Categories
Column

ใครเข้า-ใครออก : สรุปตลาดนักเตะลาลีกา ช่วงซัมเมอร์ 2022

ลาลีกา สเปน เป็นลีกที่รวบรวมบรรดาสุดยอดนักเตะระดับโลกไว้มากมาย และหลาย ๆ สโมสร ต่างยกระดับขึ้นมาทัดเทียมกับทีมยักษ์ใหญ่ ทำให้การแข่งขันในทุกเกมมีความเข้มข้นมากขึ้น

สิ่งหนึ่งที่ทำให้สโมสรฟุตบอลมีความแข็งแกร่งคือ “ตลาดซื้อขายนักเตะ” ที่มีการเสริมผู้เล่นเข้าสู่ทีมอย่างคึกคัก และนี่คือดีลที่เกิดขึ้นทั้งหมดของตลาดนักเตะลาลีกา ในช่วงซัมเมอร์ปี 2022

 อัลเมเรีย

👉 นักเตะเข้า

กุย เกเดส (วิคตอเรีย กิมาไรส์), ฮูบูแลง เมนเดส (ลอริยองต์), มาร์ติน ไซเดอร์สกี้ (แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด), มาร์โก้ มิโลวาโนวิช (ปาร์ติซาน เบลเกรด), กายกี้ เฟอร์นานเดส (ซานโต๊ส), เลโอ บัปติสเตา (ซานโต๊ส), เฟอร์นานโด ปาเชโก้ (อลาเบส), อาเดรียน เอ็มบาร์บ้า (เอสปันญ่อล), กอนซาโล่ เมเลโร่ (เลบันเต้), เอล บิลาล ตูเร่ (แรงส์), ลาซซาโร่ วินิซิอุส (ฟลาแมงโก้), อเลฮานโดร โปโซ่ (เซบีย่า, ยืมตัว), เซอร์จาน บาบิช (เรด สตาร์ เบลเกรด, ยืมตัว)

👉 นักเตะออก

อูมาร์ ซาดิค (เรอัล โซเซียดัด), ไอตอร์ บันนูเอล (เตเนริเฟ่), อาร์วิน อัปเปียห์ (เตเนริเฟ่, ยืมตัว), ฆอร์ดี้ เอสโคบาร์ (เรอัล เบติส), จอร์จี้ มาการิดเซ่ (ปอนเฟอร์ราดิน่า), เนลสัน มอนเต้ (ดนิโปร), โฆเซ่ คาร์ลอส ลาโซ่ (เอสปันญ่อล), คริสเตียน โอลิเวียร่า (บอสตัน ริเวอร์, ยืมตัว), ฆาวี่ โรเบิลส์ (ฟลูเอนลาบราด้า, ยืมตัว), นิโกล่า มาราส (อลาเบส, ยืมตัว), อาเนา โซล่า (เรอัล มูร์เซีย, ยืมตัว), โจนาธาน ซิลวา (หมดสัญญา), แดเนียล คาริโก้ (หมดสัญญา),  เคอร์โร่ ซานเชซ (หมดสัญญา), ดาร์แกน โรซิช (หมดสัญญา)

ขอบคุณภาพ : https://www.facebook.com/anderherrera

 แอธเลติก บิลเบา

👉 นักเตะเข้า

อันเดร เอร์เรร่า (ปารีส แซงต์-แชร์กแมง, ยืมตัว), กอร์ก้า กูรูเซต้า (อาโมเรบิเอต้า), ฆอน โมซิลโล่ (เรอัล บายาโดลิด), อินนิโก้ กอร์โดบา (โก อเฮด อีเกิลส์)

👉 นักเตะออก

โฆกิน เอสกิเอต้า (ราซิ่ง ซานตานเดร์), อินนิโก้ บิเซนเต้ (ราซิ่ง ซานตานเดร์), อูไน, นูนเนส (เซลต้า บีโก้, ยืมตัว), อูไน โลเปซ (ราโย บาเยกาโน่), นิโก้ เซอร์ราโน่ (มิรันเดส), เปรู โนลาสโกอิน (เออิบาร์, ยืมตัว), อิมานอล การ์เซีย (เออิบาร์, ยืมตัว)

 แอตเลติโก มาดริด

👉 นักเตะเข้า

อองตวน กรีซมันน์ (บาร์เซโลน่า, ยืมตัว), อักเซล วิตเซล (โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์), นาฮูเอล โมลิน่า (อูดิเนเซ่), เซร์คิโอ เรกีลอน (ท็อตแน่ม ฮอทสเปอร์), ซาอูล นิเกซ (เชลซี), อัลบาโร่ โมราต้า (ยูเวนตุส), ซานติอาโก้ อาเรียส (กรานาด้า), อิโว เกอร์บิช (ลีลล์)

👉 นักเตะออก

เอคเตอร์ เอร์เรร่า (ฮูสตัน ไดนาโม), หลุยส์ ซัวเรซ (คลับ นาซิอองนาล), เนฮุน เปเรซ (อูดิเนเซ่), ซิเม่ เวอร์ซัจโก้ (โอลิมเปียกอส), จูเลียโน่ ซิเมโอเน่ (เรอัล ซาราโกซ่า), วิคตอร์ โมลเลโฆ (เรอัล ซาราโกซ่า), บอร์ฆา การ์เซส (เตเนริเฟ่, ยืมตัว), บิโตโล่ (ลาส พัลมาส, ยืมตัว), มานู ซานเชซ (โอซาซูน่า, ยืมตัว), ซามูเอล ลิโน่ (บาเลนเซีย, ยืมตัว), โรดริโก้ ริเกลเม่ (กิโรน่า, ยืมตัว), เซร์คิโอ คาเมลโล่ (ราโย บาเยกาโน่, ยืมตัว), มาร์กอส เปาโล (มิรันเดส, ยืมตัว), ดาเนียล วาสส์ (บรอนบี้), เรนัน โลดี้ (น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์), เบนจามิน เลคอมเต้ (โมนาโก)

ขอบคุณภาพ : https://www.facebook.com/fcbarcelona

⚽️ บาร์เซโลน่า

👉 นักเตะเข้า

ปาโบล ตอร์เร่ (ราซิ่ง ซานตานเดร์), ฟรองค์ เคสซี่ (เอซี มิลาน), อันเดรียส คริสเตนเซ่น (เชลซี), ราฟินญ่า (ลีดส์ ยูไนเต็ด), ฌูลส์ กุนเด้ (เซบีย่า), โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้ (บาเยิร์น มิวนิค), เฮคเตอร์ เบเยริน (อาร์เซน่อล), มิราเล็ม ปานิช (เบซิคตัส), อินากี้ ปิน่า (กาลาตาซาราย)

👉 นักเตะออก

ดานี่ อัลเวส (พูมาส), เกลมองต์ ล็องเล่ต์ (ท็อตแน่ม ฮอทสเปอร์, ยืมตัว), เรย์ มานาจ (วัตฟอร์ด), ฟรานซิสโก้ ตรินเกา (สปอร์ติ้ง ลิสบอน, ยืมตัว), ออสการ์ มิงเกซ่า (เซลต้า บีโก้), ริกิ ปูอิก (ลอสแองเจลิส แกแล็กซี่), เนโต้ (บอร์นมัธ), นิโก้ กอนซาเลซ (บาเลนเซีย, ยืมตัว), อเล็กซ์ กอลลาโด้ (เอลเช่, ยืมตัว), ซามูเอล อูมติตี้ (เลชเช่, ยืมตัว), แซร์จินโญ่ เดสต์ (เอซี มิลาน, ยืมตัว), อับเดสซาหมัด เอซซัลซูลี่ (โอซาซูน่า, ยืมตัว), มาร์ติน เบรธเวท (เอสปันญ่อล), ปิแอร์-เอเมอริค โอบาเมยอง (เชลซี), อดาม่า ตราโอเร่ (วูล์ฟแฮมป์ตัน วันเดอเรอร์ส), ลุค เดอ ยอง (เซบีย่า), ฟิลิปเป้ คูตินโญ่ (แอสตัน วิลล่า)

 เรอัล เบติส

👉 นักเตะเข้า

วิลเลี่ยน โฆเซ่ (เรอัล โซเซียดัด), หลุยส์ เฮนริเก้ (ฟลูมิเนเซ่), หลุยส์ เฟลิเป้ (ลาซิโอ), โลเรน โมรอน (เอสปันญ่อล), ดานี่ มาร์ติน (มาลาก้า), โรเบอร์ กอนซาเลซ (ลาส พัลมาส)

👉 นักเตะออก

คริสเตียน เตลโล่ (ลอสแองเจลิส เอฟซี), โจเอล โรเบิลส์ (ลีดส์ ยูไนเต็ด), มาร์ค บาร์ตร้า (แทร็บซอนสปอร์), เฮคเตอร์ เบเยริน (อาร์เซน่อล), กิเก้ เฮร์โมโซ่ (หมดสัญญา)

 กาดิซ

👉 นักเตะเข้า

เอแวร์ มาบิล (มิดทิลแลนด์), บิคตอร์ ชูสต์ (เรอัล มาดริด, ยืมตัว), โฆเซบา ซัลดูอา (เรอัล โซเซียดัด), อันโตนิโอ บลังโก้ (เรอัล มาดริด, ยืมตัว), เตโอ บงกองด้า (เกงค์), ไบรอัน โอคัมโป (นาซิอองนาล), ฆอน อันเดร การิโด้ (มิรันเดส), อัลบาโร่ กิเมเนซ (เรอัล ซาราโกซ่า)

👉 นักเตะออก

รูเบน อัลการาซ (เรอัล บายาโดลิด, ยืมตัว), มิลูติน ออสมายิช (วิเซล่า), อัลบาโร่ ฆิเมเนซ (ลาส พัลมาส), ซัลบี้ ซานเชซ (ราโย บาเยกาโน่), เยนส์ จอนส์สัน (เออีเค เอเธนส์), วาราซดัด ฮาโรยาน (อนอร์โธซิส), มาร์ติน กัลเดร่อน (เซลต้า บีโก้, ยืมตัว), อัลแบร์โต้ เปเรอา (กรานาด้า), ฆอร์เก้ ปอมโบ (ราซิ่ง ซานตานเดร์), อุสซามา อิดริสซี่ (เซบีย่า), เฟเด้ ซาน อีเมเตริโอ (เรอัล บายาโดลิด), ฟลอริน อันโดเน่ (ไบรท์ตัน), นาโน เมซ่า (หมดสัญญา)

 เซลต้า บีโก้

👉 นักเตะเข้า

วิลเลียต สเวดเบิร์ก (ฮัมมาร์บี้), ออสการ์ โรดริเกซ (เซบีย่า, ยืมตัว), ลูก้า เด ลา ตอร์เร่ (เฮอร์ราเคิลส์), อูไน นูเนซ (แอธเลติก บิลเบา, ยืมตัว), ออสการ์ มิงเกซ่า (บาร์เซโลน่า), ออกุสติน มาร์เชซิน (ปอร์โต้), กอนซาโล่ ปาเชนเซีย (ไอน์ทรัค แฟรงค์เฟิร์ต), การ์เลส เปเรซ (โรม่า, ยืมตัว), มาร์ติน กัลเดร่อน (กาดิซ, ยืมตัว), เยอร์เก้น สตรานด์ ลาร์เซ่น (โกรนิงเก้น), อิวาน บิลลาร์ (เลกาเนส)

👉 นักเตะออก

เนสตอร์ อเราโฆ่ (คลับ อเมริกา), โนลิโต้ (อิบิซ่า), เอ็มเร่ มัวร์ (คารากุมรุค), โฆเซ่ ฟอนตัน (โก อเฮด อีเกิลส์, ยืมตัว), โอเกย์ โยกุสลู (เวสต์บรอมวิช อัลเบี้ยน), กาเบรียล เฟอร์นานเดซ (ฆูอาเรซ, ยืมตัว), บราอิส เมนเดซ (เรอัล โซเซียดัด), ฆูเลน โลเบเต้ (อาร์เคซี วาลไวจ์ค), ซานติ มิน่า (อัล ชาบาบ, ยืมตัว), มิเกล เบอีซ่า (ริโอ อาฟ, ยืมตัว), เซร์คิโอ การ์ไรร่า (บียาร์เรอัล), ติอาโก้ กัลอาร์โด้ (อินเตอร์นาซิอองนาล), มัทธิอัส ดิตูโร่ (ยูนิเวอร์ซิดัด คาโตลิก้า), เจสัน มูริลโล่ (ซามพ์โดเรีย)

 เอลเช่

👉 นักเตะเข้า

เอเซเกล ปอนเซ่ (สปาร์ตัก มอสโก), การ์ลอส เคิร์ก (เลบันเต้), โรเจอร์ มาร์ตี้ (เลบันเต้), อเล็กซ์ กอลลาโด้ (บาร์เซโลน่า, ยืมตัว), ปอล ลิโรล่า (โอลิมปิก มาร์กเซย, ยืมตัว), โดมิงกอส กีน่า (วัตฟอร์ด, ยืมตัว), เฟเดริโก้ เฟอร์นานเดซ (นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด), นิโคลัส เมอร์เกา (ซาน ลอเรนโซ่), อักเซล เวอร์เนอร์ (อาร์เซน่อล ซารานดี้)

👉 นักเตะออก

กุยโด การ์ริลโย่ (เหอหนาน), อิวาน มาโกเน่ (อินดิเพนเดียนเต้), ปาโบล ปิอัตติ (เอสตูเดียนเตส), กิเก้ กาซิลย่า (ลีดส์ ยูไนเต็ด), โยฮัน โมจิก้า (บียาร์เรอัล), มูรัด เอล เกซูอานี่ (บูอากอส), มานู ฆุสโต้ (ราซิ่ง คลับ), โฆเซม่า (เลกาเนส), กิเก้ เปเรซ (เรอัล บายาโดลิด), ลูคัส โอลาซ่า (เรอัล บายาโดลิด), โฆเซ่ ซาลินาส (มิรันเดส), อันโตนิโอ บาร์รากัน (หมดสัญญา)

