลย

ส่วนช่องทางในการสั่งซื้อ แบบ Exclusive นั้นทางลูกค้าแฟนบอล และคุณลูกค้าทุก ๆ ท่านที่สนใจสามารถแวะชมได้ที่ Liverpool FC Official Store และ ช่องทางออนไลน์ GAMBOL Online Shop ตามขั้นตอนต่อไปนี้:

1. เลือกช่องทางในการเข้าสู่ระบบ

2. ระบุที่อยู่ที่ใช้ในการจัดส่งและบันทึกเพื่อไปหน้าถัดไป

3. เลือกช่องทางการจัดส่ง และการชำระเงินพร้อมระบุไซส์ในช่องเพิ่มเติม

4. ตรวจสอบรายละเอียดการชำระเงินยืนยันการสั่งซื้อ

5. แจ้งการโอนเงิน โดยแนบหลักฐานการโอนเงิน6. รอตรวจสอบการชำระเงิน คัดลอก URL เพื่อติดตามสถานะ หรือดูที่ GAMBOL Online Shop

เมื่อมองในเรื่องของแนวโน้มของสินค้าลิขสิทธิ์ลิเวอร์พูลในประเทศไทย ปัจจุบันมีร้านค้าอย่างเป็นทางการแล้วถึง 5 สาขา แต่หากย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน มีแค่สาขาเดียวเท่านั้น ซึ่งตรงนี้สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมของคนไทย ที่มีต่อลิเวอร์พูล และฟุตบอลอังกฤษได้เป็นอย่างดี 

สำหรับเรา ๆ ท่าน ๆ แฟนบอลที่แม้ไม่ใช่แฟนหงส์แดง ลิเวอร์พูล หากอยากให้แบรนด์ในไทยได้ลิขสิทธิ์ดี ๆ แบบนี้ อย่างแรกเลยคือ ต้องช่วยกันอุดหนุน ซื้อสินค้าลิขสิทธิ์แท้ เพราะตรงนี้จะมีผลต่อการได้รับการต่อสัญญาเรื่องลิขสิทธิ์ในอนาคต แต่นั้นก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะยังต้องพิจารณาไปถึงเรื่องความเป็นผู้นำ เป็นผู้ชำนาญการในด้านสินค้านั้น ๆ และความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจด้วย ที่จะเข้ามาเป็นข้อพิจารณาที่ทำให้ได้ลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ก็เพื่ออนาคตข้างหน้าที่จะมี Licensee สโมสรรักทีมอื่น กับแบรนด์ GAMBOL หรือแบรนด์สินค้าอื่น ๆ ได้เพิ่มเติมในอนาคต

สำหรับเรื่องแผนการตลาดเพิ่มเติมนับจากนี้ GAMBOL ยังคงเน้นการทำการตลาดภายในประเทศ แต่จะเป็นการเพิ่มช่องทางการขายให้มีมากขึ้น แต่ก็ไม่หยุดยั้งที่จะขยายการทำการตลาดไปยังต่างประเทศ โดยเน้นไปที่ตลาด CLMV มากขึ้น 

งานนี้ คงต้องติดตามกันดูว่า GABMOL x Liverpool FC จะก้าวไปประสบความสำเร็จในท้ายที่สุดได้ขนาดไหน และเพียงใด หลังเปิดตัวเรียกกระแสพร้อม ๆ กับโอกาสลุ้น 4 แชมป์ Quadruple ของทีมลิเวอร์พูลได้ดีเหลือเกิน

เรื่อง: ภาวินีย์ สูญสิ้นภัย

Categories
Football Business

แฟร์เพลย์ทางการเงิน : เปิดเพดานค่าใช้จ่ายของสโมสรในลาลีกา ช่วงต้นปี 2022

เมื่อวันจันทร์ที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา ลาลีกา ลีกฟุตบอลอาชีพของสเปน ได้ออกมาเปิดเผยงบการเงินของ20 สโมสรในดิวิชั่น 1 (LaLiga Santander) และ 22 สโมสรในดิวิชั่น 2 (LaLiga Smartbank)

หลังจากที่ตลาดซื้อ-ขายนักเตะช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาได้ปิดทำการเรียบร้อย แต่ละสโมสรได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเงิน ซึ่งส่งผลถึงเพดานค่าใช้จ่ายที่ถูกกำหนดไว้ ตามกฎควบคุมการเงินของลาลีกา

แล้วมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายและหนี้สิน ส่งผลอย่างไรกับวงการลูกหนังแดนกระทิงดุ วันนี้เพจ “ไข่มุกดำ” จะมาขยายให้ฟังกันครับ

“ลา คอรุนญ่า” จากฟ้าสู่เหว

ในวงการฟุตบอลสเปน เคยมีสโมสรหนึ่งที่ล่มสลายเพราะปัญหาการเงิน นั่นคือเดปอร์ติโบ ลา คอรุนญ่า สโมสรจากแคว้นกาลีเซีย ที่เคยขึ้นสู่จุดสูงสุด ถึงขั้นคว้าแชมป์ลาลีกามาแล้วเมื่อปี 2000

ยุครุ่งเรืองของลา คอรุนญ่า เป็นช่วงที่เอากุสโต้ เซซาร์ เลนดอยโร่ เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสร เขาเป็นผู้ที่มีความทะเยอทะยานอย่างสูง ในการพาลา คอรุนญ่า ประสบความสำเร็จให้ได้

ความสำเร็จของ “ซูเปอร์เดปอร์” ในยุคของประธานเลนดอยโร่ นอกจากแชมป์ลาลีกาครั้งเดียวในประวัติศาสตร์สโมสรเมื่อ 22 ปีก่อนแล้ว ยังมีแชมป์โคปา เดล เรย์ 1 สมัย และแชมป์สแปนิช ซูเปอร์คัพ 3 สมัย

กระทั่งในปี 2005 ลา คอรุนญ่า ไม่สามารถทำอันดับเพื่อคว้าสิทธิ์ไปเล่นยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก และฆาเบียร์ อีรูเรต้า ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม ยุคทองของลา คอรุนญ่า ก็สิ้นสุดลง

https://today.line.me/th/v2/article/l8BD0L

การที่ลา คอรุนญ่า ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขันยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ทำให้สโมสรขาดรายได้ก้อนโต อีกทั้งหนี้สินที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ จึงจำเป็นต้องปล่อยนักเตะตัวหลักออกไปหลายคน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย

ท้ายที่สุด ลา คอรุนญ่า ก็ไม่สามารถฝืนความจริงอันโหดร้ายได้ ต้องตกชั้นจากลาลีกา ในฤดูกาล 2010/11 ตามมาด้วยหนี้สินที่พุ่งสูงถึง 160 ล้านยูโร ส่งผลให้เลนดอยโร่ ประธานสโมสรต้องออกจากตำแหน่ง

ถึงแม้จะเลื่อนชั้นขึ้นมาอยู่ลีกสูงสุดได้พักใหญ่ๆ แต่ก็ต้องตกชั้นกลับลงไปอีก และร่วงลงสุดขีดถึงขั้นลงไประดับดิวิชั่น 3 ในปัจจุบัน ซึ่งไม่มีใครคาดเดาได้เลยว่า เดปอร์ติโบ ลา คอรุนญ่า จะกลับขึ้นสู่จุดนั้นได้อีกเมื่อไหร่

แชมป์ในสนาม แต่ช้ำนอกสนาม

เรอัล มาดริด และบาร์เซโลน่า ถึงแม้จะเป็น 2 สโมสรที่คว้าโทรฟี่มากที่สุดในวงการลูกหนังสเปน แต่สิ่งที่ทั้งคู่ประสบปัญหาไม่ต่างกันเลยคือ ปัญหาภาวะหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมานานหลายปี

แน่นอนว่า ทั้งเรอัล มาดริด และบาร์เซโลน่า ต่างแข่งขันกันอย่างดุเดือดทั้งในสนามและนอกสนาม เพื่อแย่งชิงความสำเร็จ เพราะแฟนบอลทั้ง 2 ทีมคงยอมไม่ได้ ถ้าพ่ายแพ้ให้กับคู่ปรับตลอดกาล

แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เรอัล มาดริด และบาร์เซโลน่า ได้รับผลกระทบหนักพอสมควร จากการที่สโมสรไม่มีรายรับ มีแต่รายจ่าย ส่งผลให้ทั้งคู่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

https://web.facebook.com/RealMadrid

เริ่มกันที่เรอัล มาดริดกันก่อน ภาวะหนี้สินของยักษ์ใหญ่จากเมืองหลวงของสเปน เกิดจากนโยบาย “กาลาติกอส” ของฟลอเรนติโน่ เปเรซ ประธานสโมสร ที่ใช้เงินซื้อนักเตะระดับเวิลด์คลาสเข้าสู่ทีมมากมาย

นับจนถึงปัจจุบัน ราชันชุดขาวมีหนี้สินมากถึง 651 ล้านยูโร เกิดจากการแบกรับค่าเหนื่อยนักเตะที่มหาศาล อีกทั้งมีการปิดปรับปรุงสนามซานติอาโก้ เบอร์นาเบว ในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 ระบาด

