Categories
Football Business

แฟร์เพลย์ทางการเงิน : เปิดเพดานค่าใช้จ่ายของสโมสรในลาลีกา ช่วงต้นปี 2022

เมื่อวันจันทร์ที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา ลาลีกา ลีกฟุตบอลอาชีพของสเปน ได้ออกมาเปิดเผยงบการเงินของ20 สโมสรในดิวิชั่น 1 (LaLiga Santander) และ 22 สโมสรในดิวิชั่น 2 (LaLiga Smartbank)

หลังจากที่ตลาดซื้อ-ขายนักเตะช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาได้ปิดทำการเรียบร้อย แต่ละสโมสรได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเงิน ซึ่งส่งผลถึงเพดานค่าใช้จ่ายที่ถูกกำหนดไว้ ตามกฎควบคุมการเงินของลาลีกา

แล้วมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายและหนี้สิน ส่งผลอย่างไรกับวงการลูกหนังแดนกระทิงดุ วันนี้เพจ “ไข่มุกดำ” จะมาขยายให้ฟังกันครับ

“ลา คอรุนญ่า” จากฟ้าสู่เหว

ในวงการฟุตบอลสเปน เคยมีสโมสรหนึ่งที่ล่มสลายเพราะปัญหาการเงิน นั่นคือเดปอร์ติโบ ลา คอรุนญ่า สโมสรจากแคว้นกาลีเซีย ที่เคยขึ้นสู่จุดสูงสุด ถึงขั้นคว้าแชมป์ลาลีกามาแล้วเมื่อปี 2000

ยุครุ่งเรืองของลา คอรุนญ่า เป็นช่วงที่เอากุสโต้ เซซาร์ เลนดอยโร่ เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสร เขาเป็นผู้ที่มีความทะเยอทะยานอย่างสูง ในการพาลา คอรุนญ่า ประสบความสำเร็จให้ได้

ความสำเร็จของ “ซูเปอร์เดปอร์” ในยุคของประธานเลนดอยโร่ นอกจากแชมป์ลาลีกาครั้งเดียวในประวัติศาสตร์สโมสรเมื่อ 22 ปีก่อนแล้ว ยังมีแชมป์โคปา เดล เรย์ 1 สมัย และแชมป์สแปนิช ซูเปอร์คัพ 3 สมัย

กระทั่งในปี 2005 ลา คอรุนญ่า ไม่สามารถทำอันดับเพื่อคว้าสิทธิ์ไปเล่นยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก และฆาเบียร์ อีรูเรต้า ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม ยุคทองของลา คอรุนญ่า ก็สิ้นสุดลง

https://today.line.me/th/v2/article/l8BD0L

การที่ลา คอรุนญ่า ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขันยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ทำให้สโมสรขาดรายได้ก้อนโต อีกทั้งหนี้สินที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ จึงจำเป็นต้องปล่อยนักเตะตัวหลักออกไปหลายคน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย

ท้ายที่สุด ลา คอรุนญ่า ก็ไม่สามารถฝืนความจริงอันโหดร้ายได้ ต้องตกชั้นจากลาลีกา ในฤดูกาล 2010/11 ตามมาด้วยหนี้สินที่พุ่งสูงถึง 160 ล้านยูโร ส่งผลให้เลนดอยโร่ ประธานสโมสรต้องออกจากตำแหน่ง

ถึงแม้จะเลื่อนชั้นขึ้นมาอยู่ลีกสูงสุดได้พักใหญ่ๆ แต่ก็ต้องตกชั้นกลับลงไปอีก และร่วงลงสุดขีดถึงขั้นลงไประดับดิวิชั่น 3 ในปัจจุบัน ซึ่งไม่มีใครคาดเดาได้เลยว่า เดปอร์ติโบ ลา คอรุนญ่า จะกลับขึ้นสู่จุดนั้นได้อีกเมื่อไหร่

แชมป์ในสนาม แต่ช้ำนอกสนาม

เรอัล มาดริด และบาร์เซโลน่า ถึงแม้จะเป็น 2 สโมสรที่คว้าโทรฟี่มากที่สุดในวงการลูกหนังสเปน แต่สิ่งที่ทั้งคู่ประสบปัญหาไม่ต่างกันเลยคือ ปัญหาภาวะหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมานานหลายปี

แน่นอนว่า ทั้งเรอัล มาดริด และบาร์เซโลน่า ต่างแข่งขันกันอย่างดุเดือดทั้งในสนามและนอกสนาม เพื่อแย่งชิงความสำเร็จ เพราะแฟนบอลทั้ง 2 ทีมคงยอมไม่ได้ ถ้าพ่ายแพ้ให้กับคู่ปรับตลอดกาล

แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เรอัล มาดริด และบาร์เซโลน่า ได้รับผลกระทบหนักพอสมควร จากการที่สโมสรไม่มีรายรับ มีแต่รายจ่าย ส่งผลให้ทั้งคู่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

https://web.facebook.com/RealMadrid

เริ่มกันที่เรอัล มาดริดกันก่อน ภาวะหนี้สินของยักษ์ใหญ่จากเมืองหลวงของสเปน เกิดจากนโยบาย “กาลาติกอส” ของฟลอเรนติโน่ เปเรซ ประธานสโมสร ที่ใช้เงินซื้อนักเตะระดับเวิลด์คลาสเข้าสู่ทีมมากมาย

นับจนถึงปัจจุบัน ราชันชุดขาวมีหนี้สินมากถึง 651 ล้านยูโร เกิดจากการแบกรับค่าเหนื่อยนักเตะที่มหาศาล อีกทั้งมีการปิดปรับปรุงสนามซานติอาโก้ เบอร์นาเบว ในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 ระบาด

แต่ทีมที่สาหัสกว่า ก็เห็นจะเป็นบาร์เซโลน่า ที่มียอดหนี้สินพุ่งสูงถึง 1 พันล้านยูโร แถมยังค้างค่าตัวนักเตะจากสโมสรอื่นๆ หลายคน ซึ่งยอดหนี้สินจำนวนนี้ มีความสุ่มเสี่ยงอาจถึงขั้นล้มละลายได้เลยทีเดียว

นอกจากปัญหาโควิด-19 แล้ว สาเหตุสำคัญที่ทำให้บาร์ซ่ามีหนี้สินท่วมท้นขนาดนี้ เพราะการบริหารงานที่ผิดพลาดในยุคที่โจเซป มาเรีย บาร์โตเมว เป็นประธานสโมสรในช่วงระหว่างปี 2014-2020

บาร์โตเมว มีนโยบายซื้อนักเตะราคาแพง สมกับฉายา “เจ้าบุญทุ่ม” โดยจ่ายเงินไปเกือบ 1 พันล้านยูโร แต่ต้องแลกมาด้วยการแบกภาระค่าเหนื่อยของผู้เล่นที่สูงถึง 74 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ทั้งหมด

เมื่อสถานะทางการเงินได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทำให้มีความพยายามในการลดรายจ่ายให้ได้มากที่สุด ซึ่งหนึ่งในแนวคิดในการลดรายจ่ายคือ การปล่อยตัวลิโอเนล เมสซี่ ออกจากสโมสร

แน่นอนว่า การปล่อยซูเปอร์สตาร์หมายเลข 1 ของทีมอย่างเมสซี่ เป็นสิ่งที่สาวกอาซุลกราน่า ไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ท้ายที่สุด เมสซี่เป็นฝ่ายที่ต้องออกจากสโมสร ทิ้งผลงานที่ยิ่งใหญ่ให้แฟนๆ ได้จดจำ

เมื่อบาร์ซ่าไม่สามารถรั้งเมสซี่ไว้ได้ ทำให้บาร์โตเมว ต้องอำลาตำแหน่ง พร้อมกับส่งต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการบริหารที่ผิดพลาด ไปให้โจน ลาปอร์ต้า ที่กลับมารับตำแหน่งประธานสโมสรอีกครั้ง

จากภาวะหนี้สินที่ท่วมท้น นั่นทำให้ 2 ยักษ์ใหญ่ของสเปน ตัดสินใจเข้าร่วมโปรเจค “ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ลีก” ร่วมกับอีก 10 สโมสรชั้นนำของยุโรป เพื่อหวังรายได้ที่เข้ามาอย่างจุใจ แต่โปรเจคนี้ก็ถูกล้มในที่สุด

ตัวอย่างจากการที่สโมสรฟุตบอลระดับยักษ์ใหญ่ของวงการ ใช้จ่ายเงินอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง จนเกิดหนี้สิน แล้วคิดว่าในอนาคตจะมีเงินเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย คือหลักความคิดที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง

ควบคุมการเงินเพื่อความยั่งยืน

นับตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา สโมสรในลาลีกาได้ลงมติเห็นชอบให้มีการกำหนดกรอบควบคุมการเงินและหนี้สิน เพื่อป้องกันไม่ให้สโมสรใช้จ่ายเงินแบบเกินตัว และส่งผลถึงความยั่งยืนในระยะยาว

สำหรับกรอบควบคุมการเงินของลาลีกานั้น จะแตกต่างจากกฎไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์ ของยูฟ่า โดยจะมีการวิเคราะห์สภาพการเงิน โดยใช้เพดานค่าใช้จ่ายที่แต่ละสโมสรจะนำไปใช้จ่ายล่วงหน้าได้

จาก 20 สโมสรในลีกสูงสุด มีถึง 12 ทีม ที่สามารถเพิ่มเพดานในการใช้จ่ายที่มากขึ้น, มี 7 ทีม ที่ถูกลดเพดานค่าใช้จ่ายลง และเรอัล มาดริด เป็นทีมที่ทีเพดานสูงสุด คือ 739 ล้านยูโร ซึ่งเท่ากับช่วงซัมเมอร์ปี 2021

ฆาเบียร์ โกเมซ ผู้อำนวยการทั่วไปของลาลีกา แถลงว่า “สถานการณ์ทางการเงินเมื่อเทียบกับช่วงซัมเมอร์ปีที่แล้ว ถือว่าเป็นไปในทางที่ดีขึ้น เพราะแต่ละสโมสรได้ประเมินถึงความสูญเสียที่อาจมากกว่าความเป็นจริง”

บาร์เซโลน่า เป็นเพียงสโมสรเดียวใน 44 สโมสรของลาลีกาทั้ง 2 ดิวิชั่น ที่มีตัวเลขติดลบมากถึง 144 ล้านยูโร เมื่อเทียบกับช่วงตลาดนักเตะซัมเมอร์ปีที่แล้ว ที่ยักษ์ใหญ่แห่งคาตาลัน มีสิทธิ์ใช้จ่ายได้สูงสุด 97 ล้านยูโร

ตามกฎข้อที่ 100 ของลาลีการะบุว่า อนุญาตให้สโมสรใช้จ่ายเงินที่สูงกว่าเพดานที่กำหนดไว้ ถ้าสามารถลดค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่ ก็จะได้รับอนุญาตให้ใช้จ่ายได้ 25 เปอร์เซ็นต์ แต่อาจยืดหยุ่นได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์