 เอสปันญ่อล

👉 นักเตะเข้า

ไบรอัน โอลิแวน (เรอัล มายอร์ก้า), โฆเซลู (อลาเบส), วินิซิอุส ซูซ่า (ลอมเมล, ยืมตัว), เบนจามิน เลกอมเต้ (โมนาโก, ยืมตัว), เอดู เอ็กซ์โปซิโต้ (เออิบาร์), ดานี่ โกเมซ (เลบันเต้), โฆเซ่ การ์ลอส ลาโซ่ (อัลเมเรีย), อัลบาโร่ เฟอร์นานเดซ (อูเอสก้า, ยืมตัว), มาร์ติน เบรธเวท (บาร์เซโลน่า), ปอล โลซาโน่ (กิโรน่า), ฮวน คามิโล่ บีเซอร์ร่า (กิมนาสติก)

👉 นักเตะออก

ดิเอโก้ โลเปซ (ราโย บาเยกาโน่), ดาบิด โลเปซ (กิโรน่า), ฟราน เมริด้า (เทียนจิน), โอเอียร์ โอลาซาบัล (ปาฟอส), บิคตอร์ โกเมซ (บราก้า, ยืมตัว), ออสการ์ เมเลนโด้ (กรานาด้า), มิเกลอน (เรอัล โอเบียโด้, ยืมตัว), อู๋ เหล่ย (เซี่ยงไฮ้ พอร์ท), มัทธิอัส วาร์กาส (เซี่ยงไฮ้ พอร์ท), ทอนนี่ วิลเฮน่า (ซาแลร์นิตาน่า, ยืมตัว), โฆแฟร์ การ์เรราส (มิรันเดส, ยืมตัว), อาเดรียน เอ็มบาร์บา (อัลเมเรีย), ลอนดรี้ ดิมาต้า (เอ็นอีซี ไนจ์เมเก้น, ยืมตัว), ยังเกล เอร์เรร่า (แมนเชสเตอร์ ซิตี้), มานู มอร์ลาเนส (บียาร์เรอัล), ลอเรน โมรอน (เรอัล เบติส), อัลบาโร่ บาดิลโล่ (เออิบาร์), ดิดัค บิล่า (หมดสัญญา) 

 เกตาเฟ่

👉 นักเตะเข้า

ปอร์ตู (เรอัล โซเซียดัด, ยืมตัว), ไฆเม่ ซีโอเน่ (อูเอสก้า), โดมิงกอส ดูอาเต้ (กรานาด้า), หลุยส์ มิลย่า (กรานาด้า), ฟาบริซิโอ อันจิเลรี่ (ริเวอร์เพลท), บอร์ฆา มาโยรัล (เรอัล มาดริด), กิโก้ กาซิลย่า (ลีดส์ ยูไนเต็ด), โอมาร์ อัลเดอร์เต้ (แฮร์ธ่า เบอร์ลิน, ยืมตัว), ฆวนมี่ ลาตาซ่า (เรอัล มาดริด, ยืมตัว), มูเนียร์ เอล ฮัดดาดี้ (เซบีย่า)

👉 นักเตะออก

มัทธิอัส โอลิเวียร่า (นาโปลี), อูโก้ ดูโร่ (บาเลนเซีย), ดาริโอ โปเบด้า (อิบิซ่า, ยืมตัว), แจ็ค ฮาร์เปอร์ (เออร์กูเลส, ยืมตัว), เชม่า โรดริเกซ (เออิบาร์), อีริค กาบาโก้ (กรานาด้า, ยืมตัว), อิกนาซี่ มิเกล (กรานาด้า, ยืมตัว), มิเกล รูบิโอ (กรานาด้า, ยืมตัว), โจนาธาน ซิลบา (กรานาด้า, ยืมตัว), ซาบิต อับดุลลาย (ปอนแฟร์ราดิน่า, ยืมตัว), ยาค็อบ ยังโต้ (สปาร์ต้า ปราก), กอนซาโล่ บิลลาร์ (โรม่า), ออสการ์ โรดริเกซ (เซบีย่า), บิโตโล่ (แอตเลติโก้ มาดริด), ฟลอเรนติโน่ (เบนฟิกา), ฆอร์เก้ กูเอนก้า (บียาร์เรอัล), ซานโดร รามิเรซ (อูเอสก้า), โอเกย์ โยกุสลู (เซลต้า บีโก้)

 กิโรน่า

👉 นักเตะเข้า

อิวาน มาร์ติน (บียาร์เรอัล, ยืมตัว), ดาบิด โลเปซ (เอสปันญ่อล), ยาน คูโต้ (แมนเชสเตอร์ ซิตี้, ยืมตัว), ทาตี้ กาสเตลลานอส (นิวยอร์ค ซิตี้, ยืมตัว), โรดริโก้ ริเกลเม่ (แอตเลติโก้ มาดริด, ยืมตัว), ยานเกล เอร์เรร่า (แมนเชสเตอร์ ซิตี้, ยืมตัว), ไรเนียร์ (เรอัล มาดริด, ยืมตัว), ฆาบี้ เอร์นานเดซ (เลกาเนส, ยืมตัว), โทนี่ ฟูอิดิอาส (เรอัล มาดริด), ออริออล โรเมอู (เซาธ์แธมป์ตัน), เปาโล กาซซานิก้า (ฟูแล่ม, ยืมตัว), มานู บัลเยโร่ (บาเลนเซีย), โทนี่ บีย่า (เรอัล บายาโดลิด)

👉 นักเตะออก

ไฆโร อิซเควียโด้ (การ์ตาเยน่า), อเล็กซ์ กัลลาร์ (มาลาก้า), โจนาธาน ดูบาสซิน (อัลบาเซเต้), อเล็กซ์ ซาล่า (ซาบาเดลล์), นาฮูเอล บัสโตส (แมนเชสเตอร์ ซิตี้), ปาโบล โมเรโน่ (แมนเชสเตอร์ ซิตี้), ดาริโอ ซาร์เมียนโต้ (แมนเชสเตอร์ ซิตี้), ปอล โลซาโน่ (เอสปันญ่อล), อเล็กซ์ บาเอน่า (บียาร์เรอัล), ฆอร์ดี้ คัลลาเบร่า (ลูโก้), ดาบิด ฆังก้า (หมดสัญญา), บิคตอร์ ซานเชซ (หมดสัญญา)

 เรอัล มายอร์ก้า

👉 นักเตะเข้า

โฆเซ่ โกเปเต้ (ปอนเฟร์ราดิน่า), มิเกล แอลลาเบรส (แอนดรากซ์), ติโน่ กาเดแวร์ (โอลิมปิก ลียง, ยืมตัว), มาติย่า นาสตาซิช (ฟิออเรนติน่า), ลาโก้ จูเนียร์ (อูเอสก้า), ไบรอัน คูเฟร (มาลาก้า)

👉 นักเตะออก

มาโนโล ไรน่า (มาลาก้า), ซัลบา เซบีย่า (อลาเบส), ไบรอัน โอลิแวน (เอสปันญ่อล), อเล็กซ์ เฟบาส (มาลาก้า), โฆอัน ซาสเตร (พีเอโอเค ซาโลนิก้า), อเล็กซานเดอร์ เซดลาร์ (อลาเบส), ปาโบล มาฟเฟว (สตุ๊ตการ์ท), ฆอร์ดี้ เอ็มบูล่า (ราซิ่ง ซานตานเดร์, ยืมตัว), อเล็กซ์ อเลเกรีย (ฟูเอนลาบราด้า, ยืมตัว), เวดัต มูริกี (ลาซิโอ), เซร์คิโอ ริโก้ (ปารีส แซงต์-แชร์กแมง), ทาเคฟุสะ คุโบะ (เรอัล มาดริด), แฟร์ นิโน่ (บียาร์เรอัล), โรดริโก้ บัตตาเกลีย (สปอร์ติ้ง ลิสบอน)

 โอซาซูน่า

👉 นักเตะเข้า

รูเบน ปีน่า (บียาร์เรอัล), ไอตอร์ เฟอร์นันเดซ (เลบันเต้), โมอิ โกเมซ (บียาร์เรอัล), เซร์คิโอ โมเรโน่ (ราโย บาเยเกาโน่, ยืมตัว), อับเดสซาหมัด เอซซัลซูลี่ (บาร์เซโลน่า, ยืมตัว), กิเก้ ซาเบริโอ (ปอนเฟร์ราดิน่า), ฆอร์เก้ เอร์รันโด้ (ลอโกรเนส), อิวาน มาร์ติเนซ (กาสเตลย่อน)

👉 นักเตะออก

มานู ซานเชซ (แอตเลติโก มาดริด, ยืมตัว), อันโตนิโอ โอเตกี (บาดาฆอซ), โอเอียร์ ซานฆัวโฆ่ (เออีเค ลาร์นาก้า), โจนัส รามัลโฮ (มาลาก้า), มาร์ค การ์โดน่า (ลาส พัลมาส), โรเบอร์ อิบาเนซ (เลบันเต้), เฆซุส อาเรโซ่ (บูอากอส, ยืมตัว), ฆาบี้ มาร์ติเนซ (อัลบาเซเต้, ยืมตัว), อินนิโก้ เปเรซ (เลิกเล่น)

 ราโย บาเยกาโน่

👉 นักเตะเข้า

ซัลบี้ ซานเชซ (กาดิซ), ดิเอโก้ โลเปซ (เอสปันญ่อล), ฟลอเรียง เลชูเน่ (อลาเบส, ยืมตัว), เซร์คิโอ กาเมลโล่ (แอตเลติโก้ มาดริด, ยืมตัว), เป๊ป ชาบาร์เรีย (เรอัล ซาราโกซ่า), อบิดัล มูมิน (วิคตอเรีย กิมาไรส์), โฆเซ่ โปโซ่ (อัล-อาห์ลี), มิเกล อังเคล มอร์โร่ (ฟูเอนลาบราด้า), อันเดรส มาร์ติน (เตเนริเฟ่), ลาสส์ บังกูร่า (พีเอเอส ลาเมีย)

👉 นักเตะออก

มาร์ติน ปาสคาล (อิบิซ่า, ยืมตัว), ฆอร์เก้ โมเรโน่ (กอร์โดบา, ยืมตัว), โฆนี่ มอนเทียล (เลบันเต้, ยืมตัว), เซร์คิโอ โมเรโน่ (โอซาซูน่า, ยืมตัว), ลูก้า ซีดาน (เออิบาร์), เซร์กี้ กวาร์ดิโอล่า (เรอัล บายาโดลิด), นิโกล่า มาราส (อัลเมเรีย), มามาดูร์ ซิลล่า (อลาเบส), มาร์ติน เมอร์เกลันซ์ (เรอัล โซเซียดัด), คาวิง โรดริเกส (เรอัล โซเซียดัด)

 เรอัล มาดริด

👉 นักเตะเข้า

ออเรเลียง ชูอาเมนี่ (โมนาโก), อันโตนิโอ รูดิเกอร์ (เชลซี), อัลบาโร่ ออดริโอโซล่า (ฟิออเรนติน่า)

👉 นักเตะออก

คาเซมิโร่ (แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด), แกเร็ธ เบล (ลอสแองเจลิส เอฟซี), มาร์เชโล่ (โอลิมเปียกอส), ลูก้า โยวิช (ฟิออเรนติน่า), อิสโก้ (เซบีย่า), บิคตอร์ ชูสต์ (กาดิซ), ทาเคฟุสะ คุโบะ (เรอัล โซเซียดัด), บอร์ฆา มาโยรัล (เกตาเฟ่), โทนี่ ฟูอิดิอาส (กิโรน่า), อันโตนิโอ บลังโก้ (กาดิซ, ยืมตัว), ไรเนียร์ (กิโรน่า, ยืมตัว)

 เรอัล โซเซียดัด

👉 นักเตะเข้า

โมฮัมเหม็ด-อาลี โช (อองเชร์), บราอิส เมนเดส (เซลต้า บีโก้), ทาเคฟุสะ คุโบะ (เรอัล มาดริด), อูมาร์ ซาดิค (อัลเมเรีย), มาร์ติน เมอร์เกลันซ์ (ราโย บาเยกาโน่)

👉 นักเตะออก

เควิน โรดริเกส (อดาน่า เดมิสปอร์), วิลเลียน โฆเซ่ (เรอัล เบติส), ลูก้า ซังกาลี (การ์ตาเยน่า), ปอร์ตู (เกตาเฟ่, ยืมตัว), โรแบร์โต้ โลเปซ (มิรันเดส, ยืมตัว), อัตนาน ยานาไซ (เซบีย่า), อเล็กซานเดอร์ อิซัค (นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด), โมดิโบ แซกนาน (อูเทร็คท์, ยืมตัว), โฆเซบา ซัลดูอา (กาดิซ), ฆอน กูริดี้ (อลาเบส), ฆูเลน โลเบเต้ (เซลต้า บีโก้), แมทธิว ไรอัน (โคเปนเฮเก้น), ฆอน เบาติสต้า (เออิบาร์), อเล็กซานเดอร์ โซลอธ (แอร์เบ ไลป์ซิก, ยืมตัว), ราฟินญ่า (ปารีส แซงต์-แชร์กแมง), นาโช่ มอนเรอัล (เลิกเล่น)

 เซบีย่า

👉 นักเตะเข้า

มาร์เกา (กาลาตาซาราย), อเล็กซ์ เตลเลส (แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, ยืมตัว), อิสโก้ (เรอัล มาดริด), ตุนกาย นิอันซู (บาเยิร์น มิวนิค), อัตนาน ยานาไซ (เรอัล โซเซียดัด), โดลเบิร์ก (นิซ่า, ยืมตัว)

👉 นักเตะออก

ดิเอโก้ คาร์ลอส (แอสตัน วิลล่า), อเลฮานโดร โปโซ่ (อัลเมเรีย, ยืมตัว), ลุค เดอ ยอง (พีเอสวี ไอนด์โฮเฟ่น), ออสการ์ โรดริเกซ (เซลต้า บีโก้, ยืมตัว), ลุควิค ออกัสตินสัน (แอสตัน วิลล่า, ยืมตัว), อุสซามา อิดริสซี่ (เฟเนยูร์ด, ยืมตัว), ฌูลส์ กุนเด้ (บาร์เซโลน่า), อิวาน โรเมโร่ (เตเนริเฟ่, ยืมตัว), มูเนียร์ เอล-ฮัดดาดี้ (เกตาเฟ่), ลูคัส โอคัมโปส (อาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม, ยืมตัว), โรนี่ โลเปส (ทรัวส์), ฆวน แบร์โรกัล (เออิบาร์), อองโตนี่ มาร์กซิยาล (แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด)