แต่ทีมที่สาหัสกว่า ก็เห็นจะเป็นบาร์เซโลน่า ที่มียอดหนี้สินพุ่งสูงถึง 1 พันล้านยูโร แถมยังค้างค่าตัวนักเตะจากสโมสรอื่นๆ หลายคน ซึ่งยอดหนี้สินจำนวนนี้ มีความสุ่มเสี่ยงอาจถึงขั้นล้มละลายได้เลยทีเดียว

นอกจากปัญหาโควิด-19 แล้ว สาเหตุสำคัญที่ทำให้บาร์ซ่ามีหนี้สินท่วมท้นขนาดนี้ เพราะการบริหารงานที่ผิดพลาดในยุคที่โจเซป มาเรีย บาร์โตเมว เป็นประธานสโมสรในช่วงระหว่างปี 2014-2020

บาร์โตเมว มีนโยบายซื้อนักเตะราคาแพง สมกับฉายา “เจ้าบุญทุ่ม” โดยจ่ายเงินไปเกือบ 1 พันล้านยูโร แต่ต้องแลกมาด้วยการแบกภาระค่าเหนื่อยของผู้เล่นที่สูงถึง 74 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ทั้งหมด

เมื่อสถานะทางการเงินได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทำให้มีความพยายามในการลดรายจ่ายให้ได้มากที่สุด ซึ่งหนึ่งในแนวคิดในการลดรายจ่ายคือ การปล่อยตัวลิโอเนล เมสซี่ ออกจากสโมสร

แน่นอนว่า การปล่อยซูเปอร์สตาร์หมายเลข 1 ของทีมอย่างเมสซี่ เป็นสิ่งที่สาวกอาซุลกราน่า ไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ท้ายที่สุด เมสซี่เป็นฝ่ายที่ต้องออกจากสโมสร ทิ้งผลงานที่ยิ่งใหญ่ให้แฟนๆ ได้จดจำ

เมื่อบาร์ซ่าไม่สามารถรั้งเมสซี่ไว้ได้ ทำให้บาร์โตเมว ต้องอำลาตำแหน่ง พร้อมกับส่งต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการบริหารที่ผิดพลาด ไปให้โจน ลาปอร์ต้า ที่กลับมารับตำแหน่งประธานสโมสรอีกครั้ง

จากภาวะหนี้สินที่ท่วมท้น นั่นทำให้ 2 ยักษ์ใหญ่ของสเปน ตัดสินใจเข้าร่วมโปรเจค “ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก” ร่วมกับอีก 10 สโมสรชั้นนำของยุโรป เพื่อหวังรายได้ที่เข้ามาอย่างจุใจ แต่โปรเจคนี้ก็ถูกล้มในที่สุด

ตัวอย่างจากการที่สโมสรฟุตบอลระดับยักษ์ใหญ่ของวงการ ใช้จ่ายเงินอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง จนเกิดหนี้สิน แล้วคิดว่าในอนาคตจะมีเงินเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย คือหลักความคิดที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง

ควบคุมการเงินเพื่อความยั่งยืน

นับตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา สโมสรในลาลีกาได้ลงมติเห็นชอบให้มีการกำหนดกรอบควบคุมการเงินและหนี้สิน เพื่อป้องกันไม่ให้สโมสรใช้จ่ายเงินแบบเกินตัว และส่งผลถึงความยั่งยืนในระยะยาว

สำหรับกรอบควบคุมการเงินของลาลีกานั้น จะแตกต่างจากกฎไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์ ของยูฟ่า โดยจะมีการวิเคราะห์สภาพการเงิน โดยใช้เพดานค่าใช้จ่ายที่แต่ละสโมสรจะนำไปใช้จ่ายล่วงหน้าได้

จาก 20 สโมสรในลีกสูงสุด มีถึง 12 ทีม ที่สามารถเพิ่มเพดานในการใช้จ่ายที่มากขึ้น, มี 7 ทีม ที่ถูกลดเพดานค่าใช้จ่ายลง และเรอัล มาดริด เป็นทีมที่ทีเพดานสูงสุด คือ 739 ล้านยูโร ซึ่งเท่ากับช่วงซัมเมอร์ปี 2021

ฆาเบียร์ โกเมซ ผู้อำนวยการทั่วไปของลาลีกา แถลงว่า “สถานการณ์ทางการเงินเมื่อเทียบกับช่วงซัมเมอร์ปีที่แล้ว ถือว่าเป็นไปในทางที่ดีขึ้น เพราะแต่ละสโมสรได้ประเมินถึงความสูญเสียที่อาจมากกว่าความเป็นจริง”

บาร์เซโลน่า เป็นเพียงสโมสรเดียวใน 44 สโมสรของลาลีกาทั้ง 2 ดิวิชั่น ที่มีตัวเลขติดลบมากถึง 144 ล้านยูโร เมื่อเทียบกับช่วงตลาดนักเตะซัมเมอร์ปีที่แล้ว ที่ยักษ์ใหญ่แห่งคาตาลัน มีสิทธิ์ใช้จ่ายได้สูงสุด 97 ล้านยูโร

ตามกฎข้อที่ 100 ของลาลีการะบุว่า อนุญาตให้สโมสรใช้จ่ายเงินที่สูงกว่าเพดานที่กำหนดไว้ ถ้าสามารถลดค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่ ก็จะได้รับอนุญาตให้ใช้จ่ายได้ 25 เปอร์เซ็นต์ แต่อาจยืดหยุ่นได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์

โกเมซ ได้อธิบายถึงกฎ 1 ใน 4 ว่า “ลาลีกาสนับสนุนให้ทุกสโมสรมีความสามารถในการแข่งขันที่ดี ควบคู่ไปกับการสร้างสภาพทางการเงินในด้านบวก ทางลาลีกาอนุญาตให้ซื้อผู้เล่นได้ แต่มีเงื่อนไขบางประการ”

“เมื่อสโมสรมีการซื้อผู้เล่นใหม่ เราจะบังคับให้มีการตัดค่าใช้จ่ายพร้อมกับการซื้อผู้เล่นด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากสโมสรสามารถประหยัดเงินได้ 100 ล้านยูโร ก็จะอนุญาตให้ใช้จ่ายได้ 25 ล้านยูโร”

ผลจากการกำหนดกรอบควบคุมค่าใช้จ่ายและหนี้สินของลาลีกาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้หลายๆ สโมสร ค่อยๆ เพิ่มเพดานในการใช้จ่ายที่มากขึ้น และหนี้สินของแต่ะสโมสรเริ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ถึงแม้ว่าจะมีเหตุการณ์ใหญ่อย่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมฟุตบอลทั่วโลกได้รับผลกระทบ แต่ทั้ง 44 สโมสร จาก 2 ดิวิชั่นของลาลีกา ก็สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตดังกล่าวได้

โกเมซ สรุปปิดท้ายว่า “เราไม่มีความกังวลเลย ถึงแม้ว่าบางสโมสรอย่างเช่น บาร์เซโลน่า อาจมีปัญหามากกว่าสโมสรอื่นๆ แต่เราก็แสดงให้เห็นแล้วว่า มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายและหนี้สินนั้นได้ผลที่ดี”

ในวงการฟุตบอล การบริหารจัดการเงิน คือสิ่งที่สำคัญที่สุดของทุกสโมสรฟุตบอลในโลก ความทะเยอทยานที่มาพร้อมกับวินัยทางการเงิน จะช่วยให้สโมสรฟุตบอลอยู่รอดได้ในระยะยาวอย่างแน่นอน

Author : จักรพันธ์ ภู่ทอง

Photo : Marca

อ้างอิง :

– https://www.fourfourtwo.com/features/deportivo-coruna-la-liga-segunda-champions-league-title-1999-2000

– https://theathletic.com/1432334/2019/12/05/this-is-the-worst-crisis-in-our-history-and-we-must-act-before-it-is-too-late-how-deportivo-went-from-title-winners-to-the-verge-of-oblivion-in-20-years/

– https://www.fcbarcelona.com/en/club/news/1856468/the-201920-economic-year-ends-with-losses-of-97-million-euros-caused-by-the-effects-of-covid-19

– https://www.marca.com/en/football/barcelona/2022/03/14/622f3bd8ca4741dc348b45f7.html

Categories
Football Business

ElClásico Boat Party Exclusive Trip : ล่องเรือปาร์ตี้ พรีวิวก่อนเกม “ราชันชุดขาว” ปะทะ “เจ้าบุญทุ่ม”

เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมทางการตลาดของลีกฟุตบอลสเปน ลาลีกา ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยตัวแทน มร.จอร์โจ ปอมปิลิ รอสซี ได้ต่อยอดการสร้างประสบการณ์ต่าง ๆ ของลาลีกาแบบครบวงจร 360 องศาทั้งใน และนอกสนามสู่แฟนลูกหนังชาวไทย และล่าสุด คือ งาน ElClásico Boat Party Exclusive Trip : ล่องเรือปาร์ตี้ พรีวิวก่อนเกม “ราชันชุดขาว” ปะทะ “เจ้าบุญทุ่ม” ที่จะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2565