โกเมซ ได้อธิบายถึงกฎ 1 ใน 4 ว่า “ลาลีกาสนับสนุนให้ทุกสโมสรมีความสามารถในการแข่งขันที่ดี ควบคู่ไปกับการสร้างสภาพทางการเงินในด้านบวก ทางลาลีกาอนุญาตให้ซื้อผู้เล่นได้ แต่มีเงื่อนไขบางประการ”

“เมื่อสโมสรมีการซื้อผู้เล่นใหม่ เราจะบังคับให้มีการตัดค่าใช้จ่ายพร้อมกับการซื้อผู้เล่นด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากสโมสรสามารถประหยัดเงินได้ 100 ล้านยูโร ก็จะอนุญาตให้ใช้จ่ายได้ 25 ล้านยูโร”

ผลจากการกำหนดกรอบควบคุมค่าใช้จ่ายและหนี้สินของลาลีกาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้หลายๆ สโมสร ค่อยๆ เพิ่มเพดานในการใช้จ่ายที่มากขึ้น และหนี้สินของแต่ะสโมสรเริ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ถึงแม้ว่าจะมีเหตุการณ์ใหญ่อย่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมฟุตบอลทั่วโลกได้รับผลกระทบ แต่ทั้ง 44 สโมสร จาก 2 ดิวิชั่นของลาลีกา ก็สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตดังกล่าวได้

โกเมซ สรุปปิดท้ายว่า “เราไม่มีความกังวลเลย ถึงแม้ว่าบางสโมสรอย่างเช่น บาร์เซโลน่า อาจมีปัญหามากกว่าสโมสรอื่นๆ แต่เราก็แสดงให้เห็นแล้วว่า มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายและหนี้สินนั้นได้ผลที่ดี”

ในวงการฟุตบอล การบริหารจัดการเงิน คือสิ่งที่สำคัญที่สุดของทุกสโมสรฟุตบอลในโลก ความทะเยอทยานที่มาพร้อมกับวินัยทางการเงิน จะช่วยให้สโมสรฟุตบอลอยู่รอดได้ในระยะยาวอย่างแน่นอน

Author : จักรพันธ์ ภู่ทอง

Photo : Marca

อ้างอิง :

– https://www.fourfourtwo.com/features/deportivo-coruna-la-liga-segunda-champions-league-title-1999-2000

– https://theathletic.com/1432334/2019/12/05/this-is-the-worst-crisis-in-our-history-and-we-must-act-before-it-is-too-late-how-deportivo-went-from-title-winners-to-the-verge-of-oblivion-in-20-years/

– https://www.fcbarcelona.com/en/club/news/1856468/the-201920-economic-year-ends-with-losses-of-97-million-euros-caused-by-the-effects-of-covid-19

– https://www.marca.com/en/football/barcelona/2022/03/14/622f3bd8ca4741dc348b45f7.html

Categories
Football Business

ElClásico Boat Party Exclusive Trip : ล่องเรือปาร์ตี้ พรีวิวก่อนเกม “ราชันชุดขาว” ปะทะ “เจ้าบุญทุ่ม”

เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมทางการตลาดของลีกฟุตบอลสเปน ลาลีกา ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยตัวแทน มร.จอร์โจ ปอมปิลิ รอสซี ได้ต่อยอดการสร้างประสบการณ์ต่าง ๆ ของลาลีกาแบบครบวงจร 360 องศาทั้งใน และนอกสนามสู่แฟนลูกหนังชาวไทย และล่าสุด คือ งาน ElClásico Boat Party Exclusive Trip : ล่องเรือปาร์ตี้ พรีวิวก่อนเกม “ราชันชุดขาว” ปะทะ “เจ้าบุญทุ่ม” ที่จะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2565

โดยคอนเซ็ปต์ คือ พักเรื่องดูบอลในสนาม แล้วมาสนุกไปกับงานสุดพิเศษสำหรับคอบอล“ElClásico Boat Party Exclusive Trip” ซึ่งจะจัดเต็มพรีวิว พูดคุยก่อนเกมคู่บิ๊กแมตช์ระหว่าง “เรอัลมาดริด” ปะทะ “บาร์เซโลน่า” 3.00 นาฬิกาหลังเที่ยงคือวันอาทิตย์ที่ 20 มี.ค.2022 ที่เหล่าสาวกฟุตบอลสเปน ห้ามพลาด !!! ร่วมลุ้นรับสิทธิ์เข้างาน ฟรี! กิน ดื่ม ตลอดทริป 3 ชั่วโมงกับวิว 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และบทสนทนาลูกหนังสเปน

“กิจกรรมนี้เป็นอีกก้าวย่างของ ลาลีกา ในประเทศไทยที่มีความต้องการจะมอบประสบการณ์ร่วมกับฟุตบอลสเปนในรูปแบบต่าง ๆ ให้เกิดกับแฟนบอลชาวไทยที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่การชมฟุตบอล เช่น ครั้งก่อนกับกิจกรรม กางเต็นท์ดูบอล LaLiga Football Camping หรืองานฟุตบอลพร้อมรับประทานอาหารสเปนจากภูมิภาคต่าง ๆ อิงกับเกมดาร์บี้แมตช์ และครั้งนี้ คือ การลงเรือทอดบรรยากาศริม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศไทยโดยเราได้สอดแทรกคอนเทนท์เป็นการพูดคุยถึงเกม เอลกลาสซิโก สุดสัปดาห์นี้ระหว่าง เรอัล มาดริด – บาร์เซโลน่า เป็นตัวชูโรงบทสนทนาบนเรือที่จะได้กูรูบอลสเปนที่หลายคนชื่นชอบมาเล่าเรื่องราวดี ๆ ให้ฟัง อีกทั้งแขกรับเชิญบนเรือยังจะได้สัมผัสบรรยากาศที่ทางลาลีกาบรรจงจัดเตรียมไว้ให้บนเรือร่วมกับสื่อมวลชนสายฟุตบอลในประเทศไทย”

มร.จอร์โจ ปอมปิลิ รอสซี กล่าว

ล่องเรือดินเนอร์ ปาร์ตี้ยามเย็น ดื่มด่ำกับบรรยากาศแม่น้ำเจ้าพระยาสุดโรแมนติกไปด้วยกัน ท่ามกลางวิวเปิดโล่ง บนเรือส่วนตัว “เรือสบาย ครุยส์” พร้อมกับพบแขกรับเชิญสุดพิเศษ และอินฟลูเอนเซอร์ตัวจริง สายฟุตบอล นำโดย เจมส์ ลาลีกา และเดอะนัทซัดหมดแม็กซ์ ที่จะมาร่วมสร้างสีสัน และความสนุกไปด้วยกัน

นอกจากนี้ภายในงานมีกิจกรรมให้ร่วมชิงของรางวัลอีกมากมาย อาทิ ทริป 3 วัน 2 คืนพร้อม pocket money บินไปพักที่ภูเก็ตกับโรงแรมหรู และเพลิดเพลินไปกับดนตรี กิจกรรมสนุก ๆ ระหว่างดินเนอร์บนเรือหรูตลอดช่วงเวลา

ย้ำ….งานนี้ลุ้นรับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมฟรี !! (จำนวนจำกัด)

กติกาลุ้นรับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมฟรี!

1. สแกน QR Code หรือ คลิกที่ลิงนี้ https://bit.ly/34JdL1C แล้วกรอกข้อมูลตามขั้นตอน

2. แจ้งชื่อ-นามสกุล เบอร์ติดต่อ และ E-mail 

3. ส่งภาพถ่ายที่แสดงความเป็น LaLiga ของคุณมาในแบบฟอร์ม

กติกาลุ้นรับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมฟรี!

สำหรับการประกาศผลว่าใครจะเป็นผู้โชคดีได้เข้าร่วมกิจกรรม จะทำการประกาศในวันที่ 17 มีนาคม 65 ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อไป พร้อมส่งการ์ดเชิญให้ทาง E-Mail

สุดท้ายนี้ อย่าลืม ! แอดไลน์ @khaimukdam กันไว้ เพื่อไม่ให้พลาดกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ และสามารถเข้ามาพูดคุย สอบถามกันได้

แล้วเตรียมตัวไปสนุกด้วยกัน…

กำหนดการงาน LaLiga x M88 (ล่องเรือ 3 ชม)

ท่าเรือราชบูรณะ เข้าซอยราชบูรณะ 23 (ปากทางเป็นสำนักงานเขตฯ) 

ผู้เข้าร่วมงาน 80 คน

🔺16.20-17.45 น. ลงทะเบียน พร้อมตรวจ ATK และสแกน QR Code

🔺18.00 เรือออกจากท่า

🔺18.10 พิธีกรกล่าวต้อนรับแขกพิเศษทุกคน

🔺18.15 ตัวแทนลาลีกาจากสิงคโปร์กล่าว และ Talk KOLs

🔺19.00 ถ่ายภาพรวม

🔺19.05 แจ้งกิจกรรมร่วมสนุกบนเรือ

🔺19.10 รับประทานอาหาร ฟังดนตรี (EDM or acoustic)

🔺 20.20 Lucky draw ลุ้นแพ็คเกจที่พักภูเก็ต 3 วัน 2 คืนพร้อม Pocket Money

🔺21.00 ขึ้นฝั่งโดยปลอดภัย และมีความสุข

.

📝 ภาวินีย์ สูญสิ้นภัย

Categories
Football Business

ดิจิทัลเปลี่ยนโลกฟุตบอล : “พรีเมียร์ลีก” กับการเปิดประมูลสิทธิ์ NFT

เมื่อกระแสของโลก “ดิจิทัล” กำลังจะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับโลกมนุษย์อีกสเต็ปหนึ่งผ่านสกุลเงิน และสินทรัพย์ในรูปแบบดิจิตัล วงการฟุตบอลก็เช่นกัน หากสังเกตดี ๆ เราจะเริ่มเห็นการนำสิ่งต่าง ๆ ที่เป็น และน่าจะเป็นสินทรัพย์จับต้องได้เกี่ยวกับฟุตบอลมาแปลงให้เป็น “สินทรัพย์ดิจิตอล” เพื่อเพิ่มมูลค่ากันมากขึ้น

ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ก็มีแผนที่จะเข้าสู่โลกดิจิทัลนี้ โดยเตรียมเปิดประมูลเพื่อขายลิขสิทธิ์ในการผลิตสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ NFT ซึ่งผู้ชนะการประมูลจะได้สิทธิ์เป็นเวลา 4 ปีด้วยกัน

แล้วสินทรัพย์ดิจิทัล จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการลูกหนังเมืองผู้ดีอย่างไร ? วันนี้เพจ “ไข่มุกดำ” จะมาขยายให้ฟังกันครับ

NFT คืออะไร ?