 บาเลนเซีย

👉 นักเตะเข้า

ซามู กาสติลเยโฆ่ (เอซี มิลาน), จัสติน ไคลเวิร์ต (โรม่า), อังเดร อัลเมด้า (วิคตอเรีย กิมาไรส์), นิโก้ กอนซาเลซ (บาร์เซโลน่า, ยืมตัว), เซงค์ ออซกาคาร์ (โอลิมปิก ลียง, ยืมตัว), คริสเตียน ริเบโร่ (อัลกอร์กอน), บิเซนเต้ เอสเกวโด้ (กาสติเยล่อน)

👉 นักเตะออก

อูโก้ ดูโร่ (เกตาเฟ่), มานู บัลเยโร่ (กิโรน่า), อิลัช มูริบา (แอร์เบ ไลป์ซิก, ยืมตัว), เดนิส เชรีเชฟ (เวเนเซีย), ฆอร์เก้ ซานซ์ (เลกาเนส, ยืมตัว), กอนซาโล่ กูเอเดส (วูล์ฟแฮมป์ตัน วันเดอเรอร์ส), ยาสเปอร์ ซิลเลสเซ่น (เอ็นอีซี ไนจ์เมเก้น), โกบา กอยน์เดรดี้ (เรอัล โอเบียโด้, ยืมตัว), มักซี่ โกเมซ (แทร็บซอนสปอร์), คาร์ลอส โซแลร์ (ปารีส แซงต์-แชร์กแมง), อูลอส ราซิช (บราก้า), มานู บัลเยโร่ (กิโรน่า), โอมาร์ เอแดร์ต (แฮร์ธ่า เบอร์ลิน), เฮลเดอร์ คอสต้า (ลีดส์ ยูไนเต็ด), ไบรอัน จิล (ท็อตแน่ม ฮอทสเปอร์), อิลัช มูริบา (แอร์เบ ไลป์ซิก)

 เรอัล บายาโดลิด

👉 นักเตะเข้า

มิกาเอล มัลซ่า (เลบันเต้), เซร์จิโอ อาเซนโฆ่ (บียาร์เรอัล), ฆวนโฆ่ นาร์วาเรซ (เรอัล ซาราโกซ่า), เซร์คิโอ เอสกูเดโร่ (กรานาด้า), เคเนดี้ (เชลซี), ซูเอีย เฟดดัล (สปอร์ติ้ง ลิสบอน), กิเก้ เปเรซ (เอลเช่), ลูคัส โอลาซ่า (เอลเช่), เซร์กี้ กวาร์ดิโอล่า (ราโย บาเยกาโน่)

👉 นักเตะออก

รูเบน อัลการาซ (กาดิซ), เฟเด้ ซาน อีเมเตริโอ (กาดิซ), ดิเอโก้ อลันเด้ (เอฟซี อันดอร์รา), โฆเซ่ อันโตนิโอ คาโร่ (บูร์กอส), เซกู กัสซาม่า (ราซิ่ง ซานตานเดร์), วิคเตอร์ การ์เซีย (อัลกอร์กอน), อิวาน ซานเชซ (เบอร์มิงแฮม ซิตี้, ยืมตัว), มอนชู (กรานาด้า, ยืมตัว), กอนซาโล่ พลาต้า (สปอร์ติ้ง ลิสบอน, ยืมตัว), ซาอิดี้ ยานโก้ (โบคุ่ม, ยืมตัว), กิโก้ โอลิวาส (การ์ตาเยน่า), ปาโบล เอเวียส (มาลาก้า), ราอูล การ์เนโร่ (เดปอร์ติโว ลา คอรุนญ่า, ยืมตัว), เปาโล วิตอร์ (ริโอ อาฟ, ยืมตัว), โรแบร์โต้ วิคตอร์ การ์เซีย (อัลกอร์กอน), วัลโด้ รูบิโอ (เตเนริเฟ่), สตีเว่น พลาซ่า (นิวยอร์ก เรด บูลส์), อูโก้ บัลเลโฆ่ (ปอนเฟร์ราดิน่า, ยืมตัว), โทนี่ บีย่า (กิโรน่า), โฆเซม่า (เอลเช่), มอร์กิโล่ (แอธเลติก บิลเบา), คริสโต้ กอนซาเลซ (อูดิเนเซ่), นาโช่ (หมดสัญญา)

 บียาร์เรอัล

👉 นักเตะเข้า

โฆเซ่ หลุยส์ โมราเลส (เลบันเต้), เปเป้ เรน่า (ลาซิโอ), กิโก้ เฟเมเนีย (วัตฟอร์ด), มามาดู เอ็มบัคเก้ (ลอสแองเจลิส เอฟซี), โยฮันน์ โมจิก้า (เอลเช่), ฆอร์เก้ คูเอ็นก้า (เกตาเฟ่), มานู โมราเนส (เอสปันญ่อล), แฟร์ นิโน่ (เรอัล มายอร์ก้า), อเล็กซ์ บาเอน่า (กิโรน่า)

👉 นักเตะออก

รูเบน ปีน่า (โอซาซูน่า), เซร์จิโอ อาเซนโฆ่ (เรอัล บายาโดลิด), ซาบี้ ควินติลย่า (ซานต้า คลาร่า), โมอิ โกเมซ (โอซาซูน่า), มาริโอ กาซปาร์ (วัตฟอร์ด), เพอร์วิส เอสตูพินัน (ไบรท์ตัน), บูลาย ดิอา (ซาแลร์นิตาน่า), ปาโก้ อัลคาเซร์ (ชาร์จาห์ เอฟซี), บิเซนเต้ อิบอร์ร่า (เลบันเต้, ยืมตัว), อิวาน มาร์ติน (กิโรน่า, ยืมตัว), แซร์จ ออริเย่ร์ (หมดสัญญา), โจวานนี่ โล เซลโซ่ (ท็อตแน่ม ฮอทสเปอร์, ยืมตัว)

อ้างอิง : https://www.transfermarkt.com/laliga/transfers/wettbewerb/ES1

Categories
Football Business

LaLiga Pass Show Thailand : “เรือธง” จุดขายของลีกสเปนในประเทศไทย

ลาลีกา ซีซั่นใหม่ 2022/23 ในประเทศไทยมีสิ่งใหม่เป็น “เรือธง” (Flagship Product) จุดขายของลีกสเปนควบคู่ไปกับเกมการชิงชัยในสนาม นั่นคือ “LaLaiga Pass แอพพลิเคชั่น” ไว้สำหรับเกาะติดการถ่ายทอดสดเกมฟุตบอลลีกสเปนทุกคู่ในทุกสัปดาห์ และรายการสอดแทรกอีกมากมาย โดยมีพากษ์ไทยในแมตช์สำคัญ และรายการประจำทุกสัปดาห์ภาษาไทย LaLiga Pass Show Thailand ดำเนินรายการโดยกูรูลูกหนังสเปนที่ดีที่สุดสำหรับแฟน ๆ ลูกหนังกระทิงดุในบ้านเราโดยเฉพาะ

ทาง “ไข่มุกดำ” หรืออีกชื่อในนาม “KMD” รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับการคัดเลือกจาก “ลาลีกา” ให้เป็นผู้ผลิตรายการ LaLigaPass Show Thailand ตลอดฤดูกาลนี้

รายการจะออกอากาศทุกวันศุกร์ เนื้อหาจะว่าด้วยการรีวิว และพรีวิวเกมการแข่งขัน โดยคัดประเด็นลึก ๆ สวย ๆ พร้อมเล่าข่าวที่เลือกสรรมาเฉพาะแฟนบอลสเปน แต่เป็นรสนิยมไทย ๆ

กูรูผู้ดำเนินรายการนำโดย เจมส์ ลาลีกา, ขวัญ ลามาเซีย, คุณลูกชิ้น จากเพจ เสพติดบอลสเปน, ทศพล รัตนะ, มายด์ จากเพจ FC Barcelona Thailand Fanclub, ทีมงาน SoccerSuck ฯลฯ สลับกันมานั่งพูดคุยเกี่ยวกับฟุตบอลสเปนแบบอัดแน่น เจาะลึกเบื้องหน้าเบื้องหลังกันแบบแตกต่าง

นอกจากนี้แอพ LaLiga Pass ยังถ่ายทอดสดการแข่งขันทั้งหมดของ LaLiga Smartbank, สารคดี, คลิปและอีกมากมาย ฟรี! และกับค่าบริการ แพ็กเกจรายเดือนเพียง 99 บาท หรือ แพ็กเกจรายปี 799 บาท สำหรับชมสด หรือย้อนหลังแมตช์การแข่งขัน เรียกได้ว่าคุ้มค่ามาก ๆ สำหรับแฟนบอลสเปน

( ข้อมูลเพิ่มเติม LaLiga Pass: https://khaimukdam.com/football-business/laliga-pass/ )

ฝากติดตามชมรายการ LaLiga Pass Show ได้ทุกสัปดาห์ ทางแอพพลิเคชั่น “LaLiga Pass” นะคะ

👉 รับชมตัวอย่าง EP.4 ค่ะ : https://bit.ly/3Qg6B6s

🌐 สุดท้ายดาวน์โหลดเลยรับชมความสนุกที่นี่ได้เลย ฟรี! : https://bit.ly/3KZimxr

📝 ภาวินีย์ สูญสิ้นภัย (แนน)

Categories
Football Business

ตลาดนักเตะซัมเมอร์ 2022 ที่บ้าคลั่งที่สุดในประวัติศาสตร์ลูกหนังเมืองผู้ดี

ตลาดซื้อขายนักเตะช่วงซัมเมอร์ปี 2022 ปิดทำการลงเรียบร้อย เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา สโมสรในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2022/23 ได้มีการเสริมผู้เล่นใหม่เข้ามาครบทั้ง 20 ทีม

จำนวนเงินในการซื้อขายในตลาดนักเตะรอบนี้ ทุกสโมสรในลีกสูงสุดอังกฤษ ใช้จ่ายรวมกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ถึง 1.9 พันล้านปอนด์ ทุบสถิติเดิมในปี 2017 ที่ทำไว้ 1.4 พันล้านปอนด์

SoccerSuck x ไข่มุกดำ จะมาสรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น รวมถึงตัวเลข สถิติที่น่าสนใจ ตลอดช่วงเวลาการซื้อขายของตลาดนักเตะซัมเมอร์ 2022 มาให้ฟังกันครับ

ภาพรวมของการซื้อขาย

การซื้อขายนักเตะในตลาดช่วงซัมเมอร์ 2022 เรียกได้ว่าคึกคักที่สุดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มา 2 ปี หลายสโมสรได้จ่ายเงินซื้อนักเตะทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์

เริ่มจากเชลซี ในยุคของท็อดด์ โบห์ลี่ เจ้าของทีมคนใหม่ ประเดิมการเข้ามาบริหารสโมสร ด้วยการจ่ายถึง 251 ล้านปอนด์ แลกกับนักเตะใหม่ 8 คน กลายเป็นทีมแชมป์ใช้เงินมากสุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก

ดีลใหญ่ ๆ ของเชลซี ยกตัวอย่างเช่น ราฮีม สเตอร์ริ่ง (จาก แมนเชสเตอร์ ซิตี้), มาร์ค คูคูเรลล่า (จาก ไบรท์ตัน), เวสลี่ย์ โฟฟาน่า (จาก เลสเตอร์ ซิตี้), คาลิดู คูลิบาลี่ (จาก นาโปลี), ปิแอร์-เอเมอริค โอบาเมยอง (จาก บาร์เซโลน่า)

ขอบคุณภาพ : https://www.facebook.com/ChelseaFC

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ของเอริค เทน ฮาก กุนซือคนใหม่ ก็จ่ายหนักเป็นสถิติสูงสุดของสโมสร นักเตะอย่างลิซานโดร มาติเนซ, ไทเรลล์ มาลาเซีย, คาเซมิโร่, และแอนโธนี่ 4 คนนี้ มีค่าตัวรวมกัน 214 ล้านปอนด์

แม้กระทั่งน็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ ทีมน้องใหม่ที่คัมแบ็กสู่พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกในรอบ 23 ปี ใช้เงิน 145 ล้านปอนด์ แลกกับนักเตะใหม่ถึง 22 คน ทุบสถิติทีมที่เซ็นสัญญานักเตะจำนวนมากที่สุดในพรีเมียร์ลีก

สโมสรที่ใช้เงินซื้อนักเตะเกิน 100 ล้านปอนด์ นอกจาก 3 ทีมที่กล่าวมาแล้ว ยังมีเวสต์แฮม ยูไนเต็ด, ท็อตแน่ม ฮอทสเปอร์, แมนเชสเตอร์ ซิตี้, นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด, อาร์เซน่อล และวูล์ฟแฮมตัน วันเดอเรอร์ส

นอกจากนี้ ยังมีบรรดากองหน้าที่ย้ายทีมด้วยค่าตัวมหาศาล ทั้งดาร์วิน นูนเญซ (ไป ลิเวอร์พูล), เออร์ลิง ฮาลันด์ (ไป แมนฯ ซิตี้), กาเบรียล เชซุส (ไป อาร์เซน่อล), จานลูก้า สคามัคก้า (ไป เวสต์แฮม), อเล็กซานเดอร์ อิซัค (ไป นิวคาสเซิล)

ฝุ่นตลบในวันตลาดวาย

ถ้านับเฉพาะการซื้อขายที่เกิดขึ้นในวันสุดท้ายของตลาดนักเตะรอบนี้ คือวันที่ 1 กันยายน 2022 จะพบว่ามีดีลที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว โดยมี 14 จาก 20 สโมสรพรีเมียร์ลีก ที่มีการปิดดีลในวันตลาดวาย

ขอบคุณภาพ : https://www.facebook.com/mancity

ยกตัวอย่างเช่น แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ดึงตัวมานูเอล อาคานจี กองหลังทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ จากโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ เซ็นสัญญา 5 ปี และจะได้ร่วมงานกับเออร์ลิง ฮาลันด์ อดีตเพื่อนร่วมทีม “เสือเหลือง” อีกครั้ง