โดยคอนเซ็ปต์ คือ พักเรื่องดูบอลในสนาม แล้วมาสนุกไปกับงานสุดพิเศษสำหรับคอบอล“ElClásico Boat Party Exclusive Trip” ซึ่งจะจัดเต็มพรีวิว พูดคุยก่อนเกมคู่บิ๊กแมตช์ระหว่าง “เรอัลมาดริด” ปะทะ “บาร์เซโลน่า” 3.00 นาฬิกาหลังเที่ยงคือวันอาทิตย์ที่ 20 มี.ค.2022 ที่เหล่าสาวกฟุตบอลสเปน ห้ามพลาด !!! ร่วมลุ้นรับสิทธิ์เข้างาน ฟรี! กิน ดื่ม ตลอดทริป 3 ชั่วโมงกับวิว 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และบทสนทนาลูกหนังสเปน

“กิจกรรมนี้เป็นอีกก้าวย่างของ ลาลีกา ในประเทศไทยที่มีความต้องการจะมอบประสบการณ์ร่วมกับฟุตบอลสเปนในรูปแบบต่าง ๆ ให้เกิดกับแฟนบอลชาวไทยที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่การชมฟุตบอล เช่น ครั้งก่อนกับกิจกรรม กางเต็นท์ดูบอล LaLiga Football Camping หรืองานฟุตบอลพร้อมรับประทานอาหารสเปนจากภูมิภาคต่าง ๆ อิงกับเกมดาร์บี้แมตช์ และครั้งนี้ คือ การลงเรือทอดบรรยากาศริม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศไทยโดยเราได้สอดแทรกคอนเทนท์เป็นการพูดคุยถึงเกม เอลกลาสซิโก สุดสัปดาห์นี้ระหว่าง เรอัล มาดริด – บาร์เซโลน่า เป็นตัวชูโรงบทสนทนาบนเรือที่จะได้กูรูบอลสเปนที่หลายคนชื่นชอบมาเล่าเรื่องราวดี ๆ ให้ฟัง อีกทั้งแขกรับเชิญบนเรือยังจะได้สัมผัสบรรยากาศที่ทางลาลีกาบรรจงจัดเตรียมไว้ให้บนเรือร่วมกับสื่อมวลชนสายฟุตบอลในประเทศไทย”

มร.จอร์โจ ปอมปิลิ รอสซี กล่าว

ล่องเรือดินเนอร์ ปาร์ตี้ยามเย็น ดื่มด่ำกับบรรยากาศแม่น้ำเจ้าพระยาสุดโรแมนติกไปด้วยกัน ท่ามกลางวิวเปิดโล่ง บนเรือส่วนตัว “เรือสบาย ครุยส์” พร้อมกับพบแขกรับเชิญสุดพิเศษ และอินฟลูเอนเซอร์ตัวจริง สายฟุตบอล นำโดย เจมส์ ลาลีกา และเดอะนัทซัดหมดแม็กซ์ ที่จะมาร่วมสร้างสีสัน และความสนุกไปด้วยกัน

นอกจากนี้ภายในงานมีกิจกรรมให้ร่วมชิงของรางวัลอีกมากมาย อาทิ ทริป 3 วัน 2 คืนพร้อม pocket money บินไปพักที่ภูเก็ตกับโรงแรมหรู และเพลิดเพลินไปกับดนตรี กิจกรรมสนุก ๆ ระหว่างดินเนอร์บนเรือหรูตลอดช่วงเวลา

ย้ำ….งานนี้ลุ้นรับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมฟรี !! (จำนวนจำกัด)

กติกาลุ้นรับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมฟรี!

1. สแกน QR Code หรือ คลิกที่ลิงนี้ https://bit.ly/34JdL1C แล้วกรอกข้อมูลตามขั้นตอน

2. แจ้งชื่อ-นามสกุล เบอร์ติดต่อ และ E-mail 

3. ส่งภาพถ่ายที่แสดงความเป็น LaLiga ของคุณมาในแบบฟอร์ม

กติกาลุ้นรับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมฟรี!

สำหรับการประกาศผลว่าใครจะเป็นผู้โชคดีได้เข้าร่วมกิจกรรม จะทำการประกาศในวันที่ 17 มีนาคม 65 ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อไป พร้อมส่งการ์ดเชิญให้ทาง E-Mail

สุดท้ายนี้ อย่าลืม ! แอดไลน์ @khaimukdam กันไว้ เพื่อไม่ให้พลาดกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ และสามารถเข้ามาพูดคุย สอบถามกันได้

แล้วเตรียมตัวไปสนุกด้วยกัน…

กำหนดการงาน LaLiga x M88 (ล่องเรือ 3 ชม)

ท่าเรือราชบูรณะ เข้าซอยราชบูรณะ 23 (ปากทางเป็นสำนักงานเขตฯ) 

ผู้เข้าร่วมงาน 80 คน

🔺16.20-17.45 น. ลงทะเบียน พร้อมตรวจ ATK และสแกน QR Code

🔺18.00 เรือออกจากท่า

🔺18.10 พิธีกรกล่าวต้อนรับแขกพิเศษทุกคน

🔺18.15 ตัวแทนลาลีกาจากสิงคโปร์กล่าว และ Talk KOLs

🔺19.00 ถ่ายภาพรวม

🔺19.05 แจ้งกิจกรรมร่วมสนุกบนเรือ

🔺19.10 รับประทานอาหาร ฟังดนตรี (EDM or acoustic)

🔺 20.20 Lucky draw ลุ้นแพ็คเกจที่พักภูเก็ต 3 วัน 2 คืนพร้อม Pocket Money

🔺21.00 ขึ้นฝั่งโดยปลอดภัย และมีความสุข

.

📝 ภาวินีย์ สูญสิ้นภัย

Categories
Football Business

ความเจ็บปวดที่สวยงาม : 117 ปี เชลซี กับอาณาจักร “โรมัน” ที่ใกล้ล่มสลาย

เมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา เป็นวันที่สโมสรฟุตบอลเชลซี ก่อตั้งครบรอบ 117 ปี ซึ่งยุคสมัยที่ดีที่สุดของ “สิงห์บลูส์” คือยุคที่โรมัน อบราโมวิช มหาเศรษฐีชาวรัสเซีย เข้ามาเทคโอเวอร์สโมสรตั้งแต่ปี 2003

แต่ทว่า วันครบรอบการก่อตั้งสโมสรในปีนี้ กลับเป็นวันที่อบราโมวิชต้องเผชิญกับมรสุมชีวิตครั้งใหญ่ หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษประกาศ “คว่ำบาตร” จากผลกระทบของสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน

เรื่องราวของเชลซี และยุคทองของเสี่ยหมีจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้ายเป็นอย่างไร วันนี้เพจ “ไข่มุกดำ” จะมาขยายให้ฟังกันครับ

เส้นทางของเชลซีในศตวรรษแรก

กุส เมียร์ส นักธุรกิจชาวอังกฤษ ได้ลงทุนซื้อสนามกรีฑาสแตมฟอร์ด บริดจ์ โดยมีแผนที่จะเปลี่ยนเป็นสนามฟุตบอล จึงยื่นข้อเสนอให้สโมสรฟูแล่มที่ตั้งอยู่ใกล้กันมาเช่าสนามของตนเอง แต่ถูกปฏิเสธ

ดังนั้น เมียร์สจึงตัดสินใจก่อตั้งสโมสรฟุตบอลของตนเองขึ้นมา ใช้ชื่อว่า “เชลซี” ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกับเขตฟูแล่ม เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 1905 โดยสถานที่ตั้งของสโมสรเป็นผับเก่า ชื่อว่า “เดอะ ไรซิ่ง ซัน ผับ”

อย่างไรก็ตาม เชลซีต้องใช้เวลานานถึง 50 ปี กว่าจะได้แชมป์รายการแรกของสโมสรคือ แชมป์ดิวิชั่น 1 ลีกสูงสุดในขณะนั้น เมื่อฤดูกาล 1954/55 ตามด้วยแชมป์แชริตี้ ชิลด์ ภายใต้การคุมทีมของเท็ด เดร็ก

แต่หลังจากนั้น เชลซีคว้าแชมป์เพิ่มมาได้เพียง 3 รายการ แล้วพอเข้าสู่ช่วงกลางยุค ’70 สโมสรจากลอนดอนทีมนี้ก็เข้าสู่ยุคตกต่ำ ตกชั้นจากลีกสูงสุด ไปใช้ชีวิตอยู่ในระดับดิวิชั่น 2 เป็นส่วนใหญ่

จนกระทั่งในปี 1982 เคน เบตส์ ได้เข้ามาซื้อกิจการของเชลซี ต่อจากทายาทของกุส เมียร์ส อดีตผู้ก่อตั้งสโมสร ด้วยราคาสุดถูกเพียงแค่ 1 ปอนด์เท่านั้น พร้อมทั้งแต่งตั้งแมทธิว ฮาร์ดิ้ง เป็นผู้อำนวยการสโมสรด้วย

ในช่วงต้นยุค ’90 เป็นช่วงที่ลีกสูงสุดเปลี่ยนผ่านจากดิวิชั่น 1 เป็น “พรีเมียร์ลีก” ซึ่งถือเป็นการเปิดประตูสู่ยุคใหม่ของวงการฟุตบอลอังกฤษ บรรดานักฟุตบอลต่างชาติต่างหลั่งไหลเข้ามาอย่างคึกคัก