NFT ย่อมาจากคำว่า Non-fungible tokens หมายถึง สินทรัพย์ที่ถูกแปลงไปอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ภายใต้เทคโนโลยีบล็อกเชน (blockchain) ที่ใช้กับสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซี

ลักษณะเด่นของ NFT นั้น จะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีผู้ถือครองได้แค่คนเดียว และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่สามารถทำซ้ำ หรือคัดลอกได้ ทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่า ใครคือเจ้าของตัวจริง

ซึ่งข้อดีของ NFT คือ สามารถซื้อ-ขาย หรือโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่ต้องมีคนกลาง แถมมีความปลอดภัย เพราะทุกกิจกรรมหรือธุรกรรมที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกไว้ทั้งหมด สามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้

ระบบของ NFT ทำให้สินทรัพย์ หรือของสะสมที่มีมูลค่า สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ง่ายดายมากขึ้น ในต้นทุนที่ต่ำลง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์ จนเกิดโอกาสในการทำเงินได้อีกด้วย

สินทรัพย์ดิจิทัลประเภท NFT ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นผู้สร้างงาน และขายงานได้ หากงานนั้นๆ ถูกตาต้องใจผู้ที่ต้องการจะครอบครอง ถือเป็นการเปิดพื้นที่ในการแสดงผลงานของตัวเองได้มากขึ้น

วงการฟุตบอลช่วยขับเคลื่อน NFT

ในช่วงแรกของ NFT นั้น ใช้เฉพาะในกลุ่มเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น เช่นศิลปะ, เพลง หรือเกม แต่เมื่อความนิยมแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็เข้าสู่แวดวงกีฬา และแน่นอนว่า “ฟุตบอล” คือหนึ่งในนั้น

ล่าสุด ลีกสูงสุดของอังกฤษ ได้เปิดให้ประมูลสิทธิ์ NFT ซึ่งในเวลานี้ มีผู้สนใจ 4 ราย ได้แก่ Sorare, Candy Digital, Dapper Labs และ ConsenSys มูลค่าอยู่ระหว่าง 220 – 434 ล้านปอนด์

จากนั้น ผู้เข้าประมูลทั้ง 4 ราย จะต้องนำเสนอรายละเอียดให้กับ 20 สโมสรสมาชิกพรีเมียร์ลีกในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ สำหรับผู้ชนะในการประมูล จะได้รับสิทธิ์ NFT เป็นเวลา 4 ปี

ในส่วนของนักฟุตบอลที่มีมูลค่าสูงสุดใน NFT คือการ์ดสะสมหายาก Sorare ของเออร์ลิ่ง ฮาแลนด์ ที่ถูกประมูลไปด้วยราคา 5 แสนปอนด์ ทำลายสถิติการ์ดของคริสเตียโน่ โรนัลโด้ ที่ทำไว้ 3 แสนปอนด์ อย่างราบคาบ

ซึ่งการ์ดสะสมของ Sorare เป็นหนึ่งในคอลเล็กชันที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยสิ่งที่แตกต่างจากการ์ดแบบเก่าคือ การ์ด Sorare สามารถนำไปใช้กับเกมฟุตบอลแฟนตาซีได้ด้วย

หรือตำนานนักฟุตบอลอย่างจอห์น เทอร์รี่ อดีตกัปตันทีมชาติอังกฤษและเชลซี ก็ได้ปล่อยผลงาน NFT คอลเล็กชัน “Ape Kids Club” เป็นภาพลิงสีน้ำเงินสวมปลอกแขนกัปตันทีม พร้อมกับถ้วยแชมป์หลายใบอย่างไรก็ตาม เทอร์รี่อาจถูกทางพรีเมียร์ลีก และสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) สอบสวนว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่ หากมีการละเมิดจริงก็จะดำเนินคดีต่อไป

การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง

การลงทุนใน NFT ก็เหมือนกับการลงทุนประเภทอื่น ๆ คือมีความเสี่ยง ที่มีผลลัพธ์ทั้งด้านบวกและลบ แต่การลงทุนบางประเภทที่ยังไม่มีกฎหมายมารองรับอย่างชัดเจน ก็อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายได้

เมื่อเดือนตุลาคม ปีที่แล้ว Sorare แพลตฟอร์มดิจิทัลฟุตบอลของฝรั่งเศส หนึ่งในผู้เข้าประมูล NFT กับทางพรีเมียร์ลีก ถูกหน่วยงานด้านตรวจสอบการพนันสอบสวนว่า เข้ามาทำธุรกิจในอังกฤษโดยไม่ได้รับอนุญาต

โดยหน่วยงานด้านตรวจสอบการพนัน ได้กล่าวว่า “เราพบว่า Sorare ได้เข้ามาให้บริการในสหราชอาณาจักร แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของเรา เราขอเตือนแฟนฟุตบอลให้หลีกเลี่ยงการลงทุนแบบนี้”

ขณะที่โฆษกของ Sorare กล่าวว่า “เป็นเรื่องปกติที่จะมีการตรวจสอบแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นใหม่ และจะทำเพื่อผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ เราจะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เข้ามาสอบสวนอย่างเต็มที่”

“Sorare ได้เป็นพันธมิตรกับสโมสรฟุตบอลอย่างน้อย 230 สโมสร รวมถึงลีกสำคัญๆ หลายลีกของยุโรป เพื่อเสนอสินทรัพย์ดิจิทัลแบบ NFT ในรูปแบบของการ์ด และมีเกมฟุตบอลแฟนตาซีให้เล่นฟรี”

“แพลตฟอร์มของเราก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างคอนเน็คชั่นที่ดีระหว่างสโมสรกับแฟนบอลในรูปแบบดิจิทัล เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การบริการหรือการส่งเสริมการขายของเรา ไม่เกี่ยวข้องกับการพนันอย่างแน่นอน”

ความเสี่ยงของ NFT อีกอย่างที่สำคัญคือ การสูญหายของสินทรัพย์ แต่จะเป็นการสูญหายในเชิงเทคนิค เช่นในกรณีที่เราลืมรหัสผ่าน/กุญแจ จนไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้ หรือแพลตฟอร์มนั้นเกิดปิดตัวลงกะทันหัน

แม้ว่าโอกาสและแนวโน้มของ NFT จะเป็นไปในทางที่เติบโตขึ้นอย่างน่าตื่นเต้น แต่ก็ควรตระหนักไว้ว่า NFT มีความผันผวนได้เช่นกัน ดังนั้นการศึกษาเพิ่มเติมองค์ความรู้ในด้านนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญก่อนที่จะคิดลงทุน และสะสมสินทรัพย์ดิจิตอล ที่ตอนนี้กระแสกำลังเริ่มแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงข้อมูลข่าวสารก็ถาโถมเข้ามาอย่างมาก 

ทั้งนี้ก็เหมือนกับการลงทุนทุกชนิดที่มีความเสี่ยง เพราะยังไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า NFT จะพัฒนาไปสู่ตลาดที่มีมูลค่ามหาศาลเพียงใด และเปรียบเทียบกับการลงทุนในสกุลเงินดิจิตอลได้เพียงไหน แต่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ NFT ก็ถือเป็นการลงทุนในยุคดิจิทัลที่ต้องจับตามองในอนาคตต่อไป

เฉพาะอย่างยิ่ง NFT ได้ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมกีฬา และฟุตบอลอย่างเต็มตัวแล้ว

หมายเหตุ: สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง NFT ติดต่อ mkt.khaimukdam@gmail.com ทางไข่มุกดำ ร่วมกับพาร์ตเนอร์ EAST NFT สร้างสรรค์สินทรัพย์ดิจิตอล นักกีฬามีชื่อเสียง อยู่หลายรายในเวลานี้

Author : จักรพันธ์ ภู่ทอง

Photo : NFT News Pro

อ้างอิง : 

– https://www.dailymail.co.uk/sport/sportsnews/article-10525031/Gambling-Commission-probes-French-company-four-bidders-Premier-Leagues-NFT-licence.html

– https://www.dailymail.co.uk/sport/football/article-10464499/Erling-Haaland-NFT-trading-card-sells-500-000-SMASHING-previous-Cristiano-Ronaldo-record.html

– https://theathletic.com/2634415/2021/06/07/nfts-the-future-of-football-or-a-massive-con/

– https://theathletic.com/3142145/2022/02/22/players-odd-spremier-league-clubs-cashing-in-nfts/

– https://theathletic.com/3054372/2022/01/11/why-footballers-are-spending-thousands-on-cartoon-monkeys/

– https://theathletic.com/news/chelsea-looking-into-john-terry-promoted-nfts-that-use-club-assets-and-intellectual-property/ULpvNNPB7SHy/

– https://techstory.in/premier-league-to-fix-nft-deal-worth-up-to-590-million/

– https://www.ledgerinsights.com/premier-league-nft-football-rights-worth-up-to-590-million/

– https://bitcoinaddict.org/2021/05/14/the-nft-bible-part-1-what-is-nft/

Categories
Football Business

สรุป 4 ประเภทของ แรงจูงใจหลักในการซื้อ “สโมสรฟุตบอลอาชีพ”

ในปัจจุบัน สโมสรฟุตบอลในยุโรป ตกเป็นเป้าหมายทางธุรกิจของนักลงทุนมากมาย นับตั้งแต่นักธุรกิจท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงไปจนถึงมหาเศรษฐีจากต่างประเทศ หรือไล่ตั้งแต่ บริษัทเงินทุนส่วนตัวไปจนถึงกลุ่มผู้สนับสนุน แม้ว่าแต่ละฝ่ายอาจจะมีเหตุผลส่วนตัวร่วมด้วยในการซื้อสโมสรฟุตบอล แต่แรงจูงใจในการซื้อสโมสรของพวกเขา อาจจะไม่ต่างกันมากนัก

บทความนี้ทีมไข่มุกดำ ได้รวบรวมข้อมูลมาจากทีม KPMG ที่ได้เก็บข้อมูล และแรงจูงใจซึ่งพบบ่อยที่สุดในการถูกหยิบยกมาใช้เพื่อซื้อสโมสรฟุตบอลอาชีพ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ซึ่งทั้งหมดก็มีรายละเอียดของแต่ละหัวข้อต่อไปนี้ ได้แก่ ความเป็นเจ้าของทางการเมือง – ทุนยุทธศาสตร์ / ความเป็นเจ้าของทั่วโลก – ทุนทางเศรษฐกิจ / ความเป็นเจ้าของในท้องถิ่น – ทุนทางวัฒนธรรม /ความเป็นเจ้าของผู้สนับสนุน – ทุนทางสังคม

ความเป็นเจ้าของทางการเมือง – ทุนยุทธศาสตร์

1. การประชาสัมพันธ์เชิงบวกและการสร้างแบรนด์

สโมสรฟุตบอลเป็นสินทรัพย์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ มักจะเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และ ดึงดูดความสนใจจากผู้คนจำนวนมากรวมไปถึงผู้ชมจำนวนมาก จึงเหมาะที่จะทำหน้าที่เป็นช่องทางการสื่อสารและแพลตฟอร์มสื่อ

พวกเขาไม่เพียงแต่ถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับความสำเร็จและกิจกรรมของทีมไปยังแฟน ๆ เท่านั้น แต่ยังสามารถถ่ายทอดข้อความของพันธมิตรทางการค้าและผู้สนับสนุนในลักษณะที่มีประสิทธิภาพ ดึงดูดความสนใจ ทั้งยังกระจายไปอย่างรวดเร็ว