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เร่งเครื่องปิดดีล 2 นักเตะในวันสุดท้าย คือ แอนโธนี่ ปีกทีมชาติบราซิล จากอาแจกซ์ อัมสเตอร์ดัม 82 ล้านปอนด์ และยืมตัวมาร์ติน ดูบราฟก้า ผู้รักษาประตูจากนิวคาสเซิ่ล จนจบฤดูกาลนี้

เชลซี ดึง 2 นักเตะเข้ามาในวันสุดท้าย ทั้งปิแอร์-เอเมอริค โอบาเมยอง จากบาร์เซโลน่า เซ็นสัญญา 2 ปี และเดนิส ซาคาเรีย มิดฟิลด์ทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์จากยูเวนตุส ด้วยสัญญายืมตัวเป็นเวลา 1 ฤดูกาล

ลิเวอร์พูล ที่ตามหานักเตะเพื่อเข้ามาแก้ปัญหาในแดนกลาง ที่สุดแล้วได้ตัวอาร์ตูร์ เมโล่ มิดฟิลด์ทีมชาติบราซิลจากยูเวนตุส ด้วยสัญญายืมตัว 1 ฤดูกาล และมีออพชั่นซื้อขาดที่ 37.5 ล้านปอนด์

เอฟเวอร์ตัน ดึงตัวอิดริสซ่า เกย์ กองกลางทีมชาติเซเนกัล จากปารีส แซงต์-แชร์กแมง กลับถิ่นกูดิสัน พาร์คอีกครั้ง เซ็นสัญญา 2 ปี และเจมส์ การ์เนอร์ จากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เซ็นสัญญา 4 ปี

เลสเตอร์ ซิตี้ ที่เพิ่งขยับตัวจ่ายเงินซื้อนักเตะในตลาดรอบนี้เป็นทีมสุดท้าย ซึ่งดีลแรกของพวกเขา ก็เกิดขึ้นในวันสุดท้าย คือ เวาท์ ฟาส เซ็นเตอร์แบ็กชาวเบลเยียม จากแรงส์ ในลีกฝรั่งเศส เซ็นสัญญา 5 ปี

ส่วนดีลอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ ที่ปิดดีลโลอิก บาด จากแรนส์ ในฝรั่งเศส ด้วยสัญญายืมตัว รวมถึงฟูแล่ม ที่ปิดดีลวิลเลี่ยน อดีตดาวเตะเชลซี และอาร์เซน่อล 

ลีกลูกหนังที่บ้าคลั่งที่สุด

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ คือลีกที่ใช้เงินมากที่สุดในตลาดซื้อขายนักเตะช่วงซัมเมอร์ ปี 2022 เมื่อเทียบกับ 5 ลีกใหญ่ยุโรป นอกจากนี้ ยังเป็นตัวเลขที่ทุบสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์ลูกหนังเมืองผู้ดีอีกด้วย

ตัวเลข 1.9 พันล้านปอนด์ ในตลาดรอบนี้ ทำลายสถิติเดิมจากช่วงเดียวกันเมื่อปี 2017 ที่มียอดใช้จ่าย 1.4 พันล้านปอนด์ และเพิ่มขึ้นจากตลาดนักเตะซัมเมอร์ปีที่แล้ว (2021) ถึง 67 เปอร์เซ็นต์ 

จากข้อมูลของดีลอยด์ (Deloitte) บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินระดับโลก ระบุว่า ยอดใช้จ่ายเฉพาะซัมเมอร์ปีนี้ สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้นจากสถิติเดิมของยอดรวม 2 รอบตลาด เมื่อฤดูกาล 2017/18 คิดเป็น 3 เปอร์เซ็นต์

ข้อมูลสำคัญของ Deloitte จากตลาดซื้อขายนักเตะซัมเมอร์ปี 2022 มีดังต่อไปนี้

– ใน 5 ลีกใหญ่ของยุโรป (อังกฤษ, เยอรมนี, อิตาลี, สเปน, ฝรั่งเศส) ใช้จ่ายรวมกัน 3.88 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้น 52 เปอร์เซ็นต์ จากซัมเมอร์ปีที่แล้ว

– สโมสรพรีเมียร์ลีก ถือสัดส่วนถึง 49 เปอร์เซ็นต์ มากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงซัมเมอร์ปี 2008 และมากกว่าเซเรีย อา ของอิตาลีถึง 3 เท่า (646 ล้านปอนด์)

– สโมสรพรีเมียร์ลีก เซ็นสัญญานักเตะ 169 คน มากกว่าช่วงเดียวกันของปี 2021 (148 คน) และปี 2020 (132 คน)

– ยอดใช้จ่ายในการซื้อนักเตะสุทธิ (ส่วนต่างระหว่างซื้อและขาย) ของพรีเมียร์ลีกซีซั่นนี้ ทะลุ 1 พันล้านปอนด์เป็นครั้งแรก

– นักเตะที่ย้ายทีมแบบมีค่าตัว มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 66 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับซัมเมอร์ปีที่แล้ว ที่มีสัดส่วน 45 เปอร์เซ็นต์

ทิม บริดจ์ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจการกีฬาของ Deloitte กล่าวว่า “การใช้จ่ายในตลาดซัมเมอร์ปีนี้ที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แสดงให้เห็นว่า ทีมในพรีเมียร์ลีกมีความมั่นใจอย่างมาก เนื่องจากมีรายได้กลับเข้ามามากขึ้นหลังช่วงโควิด”

“พวกเขายินดีที่จะใช้เงินเป็นจำนวนมาก เพื่อต่อสู้กับการแข่งขันที่สูงมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา อันเนื่องมาจากความกดดันที่สโมสรต่างๆ ได้กำหนดเป้าหมายที่ท้าทายมากขึ้น”

ไม่ว่านักเตะใหม่ที่เข้ามา จะมีค่าตัวมากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การทำผลงานที่น่าประทับใจ และพาทีมประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เพื่อให้คุ้มค่ากับเงินทุกปอนด์ที่ได้จ่ายไป

เรียบเรียง: จักรพันธ์ ภู่ทอง

อ้างอิง :

– https://www.bbc.com/sport/football/62758471

https://theathletic.com/3358933/2022/09/01/premier-league-transfer-news-summer-window/

https://www.premierleague.com/transfers/summer

– https://www.transfermarkt.com/premier-league/transfers/wettbewerb/GB1

https://www.sportingnews.com/uk/soccer/news/premier-league-transfer-spending-Haaland-Nunez-Richarlison-Jesus/l0rj2wd9arkzt7goqkkri6ps

Categories
Column

เอดินสัน คาวานี่ : ดาวยิงคนใหม่บาเลนเซีย กับ 5 เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้

เอดินสัน คาวานี่ หนึ่งในสุดยอดจอมถล่มประตูของวงการฟุตบอลในศตวรรษที่ 21 เคยผ่านการค้าแข้งกับสโมสรชื่อดังในลีกใหญ่ยุโรป ทั้งนาโปลี, ปารีส แซงต์-แชร์กแมง และแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

แต่หลังจากหมดสัญญากับ “ปิศาจแดง” ก็เป็นบาเลนเซีย ทีมยักษ์หลับแห่งลาลีกา สเปน ที่จัดการสอยกองหน้าจอมเก๋าอุรุกวัยรายนี้ มาเสริมเกมรุกในถิ่นเมสตาย่า แบบไม่มีค่าตัว เซ็นสัญญา 2 ปี

ดาวเตะวัย 35 ปี จะได้โอกาสโชว์ฝีเท้าบนเวทีลีกสูงสุดแดนกระทิงดุเป็นครั้งแรกในชีวิตกับ “โลส เช” และนี่คือ 5 เรื่องราวของเขา ที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน

คนบ้านเดียวกันกับ “ซัวเรซ”

เมืองซัลโต้ ประเทศอุรุกวัย ถือเป็นบ้านเกิดของ 2 สุดยอดกองหน้าในวงการฟุตบอล ทั้งเอดินสัน คาวานี่ และหลุยส์ ซัวเรซ อดีตดาวยิงลาลีกา ซึ่งทั้งคู่เกิดห่างกันเพียงแค่ 21 วัน หรือ 3 สัปดาห์เท่านั้น โดยวันเกิดของคาวานี่ คือ 14 กุมภาพันธ์ 1987 ส่วนวันเกิดของซัวเรซ คือ 24 มกราคม 1987

ขอบคุณภาพ https://www.facebook.com/EdiCavaniOfficial

เริ่มไว้ผมยาวตั้งแต่อายุ 15 ปี

เมื่อครั้งยังเป็นเด็ก คาวานี่มีผมที่สั้น เนื่องจากคุณแม่มักจะตัดผมให้เป็นประจำ แต่เมื่ออายุได้ 15 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ย้ายไปฝึกวิชาลูกหนังกับอคาเดมี่ของดานูบิโอ เอฟซี สโมสรในมอนเตวิเดโอ เมืองหลวงของอุรุกวัย เขาจึงเริ่มไว้ผมยาวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และเขาคงจะไม่กลับไปตัดผมสั้นอีกแล้ว

ได้รับฉายา “เอล มาทาดอร์”

คำว่า “เอล มาทาดอร์” เป็นภาษาสเปน หมายถึง “นักสู้วัวกระทิง” แต่คาวานี่ได้รับฉายานี้ ขณะที่เล่นอยู่กับปาแลร์โม ในอิตาลี เนื่องจากการจบสกอร์ที่เยือกเย็นของเขา ในฤดูกาล 2008/09 ทำได้ถึง 15 ประตู รวมทุกรายการ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เท่ากับซีซั่น 2009/10 ซีซั่นสุดท้ายของเขากับปาแลร์โม

200 ประตู ดาวซัลโวตลอดกาล “เปแอสเช”

หลังจากลงเล่นให้กับปาแลร์โม และนาโปลี ในระดับลีกสูงสุดของอิตาลีมา 7 ปี คาวานี่ก็ย้ายมาค้าแข้งกับปารีส แซงต์-แชร์กแมง ยักษ์ใหญ่แห่งฝรั่งเศส ทำได้ถึง 200 ประตู รวมทุกรายการ ตลอดการค้าแข้ง 7 ปี ก้าวขึ้นมาเป็นดาวยิงสูงสุดตลอดกาลในประวัติศาสตร์ของ “เปแอสเช” เป็นที่เรียบร้อย

ขอบคุณภาพ https://www.facebook.com/EdiCavaniOfficial

มักจะหาโอกาสไปใช้ชีวิตแบบชนบท

ในช่วงที่ฟุตบอลลีกยุโรปหยุดพักฤดูกาล คาวานี่มักจะหาโอกาสกลับบ้านเกิดที่อุรุกวัย เพื่อเดินทางไปยังพื้นที่ที่ห่างไกลจากสังคมเมือง โดยเจ้าตัวเคยให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า ถ้าวันนี้ไม่ได้เป็นนักฟุตบอลอาชีพ เขาอาจจะไปเป็นสัตวแพทย์ เพราะเป็นคนที่รักสัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่าเป็นอย่างมาก

เจนนาโร่ กัตตูโซ่ เทรนเนอร์คนใหม่ของบาเลนเซีย กล่าวถึงคาวานี่ว่า “เขาไม่ใช่นักเตะธรรมดา เขาทำประตูและคว้าแชมป์มามากมายกับทีมที่ยอดเยี่ยม ผมเข้าใจเลยว่าทำไมผู้คนถึงตื่นเต้นกับการมาของเขา”

นับจากนี้ไป แฟนๆ ลาลีกาจะได้ชมฟอร์มการเล่นของเอดินสัน คาวานี่ กับบาเลนเซีย ซึ่งเขาจะเข้ามาเป็นพี่เลี้ยง เพื่อถ่ายทอดจิตวิญญาณให้กับนักเตะวัยหนุ่ม ที่จะเป็นกำลังหลักของทีมในวันข้างหน้าอีกด้วย

Categories
Column

คาเซมิโร่ : การเดิมพันครั้งสำคัญ เพื่อแก้ปัญหาแดนกลางของ “ปิศาจแดง”

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา คาเซมิโร่ ประเดิมลงสนามเป็นนัดแรกให้กับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด โดยได้ลงเล่นช่วง 10 นาทีสุดท้าย ก่อนที่ต้นสังกัดใหม่ของเขา บุกชนะเซาธ์แธมป์ตัน 1 – 0

ถือเป็นชัยชนะ 2 นัดติดต่อกันของยูไนเต็ด ต่อยอดจากศึก “แดงเดือด” ที่กำราบศัตรูที่รักอย่างลิเวอร์พูล ซึ่งคาเซมิโร่ ได้เปิดตัวต่อหน้าแฟน ๆ เรด อาร์มี่ ในโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เป็นครั้งแรก

SoccerSuck x ไข่มุกดำ จะมาขยายให้ฟังว่า มิดฟิลด์หมายเลข 18 เจ้าของดีกรีแชมป์ยุโรป 5 สมัย จะให้ประโยชน์อะไร กับ “ปิศาจแดง” ได้บ้าง ?

“คาเซมิโร่” คือดีลหน้ามืด ?

พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2022/23 ซีซั่นแรกของเอริค เทน ฮาก กุนซือคนใหม่แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ออกสตาร์ท 2 นัดแรก ด้วย 0 คะแนน เสียประตูถึง 6 ลูก ทำให้บรรยากาศภายในสโมสรเต็มไปด้วยความโกลาหล

นั่นทำให้เบื้องบนของยูไนเต็ด อยู่เฉยไม่ได้ ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อตอบสนองความต้องการของเทน ฮาก และหวังลดกระแสความไม่พอใจของแฟนบอลที่สะสมความคับแค้นมานานเกือบ 20 ปี

แฟรงกี้ เดอ ยอง มิดฟิลด์บาร์เซโลน่า เป้าหมายแรกในการเสริมทัพ ที่เทน ฮาก หวังดึงลูกน้องเก่าสมัยอยู่กับอาแจกซ์ อัมสเตอร์ดัมมาร่วมงาน พยายามเจรจามานานกว่า 3 เดือน แต่ปิดดีลไม่สำเร็จ

ในขณะเดียวกัน ทีมงานซื้อขายของยูไนเต็ด ก็ไปเจรจากับ อาเดรียง ราบิโอต์ ของยูเวนตุส ที่ค่าตัวไม่แพงนัก เพราะเหลือสัญญาแค่ปีเดียว แต่ติดเงื่อนไขเรื่องค่าจ้างที่สูงมาก จึงถอนตัวจากดีลนี้ไป

ขอบคุณภาพ https://web.facebook.com/manchesterunited

จนกระทั่ง สโมสรเจ้าของแชมป์ลีกสูงสุดอังกฤษ 20 สมัย ตัดสินใจคว้าตัว คาเซมิโร่ กองกลางทีมชาติบราซิลวัย 30 ปี จากเรอัล มาดริด ด้วยค่าตัว 70 ล้านปอนด์ ชนิดที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

จากมิดฟิลด์ที่คว้าแชมป์ 18 โทรฟี่กับ “ราชันชุดขาว” สู่ความท้าทายครั้งใหญ่กับแมนฯ ยูไนเต็ด แม้จะไม่สามารถเปลี่ยนทุกอย่างได้ด้วยตัวคนเดียว แต่อย่างน้อยก็คือก้าวแรก ในยุคใหม่ของ “ปิศาจแดง”

ปิดตำนานคู่หู “แม็ค-เฟรด” ได้แล้ว ?