เบตส์ และฮาร์ดิ้ง ช่วยกันขับเคลื่อนเชลซีจากทีมท้ายตาราง สู่กลางตารางอย่างมั่นคง นักเตะต่างชาติได้เข้ามาสร้างชื่อในถิ่นสแตมฟอร์ด บริดจ์ เช่น รุด กุลลิท, จิอันลูก้า วิอัลลี่, จิอันฟรังโก้ โซล่า และอีกมากมาย

ในปี 2003 เคน เบตส์ ประกาศขายกิจการของสโมสร ไปให้กับโรมัน อบราโมวิช มหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ด้วยราคา 140 ล้านปอนด์ ความสำเร็จของเชลซีตลอดช่วงศตวรรษแรก คว้าแชมป์ได้ทั้งหมด 13 โทรฟี่

อาณาจักร “โรมัน” เขย่าพรีเมียร์ลีก

เส้นทางชีวิตของโรมัน อบราโมวิช ก่อนที่จะเข้ามาเทคโอเวอร์เชลซีนั้น เรียกได้ว่าเป็นคนที่สู้ชีวิตมาไม่น้อยเลยทีเดียว เขากำพร้าพ่อและแม่ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ทางเดียวที่จะอยู่รอดคือต้องดิ้นรนหาเงิน

อบราโมวิช ได้เข้าโรงเรียนเพื่อเรียนหนังสือเหมือนเด็กทั่วๆ ไป แต่พออายุ 16 ปี เขาขอลาออกจากโรงเรียน เพราะมองว่าเรียนไปก็ไม่มีประโยชน์ และเริ่มมีรายได้จากการเป็นเซลล์ขายของเล่นที่ทำจากยาง

จากการได้เรียนรู้เรื่องการค้าขายนี่เอง ทำให้อบราโมวิชเข้าใจถึงคำว่า “คอนเน็คขั่น” ก็ได้ผันตัวไปทำธุรกิจใต้ดิน คือการขายน้ำมันเถื่อน โดยมีบอริส เบเรซอฟสกี้ นักการเมืองดังของรัสเซียในยุค ’90 อยู่เบื้องหลัง

ต่อมา อบราโมวิช และเบเรซอฟสกี้ ได้ซื้อกิจการ Sibneft บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของไซบีเรียในราคาไม่ถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐ และขายให้ Gazprom บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของรัสเซีย ได้กำไรกว่า 10 เท่า

จนกระทั่งในปี 2000 รัสเซียมีการเปลี่ยนขั้วอำนาจครั้งสำคัญ เมื่อวลาดิเมียร์ ปูติน ได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ นั่นคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้อบราโมวิชมีอิทธิพลมากขึ้น และมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับปูตินตั้งแต่บัดนั้น

เมื่ออบราโมวิช เข้ามาครอบครองสโมสรเชลซี ในปี 2003 ถือเป็นเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนวงการฟุตบอลอังกฤษเป็นอย่างมาก ท่ามกลางการจับตามองว่า เขาจะมาสร้างภัยอันตรายให้กับรัฐบาลเมืองผู้ดีหรือไม่

แม้ประวัติในอดีตของอบราโมวิชจะเป็นที่ถูกจับผิดอยู่ตลอดเวลา แต่เขามีวิสัยทัศน์ และมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำเชลซีประสบความสำเร็จอย่างจริงจัง จนกระทั่งสร้างยุคสมัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดยุคหนึ่งของสโมสร

ในฤดูกาล 2004/05 แชมป์รายการแรกในยุคของเสี่ยหมี คือแชมป์ลีก คัพ และตามด้วยแชมป์พรีเมียร์ลีก ซึ่งถือเป็นการคว้าแชมป์ลีกสูงสุดเป็นครั้งแรกในรอบครึ่งศตวรรษ และฉลองครบรอบ 100 ปี ของสโมสรอีกด้วย

ขณะที่ถ้วยใหญ่สุดของยุโรปอย่างยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก เชลซีผ่านเข้าชิงชนะเลิศครั้งแรกเมื่อปี 2008 ที่รัสเซีย ทว่าแพ้จุดโทษแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แต่หลังจากนั้นก็สมหวัง คว้าแชมป์ได้ 2 สมัย ในปี 2012 และ 2021

โรมัน อบราโมวิช ใช้เวลาเพียง 19 ปี พาเชลซีคว้าแชมป์ได้อย่างน้อย 21 รายการ ถึงแม้ว่าจะต้องใช้ผู้จัดการทีมมากถึง 14 คน แต่ถ้าวิธีการของเขามันได้ผลตามที่ต้องการ ก็คงจะไม่มีใครไปตำหนิได้อย่างแน่นอน

จบแบบเจ็บปวด จากลาอย่างยิ่งใหญ่

ในขณะที่โรมัน อบราโมวิช กำลังสร้างยุคสมัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเชลซี จุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตของเขาก็มาถึง และไม่มีใครคาดคิดว่าจะนำไปสู่จุดจบถึงขั้นต้องออกจากสโมสรในที่สุด

ในปี 2018 อบราโมวิช มีปัญหาเรื่องการต่อวีซ่าเพื่อเข้าประเทศอังกฤษ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับวลาดิเมีย ปูติน ทำให้ต้องตั้งมาริน่า กรานอฟสกาย่า เข้ามาดูแลสโมสรแทน 

แต่อีก 3 ปีต่อมา เสี่ยหมีสามารถกลับเข้าเมืองผู้ดีได้อีกครั้ง ทว่าสถานการณ์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นจนได้ เพราะเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ได้ปะทุมากขึ้นจนกลายเป็นสงคราม

ก่อนหน้านี้ อบราโมวิชก็พยายามเอาตัวรอด ด้วยการประกาศขายสโมสรให้เร็วที่สุด แล้วนำเงินที่ได้ไปบริจาคให้ผู้ได้รับผลกระทบจากสงครามในยูเครน อีกทั้งหนี้สินที่มีอยู่ทั้งหมดก็จะไม่เรียกคืน แต่ก็ไม่เป็นผล

และล่าสุดเมื่อ 2 วันก่อน รัฐบาลอังกฤษประกาศคว่ำบาตร ส่งผลให้มหาเศรษฐีรัสเซีย 7 คนที่ถูกมองว่าเป็นผู้สนับสนุนปูติน ถูกอายัดทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งรวมถึงอบราโมวิช เจ้าของสโมสรเชลซีด้วย

อย่างไรก็ตาม อบราโมวิชยังสามารถที่จะขายสโมสรได้ แต่มีเงื่อนไขว่า เขาจะไม่ได้รับเงินจากการขายสโมสรเลยแม้แต่ปอนด์เดียว โดยเงินจากการขายสโมสรทั้งหมดจะเข้าไปที่รัฐบาลอังกฤษ

ขณะที่สโมสรเชลซี ก็ได้รับผลกระทบที่ตามมาจากการคว่ำบาตรไปด้วย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

– ห้ามขายตั๋วเข้าชมการแข่งขันใหม่ ยกเว้นผู้ถือตั๋วปีของสโมสร ยังสามารถเข้าชมได้ตามปกติ

– ห้ามจำหน่ายสินค้าในเมกะสโตร์ของสโมสร และออนไลน์ ส่วนที่อื่นยังสามารถจำหน่ายได้ตามปกติ

– ห้ามซื้อ-ขายผู้เล่น และต่อสัญญาฉบับใหม่ให้กับผู้เล่นของสโมสร

– ห้ามใช้เงินเกิน 500,000 ปอนด์ สำหรับการแข่งขันในประเทศอังกฤษ

– ห้ามใช้เงินเกิน 20,000 ปอนด์ สำหรับการเดินทางแข่งขันนอกประเทศอังกฤษ

– ทรี (Three) บริษัทเครือข่ายโทรศัพท์ชื่อดังของอังกฤษ ขอระงับสัญญาเป็นสปอนเซอร์หน้าอกเสื้อแข่งขันชั่วคราว

ถึงแม้ว่าโรมัน อบราโมวิช จะต้องยุติบทบาทกับเชลซีแบบไม่เต็มใจเท่าใดนัก แต่สิ่งที่ได้ลงมือทำมาตลอด 19 ปี ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เขาคือเจ้าของสโมสรที่ลงทุน และทุ่มเทจนทีมประสบความสำเร็จสูงสุดของโลกลูกหนังไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Author : จักรพันธ์ ภู่ทอง

Photo : Football365

อ้างอิง :

– https://www.bbc.com/sport/football/60689645

– https://www.bbc.com/sport/football/60684038

– https://en.wikipedia.org/wiki/Chelsea_F.C.

Categories
Football Business

ดิจิทัลเปลี่ยนโลกฟุตบอล : “พรีเมียร์ลีก” กับการเปิดประมูลสิทธิ์ NFT

เมื่อกระแสของโลก “ดิจิทัล” กำลังจะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับโลกมนุษย์อีกสเต็ปหนึ่งผ่านสกุลเงิน และสินทรัพย์ในรูปแบบดิจิตัล วงการฟุตบอลก็เช่นกัน หากสังเกตดี ๆ เราจะเริ่มเห็นการนำสิ่งต่าง ๆ ที่เป็น และน่าจะเป็นสินทรัพย์จับต้องได้เกี่ยวกับฟุตบอลมาแปลงให้เป็น “สินทรัพย์ดิจิตอล” เพื่อเพิ่มมูลค่ากันมากขึ้น

ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ก็มีแผนที่จะเข้าสู่โลกดิจิทัลนี้ โดยเตรียมเปิดประมูลเพื่อขายลิขสิทธิ์ในการผลิตสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ NFT ซึ่งผู้ชนะการประมูลจะได้สิทธิ์เป็นเวลา 4 ปีด้วยกัน

แล้วสินทรัพย์ดิจิทัล จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการลูกหนังเมืองผู้ดีอย่างไร ? วันนี้เพจ “ไข่มุกดำ” จะมาขยายให้ฟังกันครับ

NFT คืออะไร ?