ขอบคุณรูปภาพจาก FB : Manchester City

สโมสรฟุตบอลสามารถเป็นตัวขับเคลื่อนสำหรับประเทศ บริษัท หรือบุคคล เพื่อเพิ่มการรับรู้แบรนด์และปรับปรุงภาพลักษณ์สาธารณะได้ ตัวอย่างเช่น ปารีส แซงต์ แชร์กแมง และ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ มักถูกมองว่าเป็นทูตของประเทศกาตาร์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตามลำดับ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เอซี มิลาน ซึ่งมีอดีตเจ้าของเป็นนักธุรกิจและอดีตนายกรัฐมนตรีอิตาลีอย่าง ซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี มาเกือบ 30 ปี เป็นต้น

2. ความสามารถในการโฆษณาที่ไม่เหมือนใคร

ในทำนองเดียวกันกับแรงจูงใจก่อนหน้านี้ เจ้าของอาจเลือกที่จะใช้ประโยชน์จากโอกาสในการสร้างแบรนด์และการสนับสนุน เพื่อใช้ใน บริษัท หรือ ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่พวกเขาเป็นเจ้าของหรือเกี่ยวข้องกัน ผ่านทางสโมสรฟุตบอลของตัวเอง

ตัวอย่างหนึ่งคือกรณีของ ไมค์ แอชลีย์ ที่เป็นเจ้าของทั้ง สปอร์ต ไดเร็ก และ ยังเป็นอดีตเจ้าของ นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด  และสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่โฆษณาที่สำคัญของสโมสร เพื่อสร้างแบรนด์ของธุรกิจให้เติบโตได้

3. แรงจูงใจทางภูมิรัฐศาสตร์

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ อุตสาหกรรมฟุตบอลได้เห็นการขยายตัวอย่างมากของการลงทุนจากบรรดาภาคธุรกิจของจีน โดยส่วนใหญ่แล้วแม้ว่าการเข้าซื้อกิจการของทีมยุโรป จะมีเป้าหมายจากรัฐบาลของจีนในการใช้เพื่อพัฒนาฟุตบอลในประเทศ

แต่ในบางกรณี การซื้อสโมสรจากกลุ่มทุนจีนถูกใช้ในรูปแบบของ “ซอฟต์ พาเวอร์” เพื่อให้ได้มาซึ่งสถานะทางการเมืองหรือตำแหน่งทางธุรกิจ ที่ได้เปรียบมากขึ้นภายในเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก

การใช้ “ซอฟต์ พาเวอร์” ของสโมสรฟุตบอลยังสามารถนำไปใช้เมื่อเข้าสู่ตลาดใหม่ในต่างประเทศ เช่น การเข้าซื้อกิจการของจีนล่าสุดของสโมสรมืออาชีพในเบอร์มิงแฮมสามแห่ง เป็นตัวอย่างของสิ่งนี้

4. Connection ทางธุรกิจ

การเป็นเจ้าของสโมสรมักจะนำเสนอบรรยากาศที่ไม่เหมือนใครสำหรับการพบปะกับผู้มีอิทธิพลสูง ความสัมพันธ์มากมายได้ถูกสร้างขึ้นผ่านการเข้าถึงห้องประชุมคณะกรรมการสโมสรฟุตบอลชั้นนำของโลก รวมถึงการมอบช่องทางการเสพความบันเทิงที่น่าประทับใจอย่างเกมฟุตบอล ให้กับคนดังและผู้ทรงอำนาจที่ต้องการเข้าร่วมการชมแข่งขัน

ความเป็นเจ้าของทั่วโลก – ทุนทางเศรษฐกิจ

1. การเพิ่มผลกำไรทางการเงินสูงสุด

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รายได้จากลิขสิทธิ์ที่พุ่งสูงขึ้น (โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร) ทำให้ความยั่งยืนทางการเงินเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยมี กฎ ไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์ เป็นข้อสนับสนุน ทำให้เหตุผลหลักที่อยู่เบื้องหลังการลงทุนของสโมสรฟุตบอลต่าง ๆ ถูกใช้เพื่อเป็นช่องทางดำเนินธุรกิจให้มีผลกำไร และทำให้เงินทุนของเจ้าของทีมที่ลงไปนั้นเติบโต

ขอบคุณรูปภาพจาก : The Guardian

ตัวอย่างของเหตุผลข้อนี้ ได้แก่ สโมสรฟุตบอล แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นเจ้าของโดยตระกูลเกลเซอร์ ที่เป็นนักลงทุนทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา และเมื่อพวกเขาตัดสินใจลงทุนในพรีเมียร์ลีก พวกเขาเลือก แมนฯ ยูไนเต็ด เป็นเป้าหมายในการเข้าซื้อกิจการ เนื่องจากสโมสรมีโอกาสดีที่จะประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์แล้ว เป็นแนวทางให้นักลงทุนชาวอเมริกันรายอื่น ๆ ได้เห็นตัวอย่างการเติบโตจากการลงทุนในทีมฟุตบอล และเข้ามาแสวงหากำไรหลังจากนั้นอีกหลายราย ทั้ง โครเอนเก และ เฟนเวย์ สปอร์ต กรุป

2. ศักยภาพในการเติบโตทั่วโลก

ความสนใจในฟุตบอลได้เติบโตขึ้นอย่างมากในระดับโลกในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา การเติบโตนี้ได้รับการเร่งความเร็วขึ้นโดยอินเทอร์เน็ตและการพัฒนาแพลตฟอร์มสื่อดิจิทัลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

การเติบโตนี้น่าสนใจสำหรับเจ้าของที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์นี้ หากนักลงทุนสามารถหาทีมที่ใช่ พร้อมใช้กลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จและค้นหาช่วงเวลาที่เหมาะสม อาจทำให้ทีมเติบโตอย่างรวดเร็วและให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้งยังสร้างผลกำไรได้มหาศาล

“โดยส่วนใหญ่ (สโมสรฟุตบอล) มักมองว่ากำไรจะมาในรูปแบบของถ้วยรางวัล ตราบใดที่สโมสรฟุตบอลยังคงทำผลงานได้ดีในสนามในระดับเดียวกับที่คุณซื้อสโมสรนั้นมา สโมสรจะคงคุณค่าและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมูลค่าได้ เป็นทรัพย์สินระยะยาวที่คุณน่าจะทำกำไรได้ไม่ยาก” รอรี มิลเลอร์ จากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลกล่าว

3. ข้อควรพิจารณาด้านภาษี

สำหรับเจ้าของบางคน สโมสร อาจจะมาในรูปแบบของบริษัทที่อาจจะช่วยให้เขาไม่ต้องเสียภาษีมากเกินไป หากนำเงินมาลงในปริมาณที่คำนวนแล้วทำให้สโมสรขาดทุนในรายปี นอกจากจะทำให้เจ้าของทีมไม่เสียภาษีแล้ว สิ่งที่แลกมาจากเม็ดเงินที่ลงไป อาจจะเป็นการประสบความสำเร็จในบั้นปลายฤดูกาล ซึ่งสิ่งนี้จะเพิ่มมูลค่าให้สโมสรโดยลดตัวเลขทางภาษีที่เขาต้องจากไปพร้อม ๆ กัน

4. การเก็งกำไรในอนาคต (การเลื่อนชั้น)

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอังกฤษ หนึ่งในเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการลงทุนระดับสูงในสโมสรระดับล่างคือ รางวัลสำคัญอย่างการเลื่อนชั้นไปเล่นในพรีเมียร์ลีก สิ่งนี้สามารถถูกมองว่าเป็นการเก็งกำไรได้เลย

โดยส่วนใหญ่ การลงทุนในทีมฟุตบอลระดับสูง อย่างการซื้อนักเตะชั้นนำ และการจ่ายค่าจ้างผู้เล่น จะต้องบรรลุเป้าหมายที่ทีมตั้งไว้ และส่วนใหญ่มักจะส่งผลให้สโมสรประสบภาวะขาดทุน การจบอันดับสูง ๆ ในตารางพรีเมียร์ลีกอาจสามารถชดเชยสิ่งเหล่านี้ได้

แต่การไต่เต้าจากสโมสรชั้นล่างและเลื่อนชั้นขึ้นมาได้ในเวลาอันสั้น คือการลงทุนที่อาจจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า ด้วยเหตุผลที่ว่า การแข่งขันอาจจะไม่สูงเท่า และผลตอบแทนเกินกว่าคำว่าคุ้มค่า ถ้าพาทีมขึ้นชั้นได้จริง

“การซื้อสโมสรใน เดอะ แชมเปี้ยนชิพ จึงเปรียบเสมือนการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ในเมืองที่กำลังเติบโต” บีบีซี กล่าว

5. ใช้ ‘สโมสร’ ต่อยอดไปยังสโมสรอื่น 

ความเชี่ยวชาญในการจัดการสโมสรฟุตบอลเป็นทักษะที่สามารถนำมาใช้เพื่อบริหารสโมสรอื่น ๆ ในแต่ละภาคส่วนในโลกได้ ตัวอย่างที่ดีที่สุดของข้อนี้คือ City Football Group กลุ่มเจ้าของที่อยู่เบื้องหลัง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ เพราะพวกเขาประสบความสำเร็จอย่างที่สุด ไม่ใช่แค่กับ ซิตี้ เท่านั้น พวกเขายังต่อยอดการลงทุนไปยังสโมสรอื่น ๆ ทั่วโลก โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นในสโมสรฟุตบอลทั้งใน อังกฤษ สเปน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อุรุกวัย จีน และอินเดีย

ความเป็นเจ้าของในท้องถิ่น – ทุนทางวัฒนธรรม และ ความเป็นเจ้าของผู้สนับสนุน – ทุนทางสังคม

1. สายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับชุมชน

สโมสรฟุตบอลเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงกับท้องถิ่นของด้วย สโมสรบางแห่งเป็นหัวใจของชุมชนขนาดเล็ก เป็นสถานที่ที่ขับเคลื่อนการจ้างงานและดำเนินโครงการ ที่มีความคิดริเริ่มที่จะรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น บุคคลในท้องถิ่น (ผู้มั่งคั่ง) จึงสามารถมองสโมสรเป็นเวทีในที่กว้างขึ้น และใช้มันเพื่อตอบแทนแก่ชุมชน

ตัวอย่างนี้คือ แอคคริงตัน สแตนลีย์ ซึ่ง แอนดี โอลต์ นักธุรกิจจาก แลงคาเชียร์เข้าซื้อกิจการในปี 2015 โดย โฮลต์ไม่ได้มองว่าสโมสรเป็นธุรกิจเหมือนเจ้าของทีมส่วนมาก แต่ระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง สโมสรเหมือนจุดศูนย์รวมของชุมชนมากกว่า

2. ความผูกพันกับสโมสรและแฟนคลับ

บุคคลหรือกลุ่มที่เป็นแฟนของทีมอาจมีแรงจูงใจที่ชัดเจนที่สุด ที่จะมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสโมสร สโมสรที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง รวมทั้ง เรอัล มาดริด และ บาร์เซโลนา ยังคงมีเจ้าของทีมเป็นกลุ่มแฟนบอลมาจนถึงทุกวันนี้ ขณะที่ในเยอรมนี มีกฎ 50 + 1 หมายความว่าแทบทุกสโมสรอาชีพในประเทศนี้ มีโครงสร้างการเป็นเจ้าของที่แฟน ๆ ถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่