ตำแหน่ง “กองกลางตัวรับ” คือตำแหน่งที่แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ตามหามานาน เพราะหลังจากไมเคิล คาร์ริก ประกาศเลิกเล่นหลังจบฤดกาล 2017/18 ทำให้มิดฟิลด์ตัวรับ มีเนมันย่า มาติช เพียงคนเดียวเท่านั้น

ในเดือนธันวาคม 2018 โอเล่ กุนนาร์ โซลชา เข้ามาเป็นกุนซือคนใหม่แทนโชเซ่ มูรินโญ่ ได้ใช้เฟร็ด และสกอตต์ แม็คโทมิเนย์ มารับหน้าที่เป็นกลางรับ 2 ตัว ตามแผนการเล่น 4-2-3-1 ซึ่งทั้งคู่ไม่ใช่กลางรับธรรมชาติ

คู่หู “แม็ค-เฟรด” ลงเล่นด้วยกันให้กับแมนฯ ยูไนเต็ด ตั้งแต่ยุคของโซลชา, ราล์ฟ รังนิก และเอริค เทน ฮาก เป็นระยะเวลาเกือบ 4 ปี แต่ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ทั้งคู่ทำได้ไม่ดีพอตามที่ทุกคนในสโมสรคาดหวัง

ย้อนกลับไปในนัดเปิดซีซั่น 2022/23 ที่ทีมของเทน ฮาก แพ้ไบรท์ตัน คาโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด 1 – 2 ทั้งเฟร็ด และแม็คโทมิเนย์ ต่างก่อความผิดพลาด จ่ายบอลเสียหลายจังหวะ แถมการป้องกันเกมรับทำได้เข้าชั้นเลวร้าย

พอล สโคลส์ ตำนานมิดฟิลด์เบอร์ 18 ของยูไนเต็ด วิเคราะห์ผ่าน BT Sport หลังเกมชนะเซาธ์แธมป์ตันว่า “ผมคิดว่าเฟร็ด กับแม็คโทมิเนย์ ถูกร้องขอให้เล่นมิดฟิลด์ตัวรับ แต่ผมไม่คิดว่าพวกเขาจะทำได้ดีขนาดนั้น”

“การมีนักเตะอย่างคาเซมิโร่ ที่คอยอยู่ด้านหลังหรือด้านข้างนั้น เป็นอะไรที่ดีมาก ๆ ทำให้คุณเล่นได้อย่างมีอิสระ เพราะคุณจะรู้ว่า คนที่อยู่ด้านหลังหรือด้านข้าง มันอยู่ในตำแหน่งที่ดีอยู่แล้ว”

ขอบคุณภาพ https://web.facebook.com/Casemiro92

ปลดปล่อยเพื่อนร่วมทีมทั้งรับและรุก

การเข้ามาของคาเซมิโร่ นอกจากจะแก้ปัญหาในตำแหน่งมิดฟิลด์ตัวรับที่ขาดหายมาหลายปีแล้ว อาจจะช่วยยกระดับการเล่นของเพื่อนร่วมทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดให้ดีขึ้นได้ ทั้งเกมรับและเกมรุก

แผนการเล่น 4-2-3-1 สูตรกลางรับ 2 คน ที่เอริค เทน ฮาก ใช้มาแล้ว 3 นัด (พบกับเบรนท์ฟอร์ด, ลิเวอร์พูล และเซาธ์แธมป์ตัน) ต่อจากนี้ไป คาเซมิโร่ จะได้จับคู่กับคนใดคนหนึ่งระหว่างเฟร็ด หรือสก็อตต์ แม็คโทมิเนย์

หรือถ้าเป็นแผนการเล่น 4-3-3 สูตรถนัดของกุนซือชาวดัตช์ ที่เน้นเกมรุกแบบเต็มที่ บทบาทของคาเซมิโร่ ก็จะยืนต่ำกว่ามิดฟิลด์ด้านข้าง 2 คน ทั้งคริสเตียน อิริคเซ่น และบรูโน่ เฟอร์นันเดส ที่จะเล่นเกมรุกมากขึ้น

คาเซมิโร่ ยังสามารถเปลี่ยนกระแสการเล่นจากรับเป็นรุก หากเขาสามารถเคลื่อนบอลให้อิริคเซ่น และบรูโน่เข้าไปในเขตโทษ ก็อาจเป็นการช่วยปลดล็อกปัญหาในเกมรุกของแมนฯ ยูไนเต็ดได้

และเมื่อมีกลางรับระดับโลกสไตล์ถึงลูกถึงคน และขยันแบบฉลาดอย่างคาเซมิโร่อยู่ในทีม ก็ช่วยให้เกมรับได้รับประโยชน์เช่นเดียวกัน เนื่องจากเจ้าตัวจะคอยทำหน้าที่เก็บกวาดการบุกของคู่แข่งอยู่แล้ว

ดีลของคาเซมิโร่ จะเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ช่วยยกระดับทีมให้ดีขึ้น หรือจะเป็นอนุสรณ์แห่งความล้มเหลวอีกครั้ง ของทีมยักษ์หลับที่รอวันตื่นอย่างแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

เรียบเรียง: จักรพันธ์ ภู่ทอง

อ้างอิง :

https://www.bbc.com/sport/football/62603699

https://www.telegraph.co.uk/football/2022/08/19/what-casemiro-will-do-manchester-united/

https://worldfootballindex.com/2020/04/real-madrid-tactics-win-the-champions-league-three-years-in-a-row-zidane/

https://www.si.com/soccer/manchesterunited/exclusive-interviews/what-manchester-united-can-expect-from-casemiro

Categories
Column

เบนเซม่า VS เลวานดอฟสกี้ : การเริ่มต้นที่ดีของ 2 ดาวยิง “เบอร์ 9” ที่ดีที่สุดในโลก

หากพูดถึงกองหน้าตัวเป้า หรือ Lone striker ที่สามารถยีนระยะในเกมฟุตบอลระดับสูงนานกว่า 10 ปี ก็จะนึกถึงคาริม เบนเซม่า และโรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้ แม้ว่าอายุจะล่วงเลยมาถึงช่วง 34 – 35 ปีแล้วก็ตาม

และเมื่อบาร์เซโลน่า ได้อาวุธหนักอย่างเลวานดอฟสกี้มาเสริมแนวรุก ดวลความคมกับคาริม เบนเซม่า ดาวเตะเรอัล มาดริด ทำให้ “เอล กลาซิโก้” ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้นอีกหลายเท่าเลยทีเดียว

เหตุการณ์สำคัญจากเกมลาลีกา สเปน นัดที่ 2 ของฤดูกาล 2022/23 ทั้งเบนเซม่า และเลวานดอฟสกี้ ดาวยิงที่สวมเสื้อหมายเลข 9 ด้วยกันทั้งคู่ ต่างเริ่มต้นทำประตูได้เป็นนัดแรก ในสุดสัปดาห์เดียวกัน

ก่อนที่จะมาดวลกันในลีกแดนกระทิงดุ ซีซั่นนี้ ทั้งเบนเซม่า และเลวานดอฟสกี้ ต่างก็พาสโมสรต้นสังกัดประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์ พร้อมทั้งได้รับรางวัลส่วนบุคคลมาครอบครอง จากซีซั่นที่แล้ว

เริ่มจากเบนเซม่า ที่พาเรอัล มาดริด คว้าดับเบิลแชมป์ ทั้งลาลีกา และยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก พ่วงด้วยตำแหน่งดาวซัลโว ประจำการแข่งขันทั้ง 2 รายการ ด้วยผลงาน 27 ประตู กับ 15 ประตู ตามลำดับ

ด้วยผลงานที่โดดเด่นสุดๆ กับเรอัล มาดริด เมื่อซีซั่นก่อน ทำให้ดาวยิงชาวฝรั่งเศสวัย 35 ปีรายนี้ มีโอกาสสูงมากๆ ที่จะคว้ารางวัล “บัลลง ดอร์” รวมถึงรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมของฟีฟ่า ประจำปีนี้ด้วย

ทางฝั่งของเลวานดอฟสกี้ ที่พาบาเยิร์น มิวนิค คว้าแชมป์บุนเดสลีกา พร้อมกับคว้ารางวัลส่วนตัว ทั้งดาวซัลโวลีกเยอรมัน (35 ประตู) และรางวัลดาวซัลโวลีกยุโรป (โกลเด้น ชูส์) เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน

ตลอด 8 ฤดูกาลที่อยู่กับ “เสือใต้” ศูนย์หน้าชาวโปแลนด์วัย 34 ปี เคยได้รับรางวัลส่วนตัวอื่นๆ เช่น นักเตะยอดเยี่ยมของฟีฟ่า 2 สมัยซ้อน ในปี 2020 และ 2021 รวมถึงกองหน้ายอดเยี่ยมบัลลง ดอร์ ในปี 2021

จนกระทั่งเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว ลาลีกา เดินทางมาถึงนัดที่ 2 ของฤดูกาลนี้ กองหน้าหมายเลข 9 ของ 2 สโมสรยักษ์ใหญ่แห่งวงการฟุตบอลสเปน สามารถทำประตูได้เป็นนัดแรกให้กับต้นสังกัดของแต่ละคน

เริ่มจากวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม เรอัล มาดริด บุกไปเยือน เซลต้า บีโก้ เบนเซม่า ยิงจุดโทษให้ “ราชันชุดขาว” ขึ้นนำก่อนตั้งแต่นาทีที่ 14 และท้ายที่สุด ทีมของคาร์โล อันเชล็อตติ เก็บชัยชนะด้วยสกอร์ 4 – 1

ต่อด้วยวันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม บาร์เซโลน่า บุกไปเยือน เรอัล โซเซียดัด เลวานดอฟสกี้ ได้ลงสนามในวันคล้ายวันเกิดของตัวเอง ยิง 2 ประตู กับ 1 แอสซิสต์ พา “เจ้าบุญทุ่ม” ชนะ 4 – 1 เช่นเดียวกัน

ส่วนนักเตะคนอื่นๆ นอกจากจะเป็นผู้ป้อนบอลให้กองหน้าอันดับ 1 ของแต่ละทีมยิงประตูแล้ว พวกเขาก็สามารถทำประตูด้วยตัวเองได้เช่นกัน และมีสิทธิ์ที่จะแข่งขันในอันดับดาวซัลโวของลาลีกาได้ตลอดเวลา

หลังผ่านไป 2 นัด ผู้นำดาวซัลโวลาลีกาในเวลานี้ คือ บอร์ฆา อิกเลเซียส ของเรอัล เบติส ทำได้ 3 ประตู ส่วน 2 ประตูของเลวานดอฟสกี้ ทำได้เท่ากับอัลบาโร่ โมราต้า, ยาโก้ อัสปาส, ชิมี่ เอบิล่า, อเล็กซ์ บาเอน่า และฆวนมี่

สำหรับนัดต่อไป ทั้งบาร์เซโลน่า และเรอัล มาดริด จะลงเตะในคืนวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม โดย “เจ้าบุญทุ่ม” เปิดบ้านพบเรอัล บายาโดลิด (00.30 น.) ต่อด้วย “ราชันชุดขาว” ออกไปเยือนเอสปันญ่อล (03.00 น.)

ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีของคาริม เบนเซม่า และโรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้ และดูเหมือนว่าทั้งคู่จะมีโอกาสมากที่สุด สำหรับการท้าชิงรางวัล “ปิชิชี่” หรือดาวซัลโวลาลีกา ที่จะทราบผลอย่างแน่นอน ในเดือนมิถุนายน ปีหน้า

Categories
Football Business

ส่อง “สปอนเซอร์บนชื่อสนาม” ในลีกลูกหนังสเปน

การนำชื่อขององค์กรทางธุรกิจ ไปปรากฏอยู่ในชื่อสนามแข่งขันของทีมกีฬา มีจุดเริ่มต้นจากวงการกีฬาอเมริกันเกมส์ ในสหรัฐอเมริกา ก่อนที่โมเดลดังกล่าว จะเข้าสู่วงการฟุตบอลยุโรปในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ตาม การนำชื่อแบรนด์สินค้าไปผูกติดกับชื่อสนามฟุตบอล ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากสนามฟุตบอล ถือเป็นวัฒนธรรม ที่ยึดโยงกับชุมชน และแฟนลูกหนังมายาวนานหลายสิบปี

แต่วงการฟุตบอลในยุคสมัยใหม่ ที่กลายเป็นธุรกิจแบบเต็มตัว หลาย ๆ สโมสรเริ่มมองหาวิธีใหม่ ๆ ที่จะเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น นอกเหนือจากรายได้ในวันแข่งขัน และค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์

ในฤดูกาล 2022/23 มี 3 สโมสรจากลีกสูงสุดแดนกระทิงดุ (LaLiga Santander) ที่มีการนำชื่อสปอนเซอร์ทางธุรกิจ มารวมอยู่ในชื่อสนามเหย้า ได้แก่ บาร์เซโลน่า, แอตเลติโก มาดริด และอัลเมเรีย

นอกจากนี้ ยังมีสโมสรอีบิซ่า จากลีกดิวิชั่น 2 (LaLiga SmartBank) ที่เปลี่ยนชื่อรังเหย้าเป็น “พาลาเดียม แคน มิสเซส” ตามชื่อของ Palladium แบรนด์ธุรกิจโรงแรมจากเกาะอีบิซ่า ในสเปน เป็นเวลา 3 ฤดูกาล

ก่อนหน้านี้ เคยมีสโมสรในลาลีกา ที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อสนามตามสปอนเซอร์มาแล้ว อย่างเช่น เซลต้า บีโก้ ที่เปลี่ยนชื่อเป็น “อาบังก้า บาลาอิโดส” ตามชื่อของ Abanca บริษัทการเงินของสเปน

หรือกรณีของเรอัล โซเซียดัด ที่มีชื่อสนามว่า “เรอาเล่ อารีน่า” มาจาก Reale Seguros บริษัทประกันภัยของสเปน รวมถึงเรอัล มายอร์ก้า ที่เปลี่ยนชื่อเป็น “บิซิต มายอร์ก้า เอสตาดี้” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

บาร์เซโลน่า : สปอติฟาย คัมป์ นู

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา บาร์เซโลน่า ได้บรรลุข้อตกลงกับ Spotify แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งชื่อดังจากประเทศสวีเดน ในการเข้ามาเป็นสปอนเซอร์ให้กับสโมสร เซ็นสัญญาระยะยาวถึง 12 ปี หรือสิ้นสุดในปี 2034

ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของบาร์ซ่า ที่จะใช้ชื่อสปอนเซอร์รวมกับชื่อสนาม นั่นคือ “สปอติฟาย คัมป์ นู” โดยจะนำเงินทุนไปดำเนินโครงการ Espai Barca ในการปรับปรุงสนามแข่งขัน และพื้นที่โดยรอบ

โจน ลาปอร์ต้า ประธานสโมสร “เจ้าบุญทุ่ม” เปิดเผยว่า “นี่คือดีลครั้งประวัติศาสตร์ของเรา ความร่วมมือในครั้งนี้ จะทำให้แฟน ๆ ใกล้ชิดกับสโมสรมากยิ่งขึ้น ด้วยการผสมผสานระหว่างความบันเทิงกับฟุตบอล”

แอตเลติโก มาดริด : ซิบิตาส เมโทรโปลิตาโน่

ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แอตเลติโก มาดริด ได้มีสปอนเซอร์รายใหม่เข้ามาสนับสนุน คือ Cívitas บริษัทด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังในประเทศสเปน เซ็นสัญญาเป็นระยะเวลา 10 ปี

ทำให้สนามแข่งขันของแอต. มาดริด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ซิบิตาส เมโทรโปลิตาโน่” ตามชื่อของผู้สนับสนุนใหม่ พร้อมกับการดำเนินโครงการสร้างศูนย์ฝึกซ้อมแห่งใหม่ รวมถึงรังเหย้าของทีมสำรอง ความจุ 6,000 ที่นั่ง

อเลฮานโดร อยาล่า ประธานของ “ซิบิตาส” กล่าวว่า “เราจะร่วมมือกับแอตเลติโก มาดริด ในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับผู้คน ทั้งด้านสุขภาพ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม”

อัลเมเรีย : เพาเวอร์ ฮอร์ส สเตเดี้ยม

อัลเมเรีย ทีมน้องใหม่ที่ได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีกสูงสุด ในฤดูกาลนี้ ได้เปลี่ยนชื่อสนามเหย้าเป็น “เพาเวอร์ ฮอร์ส สเตเดี้ยม” โดยมาจากชื่อของ “Power Horse” แบรนด์เครื่องดื่มชูกำลังจากประเทศออสเตรีย

โมฮัมเหม็ด เอล อาสซี่ ซีอีโอของ “เดอะ อินดาลิกอส” กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่เพาเวอร์ ฮอร์ส ได้ให้ความไว้วางใจในการเข้ามาสนับสนุนสโมสร เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ยอดเยี่ยมนับจากนี้ไป”

การนำชื่อแบรนด์สินค้า ไปอยู่บนชื่อสนามฟุตบอล ถือเป็นทางออกแบบ “วิน-วิน” เพราะแบรนด์สินค้า จะได้พื้นที่ประชาสัมพันธ์ธุรกิจของตัวเอง ขณะที่ทีมกีฬาก็จะได้เงินไปลงทุนต่อยอดตามที่ต้องการ

แม้ว่า การขายลิขสิทธิ์ชื่อสนาม อาจจะกระทบถึงความรู้สึกของแฟนบอลอยู่ไม่น้อย แต่สำหรับทีมฟุตบอลแล้ว ก็อาจจะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุด ในการนำเงินเข้ามาบริหารสโมสรให้อยู่รอดต่อไป

ขอบคุณภาพ https://www.facebook.com/udalmeriasad
Categories
Special Content

นิโก้ กอนซาเลซ : มิดฟิลด์ดาวรุ่ง กับการพิสูจน์ตัวเองครั้งใหม่ที่บาเลนเซีย

นิโก้ กอนซาเลซ ถือเป็นนักเตะดาวรุ่งพุ่งแรงของบาร์เซโลน่า ถูกดันขึ้นมาตั้งแต่ยุคของโรนัลด์ คูมัน และได้กลายมาเป็นผู้เล่นคนสำคัญมาอย่างต่อเนื่องจนถึงยุคของอย่างซาบี้ เอร์นานเดซ กุนซือคนปัจจุบัน

ทว่า “เจ้าบุญทุ่ม” ได้ตัดสินใจปล่อยตัวมิดฟิลด์ดาวรุ่งชาวสเปนวัย 20 ปีรายนี้ ไปให้บาเลนเซีย คู่แข่งร่วมลาลีกา ยืมตัวไปใช้งานจนจบฤดูกาล 2022/23 แม้ว่าจะเพิ่งต่อสัญญาฉบับใหม่ออกไปจนถึงปี 2026 ก็ตาม

ประวัติส่วนตัวของนิโก้ เป็นลูกชายแท้ ๆ ของ ฟราน กอนซาเลซ อดีตกัปตันทีมเดปอร์ติโบ ลา คอรุนญ่า ชุดคว้าแชมป์ลีกสูงสุด เมื่อซีซั่น 1999/2000 รวมทั้งแชมป์โคปา เดล เรย์ 2 สมัย และสแปนิช ซูเปอร์ คัพ 3 สมัย

ความฝันของนิโก้ คือการคว้าแชมป์ลาลีกาตามรอยคุณพ่อของเขา ซึ่งเจ้าตัวเคยให้สัมภาษณ์กับสื่อท้องถิ่นว่า “คุณพ่อดูแลผมอยู่ตลอดเวลา ประสบการณ์ในระดับสูงของคุณพ่อ สามารถช่วยผมได้”

เส้นทางนักฟุตบอลของนิโก้ เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 7 ขวบ กับทีมเยาวชนของมอนตาเนรอส และอีก 4 ปีต่อมา ก็ได้เข้าสู่ “ลา มาเซีย” ศูนย์ฝึกของบาร์เซโลน่า เขาเติบโตอย่างรวดเร็วจนได้ลงเล่นกับทีมสำรองครั้งแรกในวัย 17 ปี

ฟอร์มการเล่นที่โดดเด่นกับทีมสำรอง ทำให้ โรนัลด์ คูมัน เทรนเนอร์ของบาร์ซ่าในเวลานั้น ตัดสินใจดันนิโก้ขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่แบบเต็มตัว และได้ลงสนามเป็นนัดแรก ในเกมเปิดฤดูกาล 2021/22 ที่เอาชนะเรอัล โซเซียดัด 4 – 2

เมื่อซีซั่นที่แล้ว บาร์เซโลน่าได้มองถึงนโยบายระยะยาว โดยได้ใช้งานผู้เล่นดาวรุ่งมากขึ้น เพื่อพาสโมสรกลับคืนสู่ความรุ่งเรืองอีกครั้ง ทำให้พวกเขาคือทีมที่มีอายุเฉลี่ยของนักเตะน้อยที่สุดเป็นอันดับ 3 ของลาลีกา

ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงกุนซือจากคูมัน มาเป็น ซาบี้ เอร์นานเดซ อดีดตำนานมิดฟิลด์ของเจ้าบุญทุ่ม แต่นิโก้ก็ยังเป็นผู้เล่นคนสำคัญมาโดยตลอด ซึ่งเจ้าตัวลงเล่นไปทั้งหมด 37 นัดรวมทุกรายการ ทำได้ 2 ประตู

สไตล์การเล่นของนิโก้ เป็นนักเตะที่มีวิสัยทัศน์ในการอ่านเกมพื้นที่บริเวณกลางสนาม เล่นได้หลากหลายตำแหน่งในแผงกองกลาง ทั้งมิดฟิลด์ตัวรับที่คอยคุมจังหวะของเกม หรือมิดฟิลด์ตัวรุกที่ขึ้นไปโจมตีแนวรับคู่แข่ง

สโมสรยักษ์ใหญ่จากคาตาลัน ยังคงมั่นใจในศักยภาพของนิโก้ ที่จะสามารถพัฒนาฝีเท้าให้ดียิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต จึงตัดสินใจขยายสัญญาฉบับใหม่ อยู่โยงในถิ่นสปอติฟาย คัมป์ นู ต่อไปจนถึงปี 2026

แต่ทางบาร์ซ่า ต้องการให้นิโก้สั่งสมประสบการณ์การค้าแข้งในลีกระดับสูงสุดให้มากขึ้น ด้วยการปล่อยให้ บาเลนเซีย ของเจนนาโร่ กัตตูโซ่ เฮดโค้ชคนใหม่ชาวอิตาเลียน ยืมตัวไปใช้งานจนจบซีซั่นนี้ โดยไม่มีออปชั่นซื้อขาด

นิโก้ ได้โอกาสลงสนามให้กับบาเลนเซียในลาลีกา ฤดูกาลใหม่ ในฐานะตัวสำรองทั้ง 2 นัด รวมทั้งสิ้น 44 นาที เริ่มจากเกมเปิดซีซั่นที่เปิดบ้านชนะกิโรน่า 1 – 0 และนัดล่าสุดที่บุกไปแพ้แอธเลติก บิลเบา 0 – 1

สำหรับบาเลนเซีย ในฤดูกาลใหม่ ยังคงเน้นไปที่การสร้างทีมด้วยนักเตะดาวรุ่งเป็นหลัก ต่อเนื่องจากฤดูกาลที่แล้ว ซึ่งในเวลานี้ “โลส เช” เป็นทีมที่มีอายุเฉลี่ยของนักเตะน้อยที่สุดในลาลีกา เพียง 23.4 ปีเท่านั้น

นักเตะดาวรุ่งของบาเลนเซียในซีซั่นนี้ อาทิเช่น อูโก้ ดูโร่, ซามูเอล ลิโน่, ยูนุส มูซ่าห์, เธียร์รี่ คอร์เรอา, อูโก้ กิลลามอน และจอร์จี้ มามาร์ดาชวิลี่ ซึ่งนิโก้ กอนซาเลซ ก็พร้อมแล้วกับโอกาสครั้งใหม่ในถิ่นเมสตาย่า

Categories
Football Business

เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ บนแขนเสื้อข้างซ้ายในพรีเมียร์ลีก

พรีเมียร์ลีกเริ่มต้นฤดูกาล 2022-23 มีข่าวเซอร์ไพรส์เล็กๆ เมื่อ น็อตติงแฮม ฟอเรสต์ ซึ่งเพิ่งขึ้นมาเล่นลีกสูงสุดของอังกฤษหลังจากว่างเว้นมานาน 23 ปี เป็นทีมเดียวที่นักเตะสวมเสื้อแข่งว่างเปล่าไม่มีโลโก้ผู้สนับสนุนบนหน้าอกและแขนเสื้อ ซึ่งหมายความว่า ทีมเจ้าป่าขาดรายได้ระดับหลักสิบล้านปอนด์ต่อปีอย่างน่าเสียดาย

เหตุผลไม่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนใดๆ เพียงแค่ฟอเรสต์ยังไม่สามารถตกลงต่อสัญญาใหม่กับ BOXT บริษัทผลิตอุปกรณ์และวางระบบความร้อน แอร์คอนดิชัน และการระบายอากาศ โดย BOXT แสดงความประสงค์ต้องการเป็นสปอนเซอร์ให้กับทีมเจ้าป่าต่อไปหลังหมดสัญญาฉบับเก่าที่มีระยะเวลาสองปี แต่ข้อเสนอหลายล้านปอนด์ของบริษัทถูกปฏิเสธ ซึ่งว่ากันว่า ฟอเรสต์ต้องการรายได้ประมาณ 7-10 ล้านปอนด์ต่อปี อย่างไรก็ตาม BOXT ได้หันไปจับมือเป็นสปอนเซอร์ให้กับเอฟเวอร์ตันเพื่อปะโลโก้ที่แขนเสื้อ

บนเสื้อแข่งมีพื้นที่สร้างรายได้ให้กับสโมสรอยู่สองตำแหน่งคือ หน้าอกกับแขนเสื้อข้างซ้าย ส่วนแขนเสื้อข้างขวาเป็นสัญลักษณ์พรีเมียร์ลีก ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว สปอนเซอร์ที่แขนเสื้อมีมูลค่าประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของสปอนเซอร์บนหน้าอก

ถ้าตัดฟอเรสต์ออกไป ทุกทีมในพรีเมียร์ลีกซีซั่นนี้มีโลโก้สินค้าสกรีนบนหน้าอกเสื้อ แต่มีอยู่หนึ่งทีมที่ยังไม่มีเงินไหลเข้าผ่านแขนเสื้อก็คือ แอสตัน วิลลา ซึ่งมี Cazoo บริษัทจำหน่ายรถยนต์ผ่านออนไลน์ เป็นสปอนเซอร์หน้าอกเสื้อเท่านั้น