NFT ย่อมาจากคำว่า Non-fungible tokens หมายถึง สินทรัพย์ที่ถูกแปลงไปอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ภายใต้เทคโนโลยีบล็อกเชน (blockchain) ที่ใช้กับสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซี

ลักษณะเด่นของ NFT นั้น จะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีผู้ถือครองได้แค่คนเดียว และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่สามารถทำซ้ำ หรือคัดลอกได้ ทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่า ใครคือเจ้าของตัวจริง

ซึ่งข้อดีของ NFT คือ สามารถซื้อ-ขาย หรือโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่ต้องมีคนกลาง แถมมีความปลอดภัย เพราะทุกกิจกรรมหรือธุรกรรมที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกไว้ทั้งหมด สามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้

ระบบของ NFT ทำให้สินทรัพย์ หรือของสะสมที่มีมูลค่า สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ง่ายดายมากขึ้น ในต้นทุนที่ต่ำลง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์ จนเกิดโอกาสในการทำเงินได้อีกด้วย

สินทรัพย์ดิจิทัลประเภท NFT ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นผู้สร้างงาน และขายงานได้ หากงานนั้นๆ ถูกตาต้องใจผู้ที่ต้องการจะครอบครอง ถือเป็นการเปิดพื้นที่ในการแสดงผลงานของตัวเองได้มากขึ้น

วงการฟุตบอลช่วยขับเคลื่อน NFT

ในช่วงแรกของ NFT นั้น ใช้เฉพาะในกลุ่มเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น เช่นศิลปะ, เพลง หรือเกม แต่เมื่อความนิยมแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็เข้าสู่แวดวงกีฬา และแน่นอนว่า “ฟุตบอล” คือหนึ่งในนั้น

ล่าสุด ลีกสูงสุดของอังกฤษ ได้เปิดให้ประมูลสิทธิ์ NFT ซึ่งในเวลานี้ มีผู้สนใจ 4 ราย ได้แก่ Sorare, Candy Digital, Dapper Labs และ ConsenSys มูลค่าอยู่ระหว่าง 220 – 434 ล้านปอนด์

จากนั้น ผู้เข้าประมูลทั้ง 4 ราย จะต้องนำเสนอรายละเอียดให้กับ 20 สโมสรสมาชิกพรีเมียร์ลีกในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ สำหรับผู้ชนะในการประมูล จะได้รับสิทธิ์ NFT เป็นเวลา 4 ปี

ในส่วนของนักฟุตบอลที่มีมูลค่าสูงสุดใน NFT คือการ์ดสะสมหายาก Sorare ของเออร์ลิ่ง ฮาแลนด์ ที่ถูกประมูลไปด้วยราคา 5 แสนปอนด์ ทำลายสถิติการ์ดของคริสเตียโน่ โรนัลโด้ ที่ทำไว้ 3 แสนปอนด์ อย่างราบคาบ

ซึ่งการ์ดสะสมของ Sorare เป็นหนึ่งในคอลเล็กชันที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยสิ่งที่แตกต่างจากการ์ดแบบเก่าคือ การ์ด Sorare สามารถนำไปใช้กับเกมฟุตบอลแฟนตาซีได้ด้วย

หรือตำนานนักฟุตบอลอย่างจอห์น เทอร์รี่ อดีตกัปตันทีมชาติอังกฤษและเชลซี ก็ได้ปล่อยผลงาน NFT คอลเล็กชัน “Ape Kids Club” เป็นภาพลิงสีน้ำเงินสวมปลอกแขนกัปตันทีม พร้อมกับถ้วยแชมป์หลายใบอย่างไรก็ตาม เทอร์รี่อาจถูกทางพรีเมียร์ลีก และสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) สอบสวนว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่ หากมีการละเมิดจริงก็จะดำเนินคดีต่อไป

การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง

การลงทุนใน NFT ก็เหมือนกับการลงทุนประเภทอื่น ๆ คือมีความเสี่ยง ที่มีผลลัพธ์ทั้งด้านบวกและลบ แต่การลงทุนบางประเภทที่ยังไม่มีกฎหมายมารองรับอย่างชัดเจน ก็อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายได้

เมื่อเดือนตุลาคม ปีที่แล้ว Sorare แพลตฟอร์มดิจิทัลฟุตบอลของฝรั่งเศส หนึ่งในผู้เข้าประมูล NFT กับทางพรีเมียร์ลีก ถูกหน่วยงานด้านตรวจสอบการพนันสอบสวนว่า เข้ามาทำธุรกิจในอังกฤษโดยไม่ได้รับอนุญาต

โดยหน่วยงานด้านตรวจสอบการพนัน ได้กล่าวว่า “เราพบว่า Sorare ได้เข้ามาให้บริการในสหราชอาณาจักร แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของเรา เราขอเตือนแฟนฟุตบอลให้หลีกเลี่ยงการลงทุนแบบนี้”

ขณะที่โฆษกของ Sorare กล่าวว่า “เป็นเรื่องปกติที่จะมีการตรวจสอบแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นใหม่ และจะทำเพื่อผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ เราจะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เข้ามาสอบสวนอย่างเต็มที่”

“Sorare ได้เป็นพันธมิตรกับสโมสรฟุตบอลอย่างน้อย 230 สโมสร รวมถึงลีกสำคัญๆ หลายลีกของยุโรป เพื่อเสนอสินทรัพย์ดิจิทัลแบบ NFT ในรูปแบบของการ์ด และมีเกมฟุตบอลแฟนตาซีให้เล่นฟรี”

“แพลตฟอร์มของเราก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างคอนเน็คชั่นที่ดีระหว่างสโมสรกับแฟนบอลในรูปแบบดิจิทัล เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การบริการหรือการส่งเสริมการขายของเรา ไม่เกี่ยวข้องกับการพนันอย่างแน่นอน”

ความเสี่ยงของ NFT อีกอย่างที่สำคัญคือ การสูญหายของสินทรัพย์ แต่จะเป็นการสูญหายในเชิงเทคนิค เช่นในกรณีที่เราลืมรหัสผ่าน/กุญแจ จนไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้ หรือแพลตฟอร์มนั้นเกิดปิดตัวลงกะทันหัน

แม้ว่าโอกาสและแนวโน้มของ NFT จะเป็นไปในทางที่เติบโตขึ้นอย่างน่าตื่นเต้น แต่ก็ควรตระหนักไว้ว่า NFT มีความผันผวนได้เช่นกัน ดังนั้นการศึกษาเพิ่มเติมองค์ความรู้ในด้านนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญก่อนที่จะคิดลงทุน และสะสมสินทรัพย์ดิจิตอล ที่ตอนนี้กระแสกำลังเริ่มแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงข้อมูลข่าวสารก็ถาโถมเข้ามาอย่างมาก 

ทั้งนี้ก็เหมือนกับการลงทุนทุกชนิดที่มีความเสี่ยง เพราะยังไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า NFT จะพัฒนาไปสู่ตลาดที่มีมูลค่ามหาศาลเพียงใด และเปรียบเทียบกับการลงทุนในสกุลเงินดิจิตอลได้เพียงไหน แต่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ NFT ก็ถือเป็นการลงทุนในยุคดิจิทัลที่ต้องจับตามองในอนาคตต่อไป

เฉพาะอย่างยิ่ง NFT ได้ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมกีฬา และฟุตบอลอย่างเต็มตัวแล้ว

หมายเหตุ: สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง NFT ติดต่อ mkt.khaimukdam@gmail.com ทางไข่มุกดำ ร่วมกับพาร์ตเนอร์ EAST NFT สร้างสรรค์สินทรัพย์ดิจิตอล นักกีฬามีชื่อเสียง อยู่หลายรายในเวลานี้

Author : จักรพันธ์ ภู่ทอง

Photo : NFT News Pro

อ้างอิง : 

– https://www.dailymail.co.uk/sport/sportsnews/article-10525031/Gambling-Commission-probes-French-company-four-bidders-Premier-Leagues-NFT-licence.html

– https://www.dailymail.co.uk/sport/football/article-10464499/Erling-Haaland-NFT-trading-card-sells-500-000-SMASHING-previous-Cristiano-Ronaldo-record.html

– https://theathletic.com/2634415/2021/06/07/nfts-the-future-of-football-or-a-massive-con/

– https://theathletic.com/3142145/2022/02/22/players-odd-spremier-league-clubs-cashing-in-nfts/

– https://theathletic.com/3054372/2022/01/11/why-footballers-are-spending-thousands-on-cartoon-monkeys/

– https://theathletic.com/news/chelsea-looking-into-john-terry-promoted-nfts-that-use-club-assets-and-intellectual-property/ULpvNNPB7SHy/