The largest stadium of Barcelona from helicopter. Catalonia, Spain

ทั้งนี้ และทั้งนั้น สิ่งหนึ่งที่ควรตระหนักก่อนจะก้าวขาเข้ามาในธุรกิจฟุตบอล ไม่ต้องถึงขั้นเป็นเจ้าของก็คือ ลักษณะพิเศษของฟุตบอลลีกอาชีพ (The ‘peculiar’ economics of professional football leagues) ที่ควรมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้

เฉพาะอย่างยิ่งในมุมที่ฟุตบอลเป็น “เกม” หรือเป็น “ธุรกิจ” ที่แตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ เพราะจะมีจุดมุ่งหมายพร้อม ๆ กัน 2 ประการ นั่นคือ ชนะในสนาม และ “ไม่แพ้” หรืออยู่ได้โดยไม่ขาดทุนนอกสนาม
“จุดมุ่งหมาย” 2 ประการนี้จะขัดแย้งกันเองโดยธรรมชาติ เพราะหากต้องการจะประสบความสำเร็จในสนาม สโมสรฟุตบอลก็ต้องใช้เงิน “ลงทุน” กับการซื้อตัวผู้เล่น หรือไม่ก็เป็นค่าเหนื่อยผู้เล่นที่ส่วนมากแล้วจะใช้เต็มจำนวนงบประมาณที่มี

ไม่นับการปรับปรุง “สาธารณูปโภค” ต่าง ๆ สำหรับทีม และแฟนบอล เช่น สนามซ้อม, ที่นั่งสนามแข่ง, ห้องน้ำ, สนามหญ้า ฯลฯ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการเล่นทีม และเพื่ออรรถรสในการชมฟุตบอลของแฟน ๆ ขยับจากนั้นอีกขั้นก็คือ หน้าที่เพื่อสังคม ดังจะได้เห็นกิจกรรม CSR (Corporate Social Responsibilities) ต่าง ๆ มากมาย และเป็น “ภาคบังคับ” ที่ต้องกระทำ โดยเฉพาะโปรแกรมเพื่อเยาวชน และชุมชนที่สโมสรฟุตบอลก่อตั้ง

ที่สุดแล้ว “กำไร” อย่าว่าแต่จะไม่เหลือเลย การทำงบดุลไม่ให้ติด “ตัวแดง” ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายแล้ว ฉะนั้นในทาง “อุดมคติ” ฟุตบอลจึงไม่ใช่ธุรกิจที่ผู้ถือหุ้นไม่ว่าจะในฐานะบุคคล, นิติบุคคล หรือบริษัทมหาชนจะ “นั่งรอ” ผลกำไรปลายปีเฉกเช่น ธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ๆ

แม้ความจริงที่เราทราบ “เจ้าของทีม” ทุกวันนี้จะไม่ใช่แบบนั้นก็ตาม

Author : สมศักดิ์ จันทวิชชประภา

อ้างอิง:

– https://footballbenchmark.com/library/key_motivations_behind_buying_a_professional_football_clubs

Categories
Our Work

ลาลีกา จัดอีเวนต์มากกว่า “ฟุตบอล” ดึงวัฒนธรรม และความเป็นสเปนสู่แฟนบอลไทย แบบเข้าใจ และใกล้ชิด

คุณ จอร์โจ้ ปอมปิลี รอสซี ตัวแทนลาลีกาในประเทศไทย จัดงานขอบคุณพันธมิตรทางการค้า, สื่อมวลชนกีฬาสายฟุตบอล, อินฟลูเอนเซอร์ และยูทูปเบอร์ ฟุตบอลชั้นนำในคอนเซปต์ “LaLiga Great Rivalries” ที่ร้านอาหารสเปน Arroz Spaish Rice Restaurant สุขุมวิท 53 โดยมีตัวแทนจากหอการค้าสเปนในประเทศไทยเข้าร่วมงานด้วย โดยครีเอตเป็นอีเวนต์เล็ก ๆ แบบอบอุ่น รักษาระยะห่าง Social Distancing ป้องกัน Covid-19 ตามมาตรการรัฐ

คุณท็อป ไข่มุกดำ พิธีกร (อย่างไม่เป็นทางการ 55) ของงาน ขณะพูดคุยกับคุณจอร์โจ้

ภายในงาน ถูกเติมแต่งและสร้างธีมให้มีบรรยากาศแบบสเปน โดยใช้ 6 สุดยอดเกมดาร์บี้แมตช์ลูกหนังสเปนเป็น “ตัวกลาง” สื่อสารถึงการเติบโตของฟุตบอลสเปน ลีกสูงสุดสเปน ลาลีกา ในประเทศไทย และวัฒนธรรมอาหาร การแสดง ของประเทศสเปนให้สื่อมวลชน และแขกผู้มีเกียรติได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับประสบการณ์ที่ถูกเนรมิตขึ้นในงาน

สำหรับสุดยอด 6 ดาร์บี้แมตช์ของ ลาลีกา ประกอบไปด้วย เอล กลาซิโก้ (เรอัล มาดริด VS บาร์เซโลนา), มาดริด ดาร์บี้ (เรอัล มาดริด VS แอตเลติโก มาดริด), บาร์เซโลนา ดาร์บี้ (บาร์เซโลนา VS เอสปันญ่อล), บาเลนเซีย ดาร์บี้ (บาเลนเซีย VS เลบันเต้), บาสก์ ดาร์บี้ (เรอัล โซเซียดัด VS แอธเลติก บิลเบา) และ เซบิลล์ ดาร์บี้ (เซบีย่า VS เรอัล เบติส)

บรรยากาศงานในค่ำคืนนี้ เต็มไปด้วยความอบอุ่นของคนกีฬา ที่มีโอกาสได้มาเจอและพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน และไม่ใช่แค่เกมฟุตบอล แต่ยังรวมไปถึงการได้ร่วมสัมผัสวัฒนธรรม ชิมอาหารท้องถิ่น และความบันเทิงด้านอื่น ๆ ของสเปน ไม่ว่าจะเป็น การเต้น Flamengo Dance, การเล่นดนตรีกีต้าร์ สเปน และการทำอาหาร ข้าวผัดสเปน Paella ที่ถือว่าครบถ้วนทุกอรรถรส และมีมากกว่าแค่เกมฟุตบอล พร้อมรับประทานอาหารค่ำร่วมกัน

Paella Spanish rice หรือ ข้าวผัดสเปน

ความสนุกยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะมีการร่วมลุ้นจับสลากรางวัล lucky draw อีกด้วย ซึ่งมีทั้งหมด 3 รางวัล ประกอบไปด้วย LaLiga Jerseys, LaLiga Polo, และลูกฟุตบอลลาลีกา พร้อมทั้งมอบของที่ระลึกให้กับทุกท่านที่เข้าร่วมงานอีกด้วย

 รางวัลเสื้อ LaLiga Polo – คุณนัท จาก ขอบสนาม และเพจส่วนตัว เดอะ นัท ซัดหมด แมกซ์ ได้ไป

จุดที่น่าสนใจในเชิงการตลาดก็คือ ลาลีกา ถือเป็น “ลีกหลัก” ยุโรป 1 เดียวที่มีตัวแทนมาประจำการในประเทศไทย และได้ร่วมโปรเจคต์ต่าง ๆ ไปหลายชิ้นแล้วโดยเฉพาะกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย

สำหรับงานนี้ จะอบอุ่น ตื่นเต้นและเต็มไปด้วยสีสันสักแค่ไหน เราได้นำภาพบรรยากาศภายในงาน มาฝากทุกคนแล้ว

✍: ภาวินีย์ สูญสิ้นภัย (แนน)

🙏: LaLiga

Categories
Football Business

เปลี่ยนสโมสรฟุตบอลให้เป็น “แบรนด์”

จากงาน Marketing Workshop ให้กับสโมสรไทยลีก 1 และ 2 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ บริษัท แพลน บี อีเลฟเว่น เมื่อกลางเดือนมกราคม 2562 ที่ผ่านมามี 1 หัวข้อน่าสนใจจากวิทยากรผู้ทรงคุณาวุฒิรับเชิญ คุณแดน ศรมณี Global Brand Lead จากแอพลิเคชั่น LINE (ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอดีเอ ดิจิทัล ประเทศไทย จำกัด ผู้นำในการให้บริการการตลาดดิจิทัลครบวงจร) เรื่อง “เปลี่ยนสโมสรฟุตบอลให้เป็นแบรนด์”

ทำไม? มันมีความหมายลึกซึ้งอย่างไร? และนำไปสู่ความสำคัญต่อฟุตบอลไทยอย่างไร? วันนี้ผมขอหยิบเนื้อหาจาก The Stadium Magazine ฉบับเดือน ก.พ.2019 ที่ผมได้เรียบเรียงไว้มาฝากครับ

ต้นทางฟุตบอล, ผมเอง, คุณแดน ศรมณี และคุณนก LFCTHs

1. อันดับของทีมมีขึ้นมีลง แต่สโมสรฟุตบอลจะอยู่ในใจเสมอ

อธิบายความได้ว่า “แชมป์” มีได้แค่ทีมเดียว และไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า แต่สโมสรฟุตบอลจะสามารถยึดเหนี่ยว และตราตรึงใจแฟนบอลตลอดไปได้

ข้อนี้หมายรวมถึง การ “ตั้งจุดประสงค์” ของทีม และเล่าเรื่องสื่อสารทีมไม่ว่าจะในเชิงการตลาด หรือเนื้อหาในสนามของทีมทั่วไปอันนำมาซึ่งวิธีปฏิบัติ และเกิดผลลัพธ์ในใจแฟนบอล

หากตั้งเป้าเพียงแค่ “ต้องชนะ” หรือ “ต้องแชมป์” แล้วไม่ประสบความสำเร็จ ความเชื่อที่แฟนบอลได้รับการ “ถ่ายทอด” ก็จะนำไปสู่ผลลัพธ์ เช่น ไม่เข้าสนาม สนับสนุนน้อยลง เพราะทีมมีผลงานในสนามไม่ดี

แต่หาก สโมสรฟุตบอลมีการสร้าง “แบรนด์” และวางโพสิชั่นด้านอื่น ๆ เช่น การตอบแทนสังคมผ่านกิจกรรมชุมชน, รูปแบบ และสไตล์การเล่นสนุกสนาน มีความสุข น่าประทับใจ โดยให้แฟน ๆ มี “ส่วนร่วม” ไปด้วย

ผลการแข่งขันก็จะเป็น “โบนัส” (หากทำได้ดี) เพราะเป้าหมายหลักต่าง ๆ ได้ประสบความสำเร็จแล้วผ่านการสื่อสารที่มีการวางแผนเอาไว้ตามเป้าประสงค์

2. การ Branding สโมสรฟุตบอล (ของคุณ)

หากเป็นทั่วไป ชื่อเสียงของแบรนด์ (Brand Reputation) จะมาจากผลการแข่งขัน (Result) แต่ในเชิงกีฬา หรือฟุตบอล มันต้องสื่อสารผ่านการเล่าเรื่อง (Story) เช่น ลิเวอร์พูล กับตำนานแชมป์ยุโรป 6 สมัย หรือตำนานของทีม อาทิ “คิงเคนนี่” เคนนี่ ดัลกลิช, สตีเวน เจอร์ราร์ด ที่มีการเล่าถึงผ่านของที่ระลึกในเมกะสโตร์ หรือพิพิธภัณฑ์สโมสรอย่างต่อเนื่อง