ล่าสุด พรีเมียร์ลีกเพิ่งออกกฎใหม่ห้ามบริษัทที่ทำธุรกิจพนัน (แม้ถูกกฎหมาย) เป็นสปอนเซอร์ ซึ่งสร้างความสั่นสะเทือนให้กับแหล่งรายได้ของสโมสรอย่างแรงเพราะเป็นธุรกิจที่เข้ามาสนับสนุนเงินๆทองๆบนเสื้อแข่งมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งได้แก่Dafabet (บอร์นมัธ), HollywoodBets (เบรนท์ฟอร์ด), Stake.com (เอฟเวอร์ตันกับวัตฟอร์ด), W88 (ฟูแลม), SBOTOP (ลีดส์), Fun88 (นิวคาสเซิล), Sportsbet.io (เซาแธมป์ตัน) และ Betway (เวสต์แฮม) ซึ่งยกชื่อมาเฉพาะสปอนเซอร์หลักของเสื้อแข่งเท่านั้นยังไม่อ้างถึงแขนเสื้อ อย่างไรก็ตาม การแบนบริษัทรับพนันยังไม่มีผลอย่างน้อยสามปีนับจากปีนี้

กลุ่มสปอนเซอร์รายใหญ่รองจากธุรกิจพนันก็คือ ธุรกิจการเงินการธนาคาร อย่างเช่น  American Express (ไบรท์ตัน), Standard Chartered (ลิเวอร์พูล), AIA (ท็อตแนม ฮ็อตสเปอร์), AstroPay (วูลฟ์แฮมป์ตัน) และ FBS (เลสเตอร์) ขณะที่สายการบินของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้แก่ Emirates และ Etihad Airways ยังเดินหน้าสนับสนุนด้านการเงินให้กับสองสโมสรยักษ์ใหญ่ อาร์เซนอล และ แมนเชสเตอร์ ซิตี

โลโก้บริษัทจำหน่ายรถยนต์ Cinch และ Cazoo อยู่บนหน้าอกเสื้อของคริสตัล พาเลซ และแอสตัน วิลลา ส่วน เชลซี และ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้รับเงินสปอนเซอร์จาก Three และ Team Viewer ซึ่งทำธุรกิจด้านเทคโนโลยี นั่นเท่ากับว่ายังไม่มีบริษัทชั้นนำที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่มเข้ามาปิดดีลสโมสรพรีเมียร์ลีก

ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา PlanetSport ได้เผยแพร่บทความเรื่อง The 11 biggest shirt sponsorship deals: Premier League dominates but Spain’s where the big money is. พบว่า อันดับท็อป-11 ของสโมสรที่โกยรายได้สปอนเซอร์เสื้อแข่งสูงที่สุดในโลกมาจากพรีเมียร์ลีกถึง 6 ทีม แต่ไม่ติดสามอันดับแรก ซึ่งนำโดย เรอัล มาดริด 70 ล้านยูโร ตามด้วยปารีส แซงต์-แยร์แมง 65 ล้านยูโร และบาร์เซโลนา 62.5 ล้านยูโร ซึ่งเป็นจำนวนเงินค่าเฉลี่ยต่อปีของสัญญา

สโมสรจากเมืองผู้ดีที่โกยรายได้มากที่สุดย่อมเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในช่วงทศวรรษนี้หนีไม่พ้น แมนเชสเตอร์ ซิตี 60 ล้านยูโร อยู่อันดับสี่ ขณะที่เพื่อนบ้าน แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แม้ฟอร์มไม่ไฉไลบนสนามแต่ยังเป็นทีมเนื้อหอมในเชิงธุรกิจ ทีมปีศาจแดงรับไป 55 ล้านยูโร อยู่อันดับห้า

ส่วนอันดับรองลงไปได้แก่ อันดับหก บาเยิร์น มิวนิค 50 ล้านยูโร, อันดับเจ็ด อาร์เซนอล 46.6 ล้านยูโร และอันดับแปด (ร่วม) ซึ่งรับไป 45 ล้านยูโรเท่ากันคือ ยูเวนตุส, ลิเวอร์พูล, สเปอร์ส และเชลซี

ปฐมบทแห่งการขายพื้นที่โฆษณาบนเสื้อแข่งขัน

พลิกปูมประวัติศาสตร์สปอนเซอร์บนหน้าอกเสื้อแข่งสโมสรอังกฤษเกิดขึ้นเมื่อปี 1974 หรือ 48 ปีที่แล้ว โคเวนตรีเป็นทีมแรกและได้รับเงินจาก Talbot แบรนด์รถยนต์ดังในอดีต ก่อนเป็นที่แพร่หลายช่วงทศวรรษ 1980 ซึ่งมีสองเหตุการณ์ที่น่าบันทึกไว้คือเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 1980 การถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ระหว่าง แอสตัน วิลลา และ ไบรท์ตัน ถูกยกเลิกเนื่องจากสองทีมปฏิเสธลงสนามหากไม่ได้สวมเสื้อแข่งที่ปะโลโก้สปอนเซอร์ และในเดือนมกราคม 1981 นิวคาสเซิล และ โบลตัน ถูกปรับ 1,000 ปอนด์โทษฐานสวมเสื้อที่มีโฆษณาปรากฎหราบนหน้าอกในการแข่งขันเอฟเอ คัพ

ก่อนหน้าโคเวนตรีเพียงปีเดียวคือ ปี 1973 สปอนเซอร์บนหน้าอกเสื้อแข่งกลายเป็นนวัตกรรมใหม่อย่างเป็นทางการในลีกระดับเมเจอร์ของยุโรปครั้งแรกที่บุนเดสลีกาเมื่อ ไอน์ทรัค บรันสวิก รับเงินจากบริษัทเครื่องดื่ม Jaegermeister เพื่อเอาโลโก้สโมสรออกไปแล้วแทนที่ด้วยสัญลักษณ์หัวกวางขนาดใหญ่ปะบนหน้าอก

สำหรับโลโก้โฆษณาบนแขนเสื้อ ได้รับอนุญาตจากพรีเมียร์ลีกให้ปรากฎบนแขนเสื้อข้างซ้ายครั้งแรกในฤดูกาล 2017-18หรือห้าปีที่แล้ว โดยกำหนดให้มีขนาดสูงสุด 100 ตารางเซนติเมตร ส่วนข้างขวายังเป็นโลโก้พรีเมียร์ลีก แต่กว่าที่มีกฎนี้ออกมา สโมสรต่างๆ ต้องออกแรงล็อบบีผู้บริหารพรีเมียร์ลีกอยู่หลายปี

ทางด้านยูฟ่าเริ่มกดปุ่มไฟเขียนให้สโมสรยุโรปหารายได้จากช่องทางเดียวกันในการแข่งขันแชมเปียนส์ ลีก, ยูโรปา คัพ และคอนเฟอเรนซ์ ลีก ตั้งแต่ฤดูกาล 2021-22 หรือเมื่อซีซั่นที่แล้วนี่เอง โดยมีรายละเอียดเหมือนกันคือ ติดโลโก้แขนซ้ายและมีขนาดมากที่สุด 100 ตารางเซนติเมอร์ รวมถึงส่วนสูงไม่เกิน 12 เซนติเมตร และต้องเป็นสปอนเซอร์ตัวเดียวกับที่ใช้ในฟุตบอลภายในประเทศ แต่ถ้าไม่มี สปอนเซอร์ต้องเป็นตัวเดียวกับที่สนับสนุนชุดแข่งขันอยู่เช่น หลังเสื้อ กางเกง

และต้องบันทึกไว้ว่า โอลิมปิก ลียง ซึ่งลงแข่งขันยูโรปา ลีก ฤดูกาลที่แล้ว เป็นสโมสรแรกที่มีสปอนเซอร์แขนเสื้อทั้งฟุตบอลภายในประเทศและบอลถ้วยยุโรป หลังจากเซ็นสัญญากับ MG Motor ค่ายผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ จนถึงปี 2024

แมนฯ ซิตี เซ็นสัญญาสปอนเซอร์แขนเสื้อเป็นทีมแรกในพรีเมียร์ลีก

ย้อนกลับมาที่พรีเมียร์ลีก ซึ่งเริ่มอนุญาตให้สโมสรขายโลโก้บนแขนเสื้อในซีซั่น 2017-18 เป็นปีแรก และก็เป็น แมนเชสเตอร์ ซิตี ที่ปิดดีลได้ก่อนใคร สมศักดิ์ศรีทีมที่ครองความยิ่งใหญ่ในลีกเมืองผู้ดีช่วงต้นทศวรรษ 2010 หลังการล้างมือในอ่างทองคำของเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน โดยก่อนหน้านี้ ทีมเรือใบสีฟ้าเป็นแชมป์ 2 สมัย (2011–12, 2013–14) และรองแชมป์ 2 สมัย (2012–13, 2014–15)

ปลายเดือนมีนาคม 2017 แมนเชสเตอร์ ซิตี เซ็นสัญญากับ Nixen Tire บริษัทยางรถยนต์สัญชาติเกาหลี ก่อนปิดท้ายซีซั่น 2017-18 ด้วยแชมป์พรีเมียร์ลีก เป็นการเริ่มต้นยุคทองอย่างจริงจังเพราะช่วงห้าปี ทีมเรือใบสีฟ้าชนะเลิศพรีเมียร์ลีกถึง 4 สมัย มีเพียงฤดูกาล 2019-20 ที่โทรฟีตกอยู่ในมือของลิเวอร์พูล

เชื่อหรือไม่ว่าขณะที่ทีมเล็กทีมน้อยระดับกลางตารางและดิ้นรนหนีตกชั้นได้รับเสียงตอบรับจากสปอนเซอร์ แต่ยักษ์ใหญ่อย่าง อาร์เซนอล, แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และท็อตแนม ฮ็อตสเปอร์ กลับลงสนามในซีซั่น 2017-18 พร้อมด้วยโลโก้พรีเมียร์ลีกติดแขนเสื้อทั้งสองข้าง โดยทีมปืนใหญ่กับทีมไก่เดือยทองติดเงื่อนไขในสัญญากับสปอนเซอร์หลัก ขณะที่ทีมปีศาจแดงไม่มีการระบุเหตุผลที่ชัดเจนแต่เชื่อว่าคงตกลงตัวเลขเงินกันไม่ได้ พร้อมข่าวลือว่า ทีมปีศาจแดงได้เปิดโต๊ะเจรจากับ Tinder แอปพลิเคชั่นหาคู่

จนกระทั่งปีต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2018 ก่อนเปิดฤดูกาล 2018-19 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จึงออกข่าวเปิดตัวสปอนเซอร์บนแขนเสื้อรายแรกคือ Kohler บริษัทผลิตเครื่องใช้อุปกรณ์ในห้องน้ำห้องครัวสัญชาติอเมริกัน โดยตัวอักษร KOHLER อยู่บนแขนเสื้อนัดแรกในเกมอุ่นเครื่องกับ คลับ อเมริกา ที่เมืองฟินิกซ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา แผ่นดินแม่ของบริษัท ในวันที่ 19กรกฎาคม 2018 ซึ่งวันนั้น นักเตะเรด อาร์มี่ ได้สวมเสื้อเหย้าดีไซน์ใหม่ของ Adidas อีกด้วย

แต่ซีซั่นปัจจุบัน แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เปลี่ยนสปอนเซอร์แขนเสื้อเป็น DXC Technology บริษัทสัญชาติอเมริกันเช่นกัน โดยไม่มีการเปิดเผยตัวเลขรายได้ และถือเป็นก้าวแรกของ DXC ที่เข้ามาสร้างสายสัมพันธ์ในวงการลูกหนังหลังจากเซ็นสัญญาสนับสนุนการจัดมหกรรมกีฬา ปารีส เกมส์ 2024 ทั้งโอลิมปิกและพาราลิมปิก

มีบางทีมที่ปิดดีลหลังพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2017-18 เริ่มไปแล้วระยะหนึ่งเช่น เบิร์นลีย์ เซ็นสัญญากับเกมมือถือ Golf Clashต้นเดือนตุลาคม 2017 และก่อนหน้านั้นกลางเดือนกันยายน เอฟเวอร์ตัน เรียกเสียงฮือฮาจากแฟนบอลเมื่อประกาศว่า พวกเขาจะติดโลโก้เกมสุดฮิตในยุคนั้นที่มียอดดาวน์โหลดสูงสุดตลอดกาลอย่าง Angry Birds บนแขนเสื้อแข่ง

การขายสปอนเซอร์บนแขนเสื้อในซีซั่นแรก สโมสรส่วนใหญ่ได้รับเงินเข้ากองคลังหลักแสนปลายๆหรือ 1-2 ล้านต่อปี ยกเว้นสโมสรระดับพี่เบิ้มที่นำโดย เชลซี ที่คาดว่าโกยจาก Alliance Tyres มากถึง 8 ล้านปอนด์ ตามมาติดๆด้วย แมนเชสเตอร์ ซิตี ที่รับจาก Nexen Tire 7 ล้านปอนด์ ส่วน ลิเวอร์พูล เซ็นสัญญา 5 ปี 25 ล้านปอนด์กับ Western Union ซึ่งยกเลิกสัญญาก่อนสองปี โดยมี Expedia เข้ามาแทนในปี 2020 และจะหมดสัญญาฤดูร้อนปีหน้า คาดว่าบริษัทธุรกิจท่องเที่ยวรายนี้จ่ายให้ทีมหงส์แดงปีละ 10 ล้านปอนด์

บิลลี โฮแกน ซีอีโอของลิเวอร์พูล ให้สัมภาษณ์ว่า สโมสรกับ Expedia กำลังอยู่ในขั้นตอนเจรจาต่อสัญญา และก่อนหน้านี้ ทีมหงส์แดงเพิ่งขยายสัญญากับ Standard Chartered สปอนเซอร์หลักบนเสื้อออกไปอีกสี่ปีหลังจากจับมือเป็นพันธมิตรมายาวนานตั้งแต่ปี 2010 โดยเชื่อว่า บริษัทมหาชนด้านธุรกิจการเงินการธนาคารของอังกฤษยอมจ่ายสูงถึง 30 ล้านปอนด์ต่อปีเลยทีเดียว

สำหรับสโมสรและสปอนเซอร์แขนเสื้อในฤดูกาล 2017-18 ของทีมอื่นๆประกอบด้วย ไบรท์ตัน – JD, เวสต์ บรอมวิช – 12BET, เวสต์แฮม – MRF Tyres, นิวคาสเซิล – MRF Tyres, บอร์นมัธ – M88, สวอนซี – Barracuda Networks, สโต๊ค – First Eleven, เซาแธมป์ตัน – Virgin Media, เลสตอร์ – Siam Commercial Bank (ธนาคารไทยพาณิชย์), คริสตัล พาเลซ – Dongqiudi, ฮัดเดอรฟิลด – PURE Legal และ วัตฟอร์ด – 138 Bet