– https://techstory.in/premier-league-to-fix-nft-deal-worth-up-to-590-million/

– https://www.ledgerinsights.com/premier-league-nft-football-rights-worth-up-to-590-million/

– https://bitcoinaddict.org/2021/05/14/the-nft-bible-part-1-what-is-nft/

Categories
Football Business

สรุป 4 ประเภทของ แรงจูงใจหลักในการซื้อ “สโมสรฟุตบอลอาชีพ”

ในปัจจุบัน สโมสรฟุตบอลในยุโรป ตกเป็นเป้าหมายทางธุรกิจของนักลงทุนมากมาย นับตั้งแต่นักธุรกิจท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงไปจนถึงมหาเศรษฐีจากต่างประเทศ หรือไล่ตั้งแต่ บริษัทเงินทุนส่วนตัวไปจนถึงกลุ่มผู้สนับสนุน แม้ว่าแต่ละฝ่ายอาจจะมีเหตุผลส่วนตัวร่วมด้วยในการซื้อสโมสรฟุตบอล แต่แรงจูงใจในการซื้อสโมสรของพวกเขา อาจจะไม่ต่างกันมากนัก

บทความนี้ทีมไข่มุกดำ ได้รวบรวมข้อมูลมาจากทีม KPMG ที่ได้เก็บข้อมูล และแรงจูงใจซึ่งพบบ่อยที่สุดในการถูกหยิบยกมาใช้เพื่อซื้อสโมสรฟุตบอลอาชีพ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ซึ่งทั้งหมดก็มีรายละเอียดของแต่ละหัวข้อต่อไปนี้ ได้แก่ ความเป็นเจ้าของทางการเมือง – ทุนยุทธศาสตร์ / ความเป็นเจ้าของทั่วโลก – ทุนทางเศรษฐกิจ / ความเป็นเจ้าของในท้องถิ่น – ทุนทางวัฒนธรรม /ความเป็นเจ้าของผู้สนับสนุน – ทุนทางสังคม

ความเป็นเจ้าของทางการเมือง – ทุนยุทธศาสตร์

1. การประชาสัมพันธ์เชิงบวกและการสร้างแบรนด์

สโมสรฟุตบอลเป็นสินทรัพย์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ มักจะเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และ ดึงดูดความสนใจจากผู้คนจำนวนมากรวมไปถึงผู้ชมจำนวนมาก จึงเหมาะที่จะทำหน้าที่เป็นช่องทางการสื่อสารและแพลตฟอร์มสื่อ

พวกเขาไม่เพียงแต่ถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับความสำเร็จและกิจกรรมของทีมไปยังแฟน ๆ เท่านั้น แต่ยังสามารถถ่ายทอดข้อความของพันธมิตรทางการค้าและผู้สนับสนุนในลักษณะที่มีประสิทธิภาพ ดึงดูดความสนใจ ทั้งยังกระจายไปอย่างรวดเร็ว

ขอบคุณรูปภาพจาก FB : Manchester City

สโมสรฟุตบอลสามารถเป็นตัวขับเคลื่อนสำหรับประเทศ บริษัท หรือบุคคล เพื่อเพิ่มการรับรู้แบรนด์และปรับปรุงภาพลักษณ์สาธารณะได้ ตัวอย่างเช่น ปารีส แซงต์ แชร์กแมง และ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ มักถูกมองว่าเป็นทูตของประเทศกาตาร์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตามลำดับ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เอซี มิลาน ซึ่งมีอดีตเจ้าของเป็นนักธุรกิจและอดีตนายกรัฐมนตรีอิตาลีอย่าง ซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี มาเกือบ 30 ปี เป็นต้น

2. ความสามารถในการโฆษณาที่ไม่เหมือนใคร

ในทำนองเดียวกันกับแรงจูงใจก่อนหน้านี้ เจ้าของอาจเลือกที่จะใช้ประโยชน์จากโอกาสในการสร้างแบรนด์และการสนับสนุน เพื่อใช้ใน บริษัท หรือ ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่พวกเขาเป็นเจ้าของหรือเกี่ยวข้องกัน ผ่านทางสโมสรฟุตบอลของตัวเอง

ตัวอย่างหนึ่งคือกรณีของ ไมค์ แอชลีย์ ที่เป็นเจ้าของทั้ง สปอร์ต ไดเร็ก และ ยังเป็นอดีตเจ้าของ นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด  และสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่โฆษณาที่สำคัญของสโมสร เพื่อสร้างแบรนด์ของธุรกิจให้เติบโตได้

3. แรงจูงใจทางภูมิรัฐศาสตร์

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ อุตสาหกรรมฟุตบอลได้เห็นการขยายตัวอย่างมากของการลงทุนจากบรรดาภาคธุรกิจของจีน โดยส่วนใหญ่แล้วแม้ว่าการเข้าซื้อกิจการของทีมยุโรป จะมีเป้าหมายจากรัฐบาลของจีนในการใช้เพื่อพัฒนาฟุตบอลในประเทศ

แต่ในบางกรณี การซื้อสโมสรจากกลุ่มทุนจีนถูกใช้ในรูปแบบของ “ซอฟต์ พาเวอร์” เพื่อให้ได้มาซึ่งสถานะทางการเมืองหรือตำแหน่งทางธุรกิจ ที่ได้เปรียบมากขึ้นภายในเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก

การใช้ “ซอฟต์ พาเวอร์” ของสโมสรฟุตบอลยังสามารถนำไปใช้เมื่อเข้าสู่ตลาดใหม่ในต่างประเทศ เช่น การเข้าซื้อกิจการของจีนล่าสุดของสโมสรมืออาชีพในเบอร์มิงแฮมสามแห่ง เป็นตัวอย่างของสิ่งนี้

4. Connection ทางธุรกิจ

การเป็นเจ้าของสโมสรมักจะนำเสนอบรรยากาศที่ไม่เหมือนใครสำหรับการพบปะกับผู้มีอิทธิพลสูง ความสัมพันธ์มากมายได้ถูกสร้างขึ้นผ่านการเข้าถึงห้องประชุมคณะกรรมการสโมสรฟุตบอลชั้นนำของโลก รวมถึงการมอบช่องทางการเสพความบันเทิงที่น่าประทับใจอย่างเกมฟุตบอล ให้กับคนดังและผู้ทรงอำนาจที่ต้องการเข้าร่วมการชมแข่งขัน

ความเป็นเจ้าของทั่วโลก – ทุนทางเศรษฐกิจ

1. การเพิ่มผลกำไรทางการเงินสูงสุด

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รายได้จากลิขสิทธิ์ที่พุ่งสูงขึ้น (โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร) ทำให้ความยั่งยืนทางการเงินเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยมี กฎ ไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์ เป็นข้อสนับสนุน ทำให้เหตุผลหลักที่อยู่เบื้องหลังการลงทุนของสโมสรฟุตบอลต่าง ๆ ถูกใช้เพื่อเป็นช่องทางดำเนินธุรกิจให้มีผลกำไร และทำให้เงินทุนของเจ้าของทีมที่ลงไปนั้นเติบโต

ขอบคุณรูปภาพจาก : The Guardian

ตัวอย่างของเหตุผลข้อนี้ ได้แก่ สโมสรฟุตบอล แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นเจ้าของโดยตระกูลเกลเซอร์ ที่เป็นนักลงทุนทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา และเมื่อพวกเขาตัดสินใจลงทุนในพรีเมียร์ลีก พวกเขาเลือก แมนฯ ยูไนเต็ด เป็นเป้าหมายในการเข้าซื้อกิจการ เนื่องจากสโมสรมีโอกาสดีที่จะประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์แล้ว เป็นแนวทางให้นักลงทุนชาวอเมริกันรายอื่น ๆ ได้เห็นตัวอย่างการเติบโตจากการลงทุนในทีมฟุตบอล และเข้ามาแสวงหากำไรหลังจากนั้นอีกหลายราย ทั้ง โครเอนเก และ เฟนเวย์ สปอร์ต กรุป

2. ศักยภาพในการเติบโตทั่วโลก

ความสนใจในฟุตบอลได้เติบโตขึ้นอย่างมากในระดับโลกในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา การเติบโตนี้ได้รับการเร่งความเร็วขึ้นโดยอินเทอร์เน็ตและการพัฒนาแพลตฟอร์มสื่อดิจิทัลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

การเติบโตนี้น่าสนใจสำหรับเจ้าของที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์นี้ หากนักลงทุนสามารถหาทีมที่ใช่ พร้อมใช้กลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จและค้นหาช่วงเวลาที่เหมาะสม อาจทำให้ทีมเติบโตอย่างรวดเร็วและให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้งยังสร้างผลกำไรได้มหาศาล

“โดยส่วนใหญ่ (สโมสรฟุตบอล) มักมองว่ากำไรจะมาในรูปแบบของถ้วยรางวัล ตราบใดที่สโมสรฟุตบอลยังคงทำผลงานได้ดีในสนามในระดับเดียวกับที่คุณซื้อสโมสรนั้นมา สโมสรจะคงคุณค่าและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมูลค่าได้ เป็นทรัพย์สินระยะยาวที่คุณน่าจะทำกำไรได้ไม่ยาก” รอรี มิลเลอร์ จากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลกล่าว