หาใช่พูดถึง ผลการแข่งขันที่ไม่เคยได้แชมป์ลีกสูงสุดมากเกือบ 30 ปี (ก่อนหน้าซีซั่น 2019/20) ที่หากมองในแง่นั้น ผลงาน (Result) คงไม่อาจพาลิเวอร์พูลมาสู่จุดนี้ที่มาได้เพราะ Story ได้ถูกสื่อสารอย่างงดงาม และต่อเนื่อง

ลำดับถัดมา คือ อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) จากภาพเรียบ ๆ ไม่มีอะไร (Format) ให้เป็น “ภาพลักษณ์” ที่ดี (Image) ของสโมสรแบบมี “ตัวตน” ชัดเจนทั้งใน และนอกสนามไม่ว่าจะผ่านการ “ใช้สี” เช่น เขียวขาว – กลาสโกว์ เซลติก, ดำขาว – ยูเวนตุส, นิวคาสเซิล, ม่วง – ฟิออเรนติน่า หรือโลโก้ รูปร่าง รูปทรงต่าง ๆ ที่คน “จดจำ”

Realistic soccer jersey, t-shirt of Juventus, uniform template for football

หรือในสนาม เช่น รูปแบบวิธีการเล่น โหดเหมือนอุรุกวัย, สวยงามเหมือน แซมบา บราซิล, บาร์เซโลน่า, แมนเชสเตอร์ ซิตี้

สุดท้าย คือ ตำแหน่งของแบรนด์ (Brand Positioning) ที่ต้องเข้าถึง “แก่น” หรือ essence ที่แท้จริงของสโมสรเพื่อเค้นเอา DNA หรือตัวตนที่แท้จริงให้เจอ ไม่ใช่แค่การวางตำแหน่งธรรมดา ๆ

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดภาพชัดเจน เช่น สโมสร คือ ทีมท้องถิ่นนิยมของคนในจังหวัด เช่น สุโขทัย (ทีมเดียว), ชลบุรี หรือระยอง (หลายทีมในจังหวัด) กับกลุ่มเป้าหมายซึ่งคือ แฟนบอลกลุ่มไหน

หรือบุรีรัมย์ โมเดล กับการขยายฐานแฟนบอลมากกว่าในจังหวัด เช่น เห็นสื่อสารผ่านบิลบอร์ดในกทม. และมีช็อปของที่ระลึกอยู่สยามสแควร์ และอื่น ๆ ที่ทำมากกว่าแค่ภายในจังหวัด

เพื่อจะได้สื่อสารถึงพวกเขาได้แม่นยำ และทำในสิ่งที่แฟนบอลกลุ่มเป้าหมายต้องการมากกว่า สโมสรต้องการ

3. การทำแผนการตลาด (Marketing Plan)

การตลาดในนิยามของสโมสรฟุตบอลอาจจะเป็นแค่ “ขา” สปอนเซอร์ หรือการหาผู้สนับสนุนเพื่อสร้างรายได้เป็นหลักอย่างไรก็ดีในเชิงฟุตบอลแล้ว รายได้หลักมาได้อย่างน้อย 4 ช่องทางอันประกอบด้วย

1) การขายตั๋วเข้าชมเกมการแข่งขัน

2) การขายของที่ระลึก

3) รายได้จากสปอนเซอร์

และ 4) รายได้จากค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด

หรือ (อาจจะ) 5) การซื้อมาขายไปของนักเตะ

ฉะนั้น “แผนการตลาด” จะต้องครอบคลุมทุกหัวข้อดังกล่าวผ่านวัตถุประสงค์ อันนำมาซึ่งกลยุทธ์ และกลวิธี แบบถูกต้องแม่นยำ เฉพาะอย่างยิ่งผ่านการสื่อสารการตลาดที่ปัจจุบันสโมสรมี “ช่องทาง” ของตัวเองผ่านโลกดิจิตอลหลากหลาย

แต่การสื่อสารจะทำได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย และกระจายออกไปอย่างมีประสิทธิภาพถึงแฟนบอลผู้รับปลายทางได้แบบตรงเวลาหรือไม่ ทั้งหมดต้องอาศัยการตั้งโจทย์การตลาดที่แม่นยำ เช่น อย่างที่เรียนไว้ข้างต้น จะสร้าง “แชมป์” หรือสร้างทีม “ในใจ”

ตามด้วยเลือกช่องทางการสื่อสารของสโมสร และใช้เต็มประสิทธิภาพ หรือมีพันธมิตร เช่น สื่อท้องถิ่นต่าง ๆ ร่วมด้วยช่วยกัน หรือแม้แต่กลุ่มยิบย่อยแฟนบอลด้วยกันเองเพื่อการมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายต้องปักหมุดให้แม่น เช่น ปัจจุบันมีมากน้อยแค่ไหน?, เป็นใคร/อาชีพ/เพศ/อายุ/ฯลฯ? และสามารถเปลี่ยนให้เป็นแฟนพันธุ์แท้ได้ไหม? หรือจะสร้างกลุ่มเป้าหมายใหม่ และเทิร์นให้กลายเป็นแฟนบอลที่มากขึ้นได้ไหม? อย่างไร?

ทั้งหมดต้องทำผ่านกระบวนการทำงานด้านการตลาดซึ่งสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ, บริษัทไทยลีก จำกัด และบริษัท แพลนบี จำกัด (มหาชน) พร้อมจะสนับสนุน และจะมีกิจกรรม workshop ร่วมกันกับเหล่าสมาชิกทีมต่าง ๆ อยู่เสมอ

ผมขอ “ทิ้งท้าย” ไว้ว่า ฟุตบอลไม่มีสูตรสำเร็จในสนาม หาไม่แล้วทุกทีมก็เป็น “แชมป์” ได้หมด เช่นกัน เรื่องการบริหารจัดการ “นอกสนาม” เช่นในเชิงการตลาด และสร้างแบรนด์ก็ไม่มี “โมเดล” สำเร็จรูปเหมือนบะหมี่ฉีกซองใส่น้ำร้อน

หาไม่แล้วทุกทีมก็คงมีบัญชีงบดุล “ตัวดำ” แถมยังเหลือเงินไว้จับจ่ายซื้อนักเตะดี ๆ และทำอะไรเพื่อแฟนบอล กับชุมชนได้ดีเยี่ยมเหมือนกันหมด

นักการการตลาดด้านกีฬา (ฟุตบอล) จึงไม่ต่างอะไรกับ “ยอดโค้ช” นั่นเองครับ

The Stadium Magazine (February 2019)

✍ : ณัฐวุฒิ ประเทืองศิลป์

#ไข่มุกดำ

#KMDFootballBusiness

#TheStadiumMagazine

#เปลี่ยนสโมสรฟุตบอลให้เป็นแบรนด์

Categories
Football Business

8 ทศวรรษผู้ยิ่งใหญ่ : 8 พิมพ์เขียว “เซอร์อเล็กซ์” เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ

31 ธันวาคม 2021 เป็นวันที่เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน อดีตตำนานผู้จัดการทีมของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ฉลองวันคล้ายวันเกิดอายุครบ 80 ปี กับการทำงาน 27 ปี และความสำเร็จ 38 โทรฟี่ ที่ทำไว้กับ “ปิศาจแดง” จากวันแรกที่เข้ามาซ่อมและสร้างทีมจนประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันสุดท้ายของการคุมทีมแมนฯ ยูไนเต็ด ผู้คนทั่วโลก ต่างยกย่องสรรเสริญในความยอดเยี่ยมของยอดกุนซือเลือดสกอตรายนี้

และเนื่องในวาระพิเศษแบบนี้ ขอนำเสนอเรื่อง “พิมพ์เขียว” ของเซอร์อเล็กซ์ ในการบริหารงานให้ประสบความสำเร็จ 8 ข้อ ที่ถูกนำไปถ่ายทอดที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2012 มาฝากกัน

1. เริ่มต้นจากรากฐาน

สิ่งแรก ๆ ที่เซอร์อเล็กซ์ลงมือทำตั้งแต่เริ่มงานคุมยูไนเต็ด คือการสร้างรากฐานเพื่อให้เป็นแผนงานระยะยาวของสโมสร ทั้งการปรับโครงสร้างปลุกปั้นนักเตะเยาวชน และจ้างทีมแมวมองตระเวนออกค้นหานักเตะที่ฉายแววเก่งเข้ามา

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ “Class of 92” ที่มีทั้งเดวิด เบ็คแฮม, ไรอัน กิ๊กส์, พอล สโคลส์, แกรี่ เนวิลล์, นิคกี้ บัตต์ และฟิล เนวิลล์ขึ้นมาสร้างความสำเร็จ และต่อยอดความยิ่งใหญ่ที่ยาวนานตลอดช่วงยุคทศวรรษที่ 90 เป็นต้นมา

“ความคิดแรกของผู้จัดการทีมคนใหม่ 99% คือการทำทีมให้ชนะในเกม เพื่อความอยู่รอด ดังนั้นพวกเขาจึงนำผู้เล่นที่มีประสบการณ์เข้ามา มันคือเรื่องพื้นฐานอยู่แล้ว เพราะเราอยู่ในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยผลการแข่งขัน” “ในบางสโมสร ถ้าคุณแพ้สัก 3 นัด คุณโดนไล่ออกแล้ว แต่การชนะเกมเป็นเรื่องของผลงานระยะสั้น นัดต่อมาคุณอาจจะแพ้แล้วก็ได้ ส่วนการสร้างรากฐานจะทำให้เกิดความมั่นคงและสม่ำเสมอ”

2. กล้าที่จะสร้างทีมขึ้นใหม่

แม้จะยืนระยะประสบความสำเร็จอย่างยาวนาน แต่เซอร์เฟอร์กี้่ ก็ไม่เคยหยุดที่จะพัฒนาทีมขึ้นใหม่อยู่เรื่อย ๆ นั่นหมายถึง การบริหารที่จำเป็นต้องใช้ทักษะของการตัดสินใจในเรื่องของขุมกำลังภายในทีม

แน่นอนว่า เขายินดีที่จะแบกรับความเสี่ยงในการปั้นนักเตะรุ่นใหม่ขึ้นมา ทว่าก็ไม่ลังเลที่จะขายนักเตะในช่วงที่ยังเหลือระยะค้าแข้งระดับสูงอยู่ออกไป ก็สามารถทำเงินเข้าสโมสรได้เป็นกอบเป็นกำ

“ผมเชื่อว่าวงจรของทีมที่ประสบความสำเร็จจะอยู่ได้ไม่เกิน 4 ปี หลังจากนั้นมันต้องเปลี่ยน ฉะนั้นจึงพยายามมองภาพทีมล่วงหน้าไป 3 หรือ 4 ปีข้างหน้า และทำการตัดสินใจอย่างเหมาะสม”