มาช้าดีกว่าไม่มา “สเปอร์ส” เพิ่งติดโลโก้สินค้าที่แขนเสื้อต้นปี 2021

อาร์เซนอล, แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และสเปอร์ส เป็นเพียงสามทีมในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2017-18 ที่ไม่ได้ขายโลโก้บนแขนเสื้อ แต่ซีซั่นต่อมา 2018-19 เหลือเพียงทีมไก่เดือยทองที่ยังติดโลโก้พรีเมียร์ลีกบนแขนเสื้อสองข้าง หลังจากทีมปืนใหญ่เซ็นสัญญากับ Rwanda Development Board ในเดือนพฤษภาคม 2018 เพื่อโปรโมทแคมเปญท่องเที่ยว Visit Rwanda ในซีซั่นแรกของยุคหลังอาร์แซน เวนเกอร์ และทีมปีศาจแดงเซ็นสัญญากับ KOHLER ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน

กว่าที่ทีมสเปอร์สจะขายสปอนเซอร์แขนเสื้อได้ก็ช้ากว่าทีมอื่นเกือบสี่ปี ซึ่ง ดาเนียล เลวี ประธานสโมสร เคยให้เหตุผลว่าสปอนเซอร์แขนเสื้ออาจจะไปลดมูลค่าของสัญญาสิทธิ์การตั้งชื่อสนามแข่งขัน ซึ่งสำหรับตัวเขาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก แม้กระทั่งในเดือนกรกฎาคม 2019 ซึ่งสโมสรได้ต่อสัญญากับ AIA Group สปอนเซอร์หลักของเสื้อแข่ง ไปจนสิ้นสุดซีซั่น 2026-27 ซึ่งคาดว่ามีมูลค่ารวมสูงถึง 320 ล้านปอนด์ เลวีก็ยังไม่เอ่ยถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับสปอนเซอร์แขนเสื้อ ซึ่งนักวิเคราะห์ด้านการเงินประเมินว่า สเปอร์สขาดรายได้ส่วนนี้ไปถึง 10 ล้านปอนด์ต่อปี เมื่อเทียบกับคู่แข่งร่วมกรุงลอนดอนอย่างเชลซีและอาร์เซนอลที่รับเงินจาก Hyundai 5 ปี 50 ล้านปอนด์ และ Rwanda Development Board 3 ปี 30 ล้านปอนด์ ตามลำดับ

จนกระทั่งต้นเดือนมกราคม 2021 ท็อตแนม ฮ็อตสเปอร์ ได้จับมือกับ Cinch บริษัทจำหน่ายรถยนต์ทางออนไลน์ ซึ่งจะมาเป็นสปอนเซอร์แขนเสื้อรายแรกของสโมสรเป็นเวลาห้าปี โดยแฟนบอลได้เห็นโลโก้ Cinch เป็นครั้งแรกในการแข่งขันเอฟเอ คัพ กับ มารีน เอเอฟซี ในวันที่ 10 มกราคม 2021

แม้ไม่มีการเปิดเผยตัวเลขเงินของสัญญาแต่เชื่อว่า Cinch คงจ่ายเงินเพื่อแลกสิทธิปรากฎโลโก้บนแขนเสื้อทีมไก่เดือยทองราวปีละ 10 ล้านปอนด์เช่นเดียวกับยักษ์ใหญ่ทีมอื่น ส่วนเหตุผลที่ฝ่ายบริหารของสโมสรตัดสินใจขายพื้นที่บนแขนเสื้อข้างซ้ายให้กับบริษัทจำหน่ายรถยนต์นั้น ผู้สันทัดกรณีฟันธงว่า ไม่มีความซับซ้อนใดๆเพียงเลวีเริ่มตระหนักว่า การเพิ่มช่องทางของรายได้จะช่วยลดช่องว่างทางบัญชีการเงินระหว่างสเปอร์สกับสโมสรชั้นนำของพรีเมียร์ลีกที่ดูเหมือนจะทิ้งห่างพวกเขาออกไปเรื่อยๆ

มีคำกล่าวหนึ่งที่คนในวงการฟุตบอลอาชีพคุ้นเคยดีคือ “เมื่อคุณมีเงิน คุณจะชนะ, คุณไม่สามารถชนะจนกว่าคุณมีเงิน, จากนั้นยิ่งคุณชนะ คุณยิ่งต้องมีเงินเพื่อรักษาชัยชนะนั้นไว้”

เรียบเรียง : ฐปน วันชูเพลา

Categories
Our Work

สนุกมากกว่าเดิม! “ลาลีกา” จัดเต็มให้แฟนบอลไทยลุ้นตลอดซีซั่น เกาะติดเกมลูกหนังผ่านแอพ LaLiga Pass

“ลาลีกา” จัดเต็มซีซั่น 2022/23 ให้แฟนบอลไทยลุ้นสนุกมากกว่าเดิม จาก 380 แมตช์ตลอดฤดูกาลผ่าน  “LaLiga Pass” เทคโนโลยีการถ่ายทอดสดที่ทันสมัยสุดในโลก อีกทั้งมีการพัฒนาด้านคอนเทนท์ที่ทำให้แฟนลูกหนังในประเทศไทยได้ใกล้ชิดลีกกระทิงดุมากยิ่งขึ้น

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2022 ณ ร้านอาหาร Reunion ชั้น 5 ตึก D.O.M. ปากซอยวิภาวดี 20 “ลาลีกา ประเทศไทย” ได้จัดกิจกรรมเปิดตัวฟุตบอล ลาลีกา สเปน ฤดูกาลใหม่ 2022-23 ผ่านเทคโนโลยีการถ่ายทอดสดอันทันสมัยที่สุดในโลก พร้อมเชิญสื่อกีฬาร่วมพูดคุยแบบเรียบง่ายและกันเอง ภายใต้อีเวนท์ “WHAT HAPPENS IN LALIGA STAYS WITH YOU”

โดย มร.จอร์โจ ปอมปิลิ รอสซี ตัวแทน ลาลีกา ประเทศไทย กล่าวว่า “ฟุตบอลลาลีกา สเปน ฤดูกาล 2022/23 เริ่มต้นอย่างเป็นทางการแล้วกับความตื่นเต้นครั้งใหม่ที่อุดมไปด้วยนักเตะระดับซูเปอร์สตาร์ และการแข่งขันที่เข้มข้นกว่าทุก ๆ ฤดูกาลที่ผ่านมา ผ่านเทคโนโลยีการถ่ายทอดสดที่ทันสมัยที่สุดในโลก จาก 380 แมตช์ตลอดฤดูกาล มีเกมสำคัญให้แฟน ๆ ได้ติดตาม ทั้ง “มาดริดดาร์บี้” (เรอัล มาดริด – แอตเลติโก มาดริด), “เอล กลาซิโก้” (เรอัล มาดริด – บาร์เซโลน่า) รวมถึงดาร์บี้แมตช์อื่น ๆ เช่น ดาร์บี้แห่งคาตาลัน (บาร์เซโลน่า – เอสปันญ่อล), ดาร์บี้แห่งบาสก์ (เรอัล โซเซียดัด – แอธเลติก บิลเบา) และดาร์บี้แห่งอันดาลูเซีย (เรอัล เบติส – เซบีย่า)”

“ลาลีกา ยังเป็นผู้นําในการสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลสําหรับแฟน ๆ ในประเทศไทย คือการเปิดตัว LaLiga Pass ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม OTT ที่ถ่ายทอดสดฟุตบอล LaLiga Santander และ LaLiga SmartBank ครบทุกแมตช์ ผ่านโทรศัพท์มือถือ, เว็บไซต์ และสมาร์ททีวี 

โดยแฟนฟุตบอลชาวไทยสามารถรับชมการถ่ายทอดสดครบทุกแมตช์ ผ่านทางแอพลิเคชั่น LaLiga Pass และมีการบรรยายเป็นภาษาไทยด้วยในบางแมตช์ โดยสามารถสมัครสมาชิกแบบรายเดือน หรือทั้งฤดูกาล ชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่น True Money บนโทรศัพท์มือถือทั้งระบบ iOS และ Android” 

“สำหรับคอนเทนท์ใหม่ ที่จะมีอยู่ใน LaLiga Pass นับจากนี้ มีทั้งรายการสั้น, สารคดี และแมตช์ลาลีกาสุดคลาสสิก ที่สามารถรับชมได้ฟรี นอกจากนี้ ยังมีคอนเทนท์ที่จัดทำขึ้นเฉพาะในประเทศไทย กับรายการใหม่ “LaLiga Pass Show” วิเคราะห์เจาะลึกลาลีกาในทุกสัปดาห์ โดย 3 กูรูฟุตบอลสเปนชาวไทย ขวัญ ลามาเซีย, เจมส์ ลาลีกา และลูกชิ้น เสพติดบอลสเปน”

สำหรับลาลีกา ในฤดูกาลนี้ ได้รับการคาดหมายว่า จะเป็นการแข่งขันที่น่าตื่นเต้นที่สุดในรอบหลายทศวรรษ นำโดยเรอัล มาดริด ที่ตั้งเป้าจะป้องกันแชมป์ให้ได้อีกครั้ง และผู้ท้าชิงตลอดกาลอย่างบาร์เซโลน่า ของซาบี เอร์นานเดซ ที่มีความทะเยอทะยาน หวังทวงความยิ่งใหญ่กลับคืน รวมถึงแอตเลติโก มาดริดและเซบีย่า ที่พร้อมสอดแทรกลุ้นแชมป์เช่นเดียวกัน

ส่วนทีมระดับรองลงมา อย่างเช่น เรอัล เบติส เจ้าของแชมป์โคปา เดล เรย์ จากซีซั่นที่แล้ว, เรอัล โซเซียดัด, บียาร์เรอัล และบาเลนเซีย ยักษ์หลับที่ห่างหายจากความสำเร็จไปนาน ซึ่งพวกเขาพร้อมที่จะยกระดับทีมให้แข็งแกร่งขึ้นกว่าหลายปีที่ผ่านมา รวมถึง 3 ทีมน้องใหม่ ได้แก่ อัลเมเรีย, เรอัล บายาโดลิด และกิโรน่า ที่อาจสร้างเซอร์ไพรส์ชนิดที่คาดไม่ถึงก็เป็นได้

ก่อนเริ่มต้นฤดูกาลนี้ ลาลีกาได้มีผู้เล่นดาวดังเข้ามาใหม่หลายราย อาทิเช่น ออเรเลียง ชูอาเมนี่, อันโตนิโอ รูดิเกอร์, โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้, อักเซล วิตเซล เป็นต้น สมทบกับหน้าเก่าทั้งคาริม เบนเซม่า, เปดรี้, เจา เฟลิกซ์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีบรรดานักเตะดาวรุ่งอายุน้อยที่น่าจับตามอง เช่น กาบี้, เอดูอาร์โด้ คามาวิงก้า, นิโก้ วิลเลี่ยมส์, อเล็กซานเดอร์ อิซัค ฯลฯ

ในส่วนของสิทธิประโยชน์นอกสนาม ลาลีกาได้บรรลุข้อตกลงขายหุ้นให้กับ CVC มูลค่ากว่า 2 พันล้านยูโร เงินจำนวนนี้ จะถูกกระจายไปให้ทั้ง 44 สโมสรที่อยู่ภายใต้การดูแลของลาลีกา ทั้งดิวิชั่น 1 (LaLiga Santander) และดิวิชั่น 2 (LaLiga SmartBank) ในฤดูกาล 2022/23

ขณะที่สปอนเซอร์ Banco Santander จะเป็นสปอนเซอร์ชื่อการแข่งขันเป็นฤดูกาลสุดท้าย ขณะที่ Mahou San Miguel และ TVM ร่วมกับ PUMA, EA Sports, Microsoft, BKT, Sorare, Socios.com และ Dapper จะเป็นสปอนเซอร์หลักอย่างเป็นทางการ ส่วนผู้สนับสนุนลาลีกาในประเทศไทย ได้แก่ M88

LaLiga Pass พัฒนาขึ้นโดย LaLiga Tech ซึ่งเป็นบริษัทย่อยด้านเทคโนโลยีของลาลีกาโดยเฉพาะ โดยจะนำเสนอการแข่งขันลาลีกาทั้งแบบสด และดูย้อนหลังครบทุกแมตช์ ในรูปแบบ OTT สามารถเลือกรับชมได้ตามความต้องการ ทุกที่ ทุกเวลา นอกจากนี้ยังมีไฮไลท์การแข่งขัน, บทสัมภาษณ์สุดพิเศษ และเนื้อหาอื่น ๆ ที่มานำเสนอทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือ 24/7

มร.อัลเฟรโด้ แบร์เมโจ้ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธิ์ดิจิทัลของลาลีกา กล่าวเสริมว่า “เรามีความมุ่งมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในการนำเสนอบริการที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ให้กับแฟน ๆ ของเรา เพื่อให้เพลิดเพลินกับประสบการณ์อันยอดเยี่ยมที่ได้รับจาก LaLiga Pass การเพิ่มคอนเทนท์เป็นภาษาท้องถิ่น และอุปกรณ์ที่รองรับมากขึ้น เป็นเพียงบางส่วนที่เรากำลังทำขึ้นมาสำหรับฤดูกาลใหม่เพื่อทำให้แฟนลูกหนังในประเทศไทยได้ใกล้ชิดลีกกระทิงดุมากขึ้น”

LaLiga Pass ยังเป็นตัวแทนของรูปแบบธุรกิจใหม่ ที่จะปรับปรุงประสบการณ์ของแฟน ๆ ที่ติดตามลาลีกาจากทั่วโลก และช่วยดึงดูดแฟนบอลหน้าใหม่ให้มากขึ้น รวมถึงการนำเสนอเทคโนโลยีที่สามารถใช้ประโยชน์จากบริษัทอื่น ๆ ผ่าน LaLiga Tech

สุดท้ายดาวน์โหลดเลยรับชมความสนุกที่นี่ได้เลย : https://bit.ly/3KZimxr