3. ข้อควรพิจารณาด้านภาษี

สำหรับเจ้าของบางคน สโมสร อาจจะมาในรูปแบบของบริษัทที่อาจจะช่วยให้เขาไม่ต้องเสียภาษีมากเกินไป หากนำเงินมาลงในปริมาณที่คำนวนแล้วทำให้สโมสรขาดทุนในรายปี นอกจากจะทำให้เจ้าของทีมไม่เสียภาษีแล้ว สิ่งที่แลกมาจากเม็ดเงินที่ลงไป อาจจะเป็นการประสบความสำเร็จในบั้นปลายฤดูกาล ซึ่งสิ่งนี้จะเพิ่มมูลค่าให้สโมสรโดยลดตัวเลขทางภาษีที่เขาต้องจากไปพร้อม ๆ กัน

4. การเก็งกำไรในอนาคต (การเลื่อนชั้น)

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอังกฤษ หนึ่งในเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการลงทุนระดับสูงในสโมสรระดับล่างคือ รางวัลสำคัญอย่างการเลื่อนชั้นไปเล่นในพรีเมียร์ลีก สิ่งนี้สามารถถูกมองว่าเป็นการเก็งกำไรได้เลย

โดยส่วนใหญ่ การลงทุนในทีมฟุตบอลระดับสูง อย่างการซื้อนักเตะชั้นนำ และการจ่ายค่าจ้างผู้เล่น จะต้องบรรลุเป้าหมายที่ทีมตั้งไว้ และส่วนใหญ่มักจะส่งผลให้สโมสรประสบภาวะขาดทุน การจบอันดับสูง ๆ ในตารางพรีเมียร์ลีกอาจสามารถชดเชยสิ่งเหล่านี้ได้

แต่การไต่เต้าจากสโมสรชั้นล่างและเลื่อนชั้นขึ้นมาได้ในเวลาอันสั้น คือการลงทุนที่อาจจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า ด้วยเหตุผลที่ว่า การแข่งขันอาจจะไม่สูงเท่า และผลตอบแทนเกินกว่าคำว่าคุ้มค่า ถ้าพาทีมขึ้นชั้นได้จริง

“การซื้อสโมสรใน เดอะ แชมเปี้ยนชิพ จึงเปรียบเสมือนการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ในเมืองที่กำลังเติบโต” บีบีซี กล่าว

5. ใช้ ‘สโมสร’ ต่อยอดไปยังสโมสรอื่น 

ความเชี่ยวชาญในการจัดการสโมสรฟุตบอลเป็นทักษะที่สามารถนำมาใช้เพื่อบริหารสโมสรอื่น ๆ ในแต่ละภาคส่วนในโลกได้ ตัวอย่างที่ดีที่สุดของข้อนี้คือ City Football Group กลุ่มเจ้าของที่อยู่เบื้องหลัง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ เพราะพวกเขาประสบความสำเร็จอย่างที่สุด ไม่ใช่แค่กับ ซิตี้ เท่านั้น พวกเขายังต่อยอดการลงทุนไปยังสโมสรอื่น ๆ ทั่วโลก โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นในสโมสรฟุตบอลทั้งใน อังกฤษ สเปน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อุรุกวัย จีน และอินเดีย

ความเป็นเจ้าของในท้องถิ่น – ทุนทางวัฒนธรรม และ ความเป็นเจ้าของผู้สนับสนุน – ทุนทางสังคม

1. สายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับชุมชน

สโมสรฟุตบอลเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงกับท้องถิ่นของด้วย สโมสรบางแห่งเป็นหัวใจของชุมชนขนาดเล็ก เป็นสถานที่ที่ขับเคลื่อนการจ้างงานและดำเนินโครงการ ที่มีความคิดริเริ่มที่จะรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น บุคคลในท้องถิ่น (ผู้มั่งคั่ง) จึงสามารถมองสโมสรเป็นเวทีในที่กว้างขึ้น และใช้มันเพื่อตอบแทนแก่ชุมชน

ตัวอย่างนี้คือ แอคคริงตัน สแตนลีย์ ซึ่ง แอนดี โอลต์ นักธุรกิจจาก แลงคาเชียร์เข้าซื้อกิจการในปี 2015 โดย โฮลต์ไม่ได้มองว่าสโมสรเป็นธุรกิจเหมือนเจ้าของทีมส่วนมาก แต่ระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง สโมสรเหมือนจุดศูนย์รวมของชุมชนมากกว่า

2. ความผูกพันกับสโมสรและแฟนคลับ

บุคคลหรือกลุ่มที่เป็นแฟนของทีมอาจมีแรงจูงใจที่ชัดเจนที่สุด ที่จะมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสโมสร สโมสรที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง รวมทั้ง เรอัล มาดริด และ บาร์เซโลนา ยังคงมีเจ้าของทีมเป็นกลุ่มแฟนบอลมาจนถึงทุกวันนี้ ขณะที่ในเยอรมนี มีกฎ 50 + 1 หมายความว่าแทบทุกสโมสรอาชีพในประเทศนี้ มีโครงสร้างการเป็นเจ้าของที่แฟน ๆ ถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่

The largest stadium of Barcelona from helicopter. Catalonia, Spain

ทั้งนี้ และทั้งนั้น สิ่งหนึ่งที่ควรตระหนักก่อนจะก้าวขาเข้ามาในธุรกิจฟุตบอล ไม่ต้องถึงขั้นเป็นเจ้าของก็คือ ลักษณะพิเศษของฟุตบอลลีกอาชีพ (The ‘peculiar’ economics of professional football leagues) ที่ควรมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้

เฉพาะอย่างยิ่งในมุมที่ฟุตบอลเป็น “เกม” หรือเป็น “ธุรกิจ” ที่แตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ เพราะจะมีจุดมุ่งหมายพร้อม ๆ กัน 2 ประการ นั่นคือ ชนะในสนาม และ “ไม่แพ้” หรืออยู่ได้โดยไม่ขาดทุนนอกสนาม
“จุดมุ่งหมาย” 2 ประการนี้จะขัดแย้งกันเองโดยธรรมชาติ เพราะหากต้องการจะประสบความสำเร็จในสนาม สโมสรฟุตบอลก็ต้องใช้เงิน “ลงทุน” กับการซื้อตัวผู้เล่น หรือไม่ก็เป็นค่าเหนื่อยผู้เล่นที่ส่วนมากแล้วจะใช้เต็มจำนวนงบประมาณที่มี

ไม่นับการปรับปรุง “สาธารณูปโภค” ต่าง ๆ สำหรับทีม และแฟนบอล เช่น สนามซ้อม, ที่นั่งสนามแข่ง, ห้องน้ำ, สนามหญ้า ฯลฯ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการเล่นทีม และเพื่ออรรถรสในการชมฟุตบอลของแฟน ๆ ขยับจากนั้นอีกขั้นก็คือ หน้าที่เพื่อสังคม ดังจะได้เห็นกิจกรรม CSR (Corporate Social Responsibilities) ต่าง ๆ มากมาย และเป็น “ภาคบังคับ” ที่ต้องกระทำ โดยเฉพาะโปรแกรมเพื่อเยาวชน และชุมชนที่สโมสรฟุตบอลก่อตั้ง

ที่สุดแล้ว “กำไร” อย่าว่าแต่จะไม่เหลือเลย การทำงบดุลไม่ให้ติด “ตัวแดง” ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายแล้ว ฉะนั้นในทาง “อุดมคติ” ฟุตบอลจึงไม่ใช่ธุรกิจที่ผู้ถือหุ้นไม่ว่าจะในฐานะบุคคล, นิติบุคคล หรือบริษัทมหาชนจะ “นั่งรอ” ผลกำไรปลายปีเฉกเช่น ธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ๆ

แม้ความจริงที่เราทราบ “เจ้าของทีม” ทุกวันนี้จะไม่ใช่แบบนั้นก็ตาม

Author : สมศักดิ์ จันทวิชชประภา

อ้างอิง:

– https://footballbenchmark.com/library/key_motivations_behind_buying_a_professional_football_clubs

Categories
Football Business

เปลี่ยนสโมสรฟุตบอลให้เป็น “แบรนด์”

จากงาน Marketing Workshop ให้กับสโมสรไทยลีก 1 และ 2 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ บริษัท แพลน บี อีเลฟเว่น เมื่อกลางเดือนมกราคม 2562 ที่ผ่านมามี 1 หัวข้อน่าสนใจจากวิทยากรผู้ทรงคุณาวุฒิรับเชิญ คุณแดน ศรมณี Global Brand Lead จากแอพลิเคชั่น LINE (ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอดีเอ ดิจิทัล ประเทศไทย จำกัด ผู้นำในการให้บริการการตลาดดิจิทัลครบวงจร) เรื่อง “เปลี่ยนสโมสรฟุตบอลให้เป็นแบรนด์”

ทำไม? มันมีความหมายลึกซึ้งอย่างไร? และนำไปสู่ความสำคัญต่อฟุตบอลไทยอย่างไร? วันนี้ผมขอหยิบเนื้อหาจาก The Stadium Magazine ฉบับเดือน ก.พ.2019 ที่ผมได้เรียบเรียงไว้มาฝากครับ

ต้นทางฟุตบอล, ผมเอง, คุณแดน ศรมณี และคุณนก LFCTHs

1. อันดับของทีมมีขึ้นมีลง แต่สโมสรฟุตบอลจะอยู่ในใจเสมอ

อธิบายความได้ว่า “แชมป์” มีได้แค่ทีมเดียว และไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า แต่สโมสรฟุตบอลจะสามารถยึดเหนี่ยว และตราตรึงใจแฟนบอลตลอดไปได้

ข้อนี้หมายรวมถึง การ “ตั้งจุดประสงค์” ของทีม และเล่าเรื่องสื่อสารทีมไม่ว่าจะในเชิงการตลาด หรือเนื้อหาในสนามของทีมทั่วไปอันนำมาซึ่งวิธีปฏิบัติ และเกิดผลลัพธ์ในใจแฟนบอล

หากตั้งเป้าเพียงแค่ “ต้องชนะ” หรือ “ต้องแชมป์” แล้วไม่ประสบความสำเร็จ ความเชื่อที่แฟนบอลได้รับการ “ถ่ายทอด” ก็จะนำไปสู่ผลลัพธ์ เช่น ไม่เข้าสนาม สนับสนุนน้อยลง เพราะทีมมีผลงานในสนามไม่ดี

แต่หาก สโมสรฟุตบอลมีการสร้าง “แบรนด์” และวางโพสิชั่นด้านอื่น ๆ เช่น การตอบแทนสังคมผ่านกิจกรรมชุมชน, รูปแบบ และสไตล์การเล่นสนุกสนาน มีความสุข น่าประทับใจ โดยให้แฟน ๆ มี “ส่วนร่วม” ไปด้วย

ผลการแข่งขันก็จะเป็น “โบนัส” (หากทำได้ดี) เพราะเป้าหมายหลักต่าง ๆ ได้ประสบความสำเร็จแล้วผ่านการสื่อสารที่มีการวางแผนเอาไว้ตามเป้าประสงค์

2. การ Branding สโมสรฟุตบอล (ของคุณ)

หากเป็นทั่วไป ชื่อเสียงของแบรนด์ (Brand Reputation) จะมาจากผลการแข่งขัน (Result) แต่ในเชิงกีฬา หรือฟุตบอล มันต้องสื่อสารผ่านการเล่าเรื่อง (Story) เช่น ลิเวอร์พูล กับตำนานแชมป์ยุโรป 6 สมัย หรือตำนานของทีม อาทิ “คิงเคนนี่” เคนนี่ ดัลกลิช, สตีเวน เจอร์ราร์ด ที่มีการเล่าถึงผ่านของที่ระลึกในเมกะสโตร์ หรือพิพิธภัณฑ์สโมสรอย่างต่อเนื่อง

หาใช่พูดถึง ผลการแข่งขันที่ไม่เคยได้แชมป์ลีกสูงสุดมากเกือบ 30 ปี (ก่อนหน้าซีซั่น 2019/20) ที่หากมองในแง่นั้น ผลงาน (Result) คงไม่อาจพาลิเวอร์พูลมาสู่จุดนี้ที่มาได้เพราะ Story ได้ถูกสื่อสารอย่างงดงาม และต่อเนื่อง

ลำดับถัดมา คือ อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) จากภาพเรียบ ๆ ไม่มีอะไร (Format) ให้เป็น “ภาพลักษณ์” ที่ดี (Image) ของสโมสรแบบมี “ตัวตน” ชัดเจนทั้งใน และนอกสนามไม่ว่าจะผ่านการ “ใช้สี” เช่น เขียวขาว – กลาสโกว์ เซลติก, ดำขาว – ยูเวนตุส, นิวคาสเซิล, ม่วง – ฟิออเรนติน่า หรือโลโก้ รูปร่าง รูปทรงต่าง ๆ ที่คน “จดจำ”

Realistic soccer jersey, t-shirt of Juventus, uniform template for football

หรือในสนาม เช่น รูปแบบวิธีการเล่น โหดเหมือนอุรุกวัย, สวยงามเหมือน แซมบา บราซิล, บาร์เซโลน่า, แมนเชสเตอร์ ซิตี้

สุดท้าย คือ ตำแหน่งของแบรนด์ (Brand Positioning) ที่ต้องเข้าถึง “แก่น” หรือ essence ที่แท้จริงของสโมสรเพื่อเค้นเอา DNA หรือตัวตนที่แท้จริงให้เจอ ไม่ใช่แค่การวางตำแหน่งธรรมดา ๆ

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดภาพชัดเจน เช่น สโมสร คือ ทีมท้องถิ่นนิยมของคนในจังหวัด เช่น สุโขทัย (ทีมเดียว), ชลบุรี หรือระยอง (หลายทีมในจังหวัด) กับกลุ่มเป้าหมายซึ่งคือ แฟนบอลกลุ่มไหน

หรือบุรีรัมย์ โมเดล กับการขยายฐานแฟนบอลมากกว่าในจังหวัด เช่น เห็นสื่อสารผ่านบิลบอร์ดในกทม. และมีช็อปของที่ระลึกอยู่สยามสแควร์ และอื่น ๆ ที่ทำมากกว่าแค่ภายในจังหวัด

เพื่อจะได้สื่อสารถึงพวกเขาได้แม่นยำ และทำในสิ่งที่แฟนบอลกลุ่มเป้าหมายต้องการมากกว่า สโมสรต้องการ

3. การทำแผนการตลาด (Marketing Plan)

การตลาดในนิยามของสโมสรฟุตบอลอาจจะเป็นแค่ “ขา” สปอนเซอร์ หรือการหาผู้สนับสนุนเพื่อสร้างรายได้เป็นหลักอย่างไรก็ดีในเชิงฟุตบอลแล้ว รายได้หลักมาได้อย่างน้อย 4 ช่องทางอันประกอบด้วย

1) การขายตั๋วเข้าชมเกมการแข่งขัน

2) การขายของที่ระลึก

3) รายได้จากสปอนเซอร์

และ 4) รายได้จากค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด

หรือ (อาจจะ) 5) การซื้อมาขายไปของนักเตะ

ฉะนั้น “แผนการตลาด” จะต้องครอบคลุมทุกหัวข้อดังกล่าวผ่านวัตถุประสงค์ อันนำมาซึ่งกลยุทธ์ และกลวิธี แบบถูกต้องแม่นยำ เฉพาะอย่างยิ่งผ่านการสื่อสารการตลาดที่ปัจจุบันสโมสรมี “ช่องทาง” ของตัวเองผ่านโลกดิจิตอลหลากหลาย

แต่การสื่อสารจะทำได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย และกระจายออกไปอย่างมีประสิทธิภาพถึงแฟนบอลผู้รับปลายทางได้แบบตรงเวลาหรือไม่ ทั้งหมดต้องอาศัยการตั้งโจทย์การตลาดที่แม่นยำ เช่น อย่างที่เรียนไว้ข้างต้น จะสร้าง “แชมป์” หรือสร้างทีม “ในใจ”

ตามด้วยเลือกช่องทางการสื่อสารของสโมสร และใช้เต็มประสิทธิภาพ หรือมีพันธมิตร เช่น สื่อท้องถิ่นต่าง ๆ ร่วมด้วยช่วยกัน หรือแม้แต่กลุ่มยิบย่อยแฟนบอลด้วยกันเองเพื่อการมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายต้องปักหมุดให้แม่น เช่น ปัจจุบันมีมากน้อยแค่ไหน?, เป็นใคร/อาชีพ/เพศ/อายุ/ฯลฯ? และสามารถเปลี่ยนให้เป็นแฟนพันธุ์แท้ได้ไหม? หรือจะสร้างกลุ่มเป้าหมายใหม่ และเทิร์นให้กลายเป็นแฟนบอลที่มากขึ้นได้ไหม? อย่างไร?

ทั้งหมดต้องทำผ่านกระบวนการทำงานด้านการตลาดซึ่งสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ, บริษัทไทยลีก จำกัด และบริษัท แพลนบี จำกัด (มหาชน) พร้อมจะสนับสนุน และจะมีกิจกรรม workshop ร่วมกันกับเหล่าสมาชิกทีมต่าง ๆ อยู่เสมอ

ผมขอ “ทิ้งท้าย” ไว้ว่า ฟุตบอลไม่มีสูตรสำเร็จในสนาม หาไม่แล้วทุกทีมก็เป็น “แชมป์” ได้หมด เช่นกัน เรื่องการบริหารจัดการ “นอกสนาม” เช่นในเชิงการตลาด และสร้างแบรนด์ก็ไม่มี “โมเดล” สำเร็จรูปเหมือนบะหมี่ฉีกซองใส่น้ำร้อน

หาไม่แล้วทุกทีมก็คงมีบัญชีงบดุล “ตัวดำ” แถมยังเหลือเงินไว้จับจ่ายซื้อนักเตะดี ๆ และทำอะไรเพื่อแฟนบอล กับชุมชนได้ดีเยี่ยมเหมือนกันหมด

นักการการตลาดด้านกีฬา (ฟุตบอล) จึงไม่ต่างอะไรกับ “ยอดโค้ช” นั่นเองครับ

The Stadium Magazine (February 2019)

✍ : ณัฐวุฒิ ประเทืองศิลป์

#ไข่มุกดำ

#KMDFootballBusiness

#TheStadiumMagazine

#เปลี่ยนสโมสรฟุตบอลให้เป็นแบรนด์