“สิ่งที่ยากที่สุดคือปล่อยนักเตะที่เคยยอดเยี่ยมมาก ๆ ออกไป แต่หลักฐานทั้งหมดอยู่บนสนาม ถ้าคุณมองเห็นการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะแง่ลบ คุณก็ต้องถามตัวเองว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต เช่นอีกสองปีข้างหน้า”

3. ตั้งมาตรฐานให้สูงเข้าไว้

สิ่งที่เซอร์อเล็กซ์เน้นย้ำมาโดยตลอด คือนอกจากการสร้างทักษะและเทคนิคเชิงฟุตบอลแล้ว ยังต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้นักเตะสร้างสิ่งที่ดีกว่า และ “ไม่ยอมแพ้” ซึ่งก็มีความหมายเดียวกับการสร้างความเป็นผู้ชนะนั่นเอง

เขาได้ถ่ายทอดแนวคิดเหล่านี้ลงสู่นักเตะ และในช่วงเวลาหลายปีของการซึมซับ นักเตะแมนฯ ยูไนเต็ด ก็มีธรรมชาติของการไม่ยอมรับต่อ “ความไม่พยายามสู้” ที่เกิดขึ้นในตัวเพื่อนร่วมทีม ไม่ว่าจะเป็นดาวเด่นมาจากไหนก็ตาม

“ผมต้องยกระดับความคาดหวังของผู้เล่น พวกเขาต้องไม่ยอมแพ้ ผมพูดอยู่เสมอว่า การทำงานหนักตลอดชีวิตคือพรสวรรค์ แต่ผมคาดหวังมากกว่านั้นจากนักเตะชั้นนำ และพวกเขาก็ทำ พวกเขาพร้อมที่จะทำงานหนักขึ้นเสมอ”

“ซูเปอร์สตาร์ที่มีอีโก้อาจไม่ใช่ปัญหาอย่างที่ใคร ๆ คิด เพราะพวกเขามีความกระหายในชัยชนะอย่างแรงกล้า ความหมายคือพวกเขาพร้อมทำทุกอย่างเพื่อชัยชนะ พวกเขาตระหนักดีว่าการเป็นนักเตะแมนฯ ยูไนเต็ด ไม่ใช่เรื่องง่าย”

4. อย่าเสียอำนาจการปกครอง

หนึ่งในส่วนสำคัญของการสร้างมาตรฐานระดับสูง ก็คือการสร้างระเบียบวินัย เฟอร์กูสันไม่เกรงกลัวที่จะเนินการขั้นเด็ดขาดกับใครก็ตามที่ล่วงละเมิดกฎ ความผิดเล็ก ๆ อาจแค่ปรับเงิน แต่ถ้าหนักกว่านั้น ก็เชิญออกไปได้เลย

นักเตะดังทั้งยาป สตัม, เดวิด เบ็คแฮม, รอย คีน หรือแม้กระทั่งรุด ฟาน นิสเตอรอย ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น เซอร์อเล็กซ์ ตอบสนองกับปัญหาเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว ไม่ปล่อยเวลาให้ล่าช้าจนสายเกินการณ์

“คุณอย่าเสียการปกครองเด็ดขาด โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องจัดการกับนักเตะอาชีพ 30 คน ที่ล้วนแต่เป็นดาวดัง ถ้าใครบางคนต้องการทดสอบผม อยากท้าทายกฎเกณฑ์ของผม ก็มาเลย ผมพร้อมเสมอ” “ถ้าอยู่มาวันหนึ่ง ผู้จัดการทีมแมนฯ ยูไนเต็ด ถูกควบคุมโดยบรรดาผู้เล่น ยูไนเต็ดก็จะไม่เป็นยูไนเต็ดอย่างที่เรารรู้จักกันอีกต่อไป ผมก็บอกตัวเองไว้อยู่แล้วว่าจะไม่ปล่อยให้ใครมามีอำนาจเหนือผม นั่นคือสิ่งสำคัญ”

5. มีศิลปะในการสื่อสาร

เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดกับนักเตะในบางเรื่อง เซอร์อเล็กซ์จะกองอำนาจบารมีเอาไว้ข้าง ๆ แล้วพยายามสื่อความอย่างเข้าอกเข้าใจในตัวนักเตะ และจะทำเป็นการส่วนตัวเสมอ ไม่มีการตำหนินักเตะออกสื่อโดยเด็ดขาด

ในระหว่างการซ้อม เฟอร์กี้และผู้ช่วยของเขาจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างบรรยากาศในแง่บวก แม้ภาพจำของกุนซือชาวสกอตต์คือความเกรี้ยวกราดในช่วงพักครึ่งเวลาของแต่ละแมตช์ รวมถึงการประชุมทีมหลังจบเกมก็ตาม

“ไม่มีใครชอบโดนตำหนิ และมีไม่กี่คนที่จะดีขึ้นได้หลังโดนตำหนิ ดังนั้นผมจึงพยายามให้กำลังใจเต็มที่เมื่อผมทำได้ ในบางแง่ นักเตะก็เหมือนคนธรรมดา มันไม่มีอะไรดีไปกว่าการได้ยินคำชื่นชม ไม่จำเป็นต้องประดิษฐ์คำพูดอะไร”

“แต่ขณะเดียวกัน ผมก็ต้องชี้ให้เห็นถึงข้อผิดพลาดเมื่อนักเตะไม่อาจตอบสนองความคาดหวังได้ การตำหนิจะเป็นสิ่งสำคัญในตอนนั้น และผมจะทำมันหลังจบเกมทันที แต่จบแล้วคือจบกัน หลังจากนั้นคือการโฟกัสไปที่เกมหน้าเลย”

6. จงเตรียมพร้อมที่จะชนะ

คุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งสำหรับแมนฯ ยูไนเต็ดยุคเศอร์เฟอร์กี้ คือความตายยาก หรือที่เรียกกันติดปากว่า “เฟอร์กี้ ไทม์” ใช้เวลาอึดใจสุดท้ายของการแข่งขันเปลี่ยนจากแพ้เป็นเสมอ จากเสมอเป็นชนะอยู่หลายเกม

ในการเก็บข้อมูลวิเคราะห์มากกว่า 10 ซีซั่น ยูไนเต็ดมีสถิติดีกว่าทีมอื่นในการคว้าชัยชนะ หากพวกเขาผ่านครึ่งแรกด้วยผลเสมอ หรือเข้าสู่ช่วง 15 นาทีสุดท้ายด้วยผลเสมอ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากการเตรียมความพร้อมไว้ก่อนแล้ว

“ชัยชนะคือธรรมชาติของผม ผมได้กำหนดมาตรฐานของผมเอาไว้เป็น ผมคาดหวังถึงชัยชนะในทุกเกม ผมมั่นใจว่านักเตะทุกคนของผมเตรียมพร้อมกันมาแล้ว และพร้อมเสมอในการโชว์ฟอร์ม เพราะทุกสิ่งได้ตระเตรียมกันมาแล้วก่อนที่จะลงสนาม”

“พยายามมองแง่บวกและพร้อมรับความเสี่ยง นี่คือสไตล์ของเรา เราลงสนามไปเพื่อเอาชนะ เราพร้อมทำทุกอย่างใน 15 นาทีสุดท้าย คุณอาจจะโดนยิงเพิ่มจากเกมโต้กลับ แต่รสชาติของชัยชนะเมื่อคุณกำลังจะแพ้ คือความรู้สึกที่มหัศจรรย์มาก”

7. สังเกตการณ์อยู่ตลอดเวลา

แม้หน้าที่ในการคุมนักเตะกลางสนามซ้อมจะเป็นของผู้ช่วย แต่เซอร์อเล็กซ์ก็แทบไม่เคยขาดการซ้อม ในฐานะผู้สังเกตการณ์” ซึ่งเขามองว่าสิ่งนี้ช่วยให้สามารถประเมินฟอร์มการเล่นของนักเตะได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

“การสังเกตการณ์คือส่วนสุดท้ายในโครงสร้างการจัดการของผม มันไม่ได้ทำให้ผมสูญเสียการควบคุม การแสดงตนและความสามารถในการดูแลทีมของผมยังคงอยู่เสมอ และสิ่งที่คุณได้รับจากการเฝ้ามองก็มีคุณค่าอย่างเหลือเชื่อ”

“มันกลายเป็นส่วนสำคัญของทักษะการจัดการของผมไปแล้ว ความสามารถในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการมองเห็นสิ่งที่คุณไม่คาดหวังว่าจะได้เห็น”

8. อย่าหยุดที่จะปรับตัว

27 ปีของการทำงานกับแมนฯ ยูไนเต็ด โลกฟุตบอลเปลี่ยนแปลงไปหลายต่อหลายครั้ง การปรับตัวให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จึงไม่ใช่เรื่องง่าย และยิ่งยากกว่าสำหรับสโมสรที่รักษามาตรฐานสูงเอาไว้ร่วม 20 ปี

“มีเจ้าของทีม เงินทุนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามา และนั่นก็นำมาซึ่งแรงกดดันมหาศาลสำหรับคนเป็นผู้จัดการทีม ผู้เล่นทุกวันนี้มีชีวิตท่ามกลางสปอตไลท์ และเปราะบางมากกว่านักเตะในยุคอดีต”

“ผมไม่สามารถอยู่นิ่งไม่ยอมปรับเปลี่ยนอะไรได้ เราเป็นสโมสรที่ต้องการความสำเร็จ และผมพร้อมพัฒนาในทุกสิ่ง ผมทำงานอย่างหนักในทุกวัน งานของผมคือการสร้างโอกาสที่ดีที่สุดเพื่อชัยชนะ นั่นคือสิ่งที่ผลักดันผมเสมอมา”

จากพิมพ์เขียวทั้ง 8 ข้อ สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต และการบริหารในองค์กรต่าง ๆ ในยุคสมัยที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การยึดติดความสำเร็จในอดีต คือสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง

นี่คือบทเรียนชีวิตของยอดคนอย่างเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน สั่งสมประสบการณ์ชีวิตมาถึงอายุ 80 ปี และในตำแหน่งผู้จัดการทีมฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในวงการฟุตบอลอังกฤษ

Author : จักรพันธ์ ภู่ทอง

Photo : Daily Mail

อ้างอิง : https://hbr.org/2013/10/fergusons-formula

#ไข่มุกดำ
#KMDFeature
#KMDFootballBusiness
#เซอร์อเล็กซ์เฟอร์กูสัน
#แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

Categories
Football Business

มอง…การช่วยเหลือของ ‘พรีเมียร์ลีก’

หากพอจะจำกันผมเคยเขียนถึง “โปรเจคต์ Big Picture” ที่ “พรีเมียร์ลีก” วางแผนจะช่วย “ฟุตบอลลีก” จากพิษโควิด-19 เป็นเงินเบื้องต้น 250 ล้านปอนด์ และเป็นข่าวดังเมื่อเดือน ต.ค.แล้วต้องล้มพังพาบมาแล้วเพราะสโมสรสมาชิกปฏิเสธจะเดินตามแผนของ 2 ทีมตั้งต้น: ลิเวอร์พูล และแมนฯยูไนเต็ด

(อ่านเพิ่มเติมเรื่อง “โปรเจคต์ Big Picture” นะครับ https://bit.ly/2Ic0LGk)

ครั้งนี้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา พรีเมียร์ลีก และฟุตบอลลีกอังกฤษ (อีเอฟแอล) ได้เห็นชอบให้จัดสรรเงินกู้ 250 ล้านปอนด์ เพื่อช่วยเหลือบรรดาสโมสรในลีกระดับล่าง ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แบบไม่มี hidden agenda ใด ๆ กับการปรับโครงสร้างพรีเมียร์ลีก หรือจะยุบถ้วย คอมมิวนิตี้ ชิลด์, ลดจำนวนทีมในพรีเมียร์ลีก ฯลฯ

รวมความแล้วก็ต้องบอกครับ “ซะที!” หลังตั้งแต่เดือน มี.ค.ไม่ได้มีแฟนบอลเข้าสนามกระทั่งสุดสัปดาห์นี้ในบางสเตเดี้ยม และบางพื้นที่ของประเทศได้ถูกอนุมัติให้แฟนบอลส่วนหนึ่งเข้าชมได้ อันหมายถึง “รายได้” จากการเก็บค่าผ่านประตูนั้นหายไป และอื่น ๆ จาก แมตช์เดย์ เช่น ขายของที่ระลึก ฯลฯ ก็หายไปเพียบ

การช่วยเหลือครั้งนี้ของพรีเมียร์ลีกสู่ทีมในลีกรอง ๆ อย่างน้อยจึงช่วย “ต่อท่อ” อ๊อกซิเจนได้บ้างครับ—

โครงการนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร ?

นับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทุกสโมสรในอังกฤษ ขาดรายได้จากตั๋วเข้าชมการแข่งขัน ซึ่งก่อนหน้านี้ทางอีเอฟแอล เคยปฏิเสธเงินช่วยเหลือ 50 ล้านปอนด์จากพรีเมียร์ลีกมาแล้ว เพราะมองว่ามันน้อยเกินไป (ต.ค.2020)

ต่อมาในเดือนเดียวกัน สโมสรยักษ์ใหญ่ในพรีเมียร์ลีก นำโดยลิเวอร์พูล และแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด 2 ทีมคู่ปรับตลอดกาล ได้มีแนวคิดปรับโครงสร้างฟุตบอลลีกอังกฤษ หรือ Project Big Picture

ซึ่งในแนวคิด Project Big Picture มีข้อเสนออยู่ข้อหนึ่ง คือ จะให้เงิน 250 ล้านปอนด์ เพื่อช่วยเหลือทีมในลีกล่าง ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่ท้ายที่สุด พรีเมียร์ลีกไม่ตอบรับข้อเสนอนี้ เพราะกระแส “ต่อต้าน” นั้นแรงมาก• มาถึงเดือนพฤศจิกายน สโมสรในลีกวัน และลีกทู ได้ “ตกลงในหลักการ” เพื่อขอรับความช่วยเหลือจากพรีเมียร์ลีก หลังจากได้รับข้อมูลว่า มีสโมสรสมาชิกของอีเอฟแอล ประมาณ 10 ทีม ไม่มีเงินจ่ายค่าจ้างนักเตะ

ถึงแม้จะมีการเริ่มต้นปลดล็อก ให้แฟนฟุตบอลเข้ามาชมเกมในสนาม ตามความเสี่ยงการแพร่ระบาดของแต่ละพื้นที่แล้ว แต่ด้วยสถานการณ์ที่ยังไม่ปกติ ทำให้แต่ละสโมสรยังคงไม่สามารถสร้างรายได้ให้เพียงพอกับรายจ่ายได้ในเร็ววัน

จนกระทั่งการประชุมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา บอร์ดบริหารของอีเอฟแอล และสโมสรสมาชิกพรีเมียร์ลีก ได้อนุมัติข้อตกลงการช่วยเหลือสโมสรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เป็นเงินกู้จำนวน 250 ล้านปอนด์ เสริมจากทางรัฐบาลอังกฤษ เตรียมช่วยเหลือเงินเพิ่มเติมอีก 300 ล้านปอนด์ (แต่ไม่ได้ให้กับฟุตบอลอาชีพชาย) ให้กับฟุตบอลหญิง, ฟุตบอลนอกลีกอาชีพ และกีฬาประเภทอื่น ๆ ที่ประสบปัญหาด้วยเช่นเดียวกัน

เงินจำนวนนี้ จัดสรรอย่างไร ?

ทั้งพรีเมียร์ลีก และอีเอฟแอล จะช่วยกันระดมทุน 250 ล้านปอนด์ เพื่อเป็นเงินกู้ โดยจะแบ่งให้ลีกแชมเปี้ยนชิพ 200 ล้านปอนด์ และลีกวัน รวมกับลีกทู อีก 50 ล้านปอนด์ ในส่วนของลีกแชมเปี้ยนชิพ จะแบ่งเงินให้ทั้ง 24 สโมสรเท่าๆ กัน หรือเฉลี่ยได้ทีมละ 8.33 ล้านปอนด์ เป็นเงินกู้ไม่มีดอกเบี้ย และกำหนดชำระคืนภายในเดือนมิถุนายน 2024 สำหรับอีก 48 สโมสร ในลีกวัน และลีกทู เงินกู้จำนวน 50 ล้านปอนด์นี้ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กอง

กองที่ 1 จำนวน 30 ล้านปอนด์ เป็นค่าชดเชยรายได้จากการไม่มีผู้เข้าชมการแข่งขันในฤดูกาล 2019-20 และ 2020-21 แบ่งย่อยออกเป็น 3 ส่วน- 24 ทีมในลีกวัน จะได้รับเงินกู้อย่างน้อยทีมละ 375,000 ปอนด์ (รวม 9 ล้านปอนด์)- 24 ทีมในลีกทู จะได้รับเงินกู้อย่างน้อยทีมละ 250,000 ปอนด์ (รวม 6 ล้านปอนด์)- เงินกู้อีก 15 ล้านปอนด์ที่เหลือ จะคำนวณจากส่วนแบ่งรายได้ของค่าตั๋วเข้าชมการแข่งขันที่หายไป

กองที่ 2 จำนวน 20 ล้านปอนด์ จะเก็บไว้สำหรับสโมสรที่ต้องการชดเชยค่าเสียหายเพิ่มเติม ซึ่งจะมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และกำหนดคุณสมบัติสำหรับสโมสรที่เข้าร่วมต่อไป

โดยบรรดาสโมสรในลีกล่างทั้ง 3 ลีก ที่ได้รับเงินกู้นั้น จะต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดเรื่องการซื้อตัวผู้เล่น และการจ่ายค่าจ้างของผู้เล่นด้วย

ริค แพร์รี่ (อดีต CEO ลิเวอร์พูล และหัวโจกในการแอบชนดีล Big Picture ตั้งแต่ ค.ศ.2017) ประธานอีเอฟแอล หวังว่าโครงการดังกล่าว จะช่วยให้สโมสรเหล่านี้อยู่รอดได้ หลังจากได้รับผลกระทบทางการเงิน เพราะการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส ที่กินเวลามานานหลายเดือน

ขณะที่ ริชาร์ด มาสเตอร์ส ประธานบริหารพรีเมียร์ลีก เผยว่ารู้สึกยินดีที่ลีกระดับสูงสุดของอังกฤษ ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสโมสรระดับลีกรองลงมา ไม่ให้ล้มละลาย อันเนื่องมาจากโควิด-19

ผมเขียนเรื่องนี้ทำไม?

นี่ก็เพราะ ขนาดลีกอาชีพแบบมาตรฐาน เช่น ลีกอังกฤษ ยังไม่ไหว ไปจะไม่รอด ในปีโควิด-19 รัฐบาลผู้ดีซึ่ง “กดดัน” พรีเมียร์ลีกซึ่งยังคงมีรายได้หลักอยู่จากลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดทีวี จริง ๆ แล้วก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะ 300 ล้านปอนด์ก็ไม่ได้ตกมาสู่ฟุตบอลอาชีพชาย ลีกรอง ๆ จึง “ควานหา” รายได้ยากเหลือเกินครับ และการได้เงินช่วยเหลือแม้จะให้ยืมในครั้งนี้จึงถือว่ามีค่าอย่างมากให้ต่อลมหายใจ

ในมุม Football Business ที่น่าสนใจ คือ อุตสาหกรรมอื่นจะไม่มีทางให้ “หยิบยืม” ช่วยเหลือกันแบบพรีเมียร์ลีก ช่วยเหลือทีมรองในลีกล่าง ๆ แบบนี้ เพราะมีแต่จะ “ถีบส่ง” คู่แข่งทั้งน้อยใหญ่ให้ร่วงจมธรณี และเจ๊งชัยกันไป เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดคนเดียว และครองความยิ่งใหญ่คนเดียว• แต่ฟุตบอลเตะกันเองดูกันเองไม่ได้ ฟุตบอลจำเป็นต้องมีคู่แข่ง มีลีก และต้องแข่งขันกันได้อย่างสมน้ำสมเนื้อพอประมาณไม่ใช่ “ผูกขาด” แค่ไม่กี่ทีม หรือคาดเดาผลแข่งขันได้ง่าย การช่วยเหลือครั้งนี้จึงเกิดขึ้น และเป็นกรณีศึกษาสำคัญในปีลำบาก ๆ แบบนี้ และเป็นการช่วยเหลือที่ไม่เพียงต่อลมหายใจให้หลายทีม หรือ 10 ทีมโดยประมาณที่กำร่อแร่ (จริง ๆ คงมากกว่านั้นเยอะ) ทว่ายังเป็นการช่วยประคองไม่ให้ “ลีกรอง ๆ” ถึงขั้นล่มสลายอันจะมี “ปัญหา” อีกมากมายตามมาด้วยครับ#ไข่มุกดำ✍ และ #ทีมไข่มุกดำ เรียบเรียง

Categories
Football Business

6 เหตุผลที่เราหลงรัก “ฟุตบอล”

มันน่าจะต้องมี “เหตุผล” เป็นร้อยเป็นพัน หรือ “ไม่มี” เลยแม้แต่ข้อเดียว ที่ทำให้เรา แฟนบอล หลงรักฟุตบอล และเฝ้าติดตามทีมโปรด หรือข่าวคราวของ The most beautiful game เกมกีฬาที่สวยงามที่สุดในโลกชนิดนี้

สำหรับ “ขอบเขต” งานในวันนี้ ผมได้ศึกษา และวางโครงเรื่องจากหัวข้องานชื่อ The ‘peculiar’ economics of professional football leagues หรือลักษณะพิเศษทางเศรษฐศาสตร์ของฟุตบอลลีกอาชีพ นะครับคร่าว ๆ ผมได้สรุปจาก “หัวข้อ” เนื้อหาที่ได้เรียนมาจาก ศาสตราจารย์คริสตีน เอาจ์ตัน (Christine Oughton) อาจารย์ของผมที่ Birkbeck College เมื่อ 10 กว่าปีก่อนนะครับ และเขียนเรื่องนี้อยู่เรื่อย ๆ แต่ปรับรายละเอียดให้เหมาะสมกับ “บริบท” ตามช่วงเวลาที่เขียนนะครับ

ทั้ง 6 ข้อ “เหตุผล” ตรวจสอบแล้วว่า ยังคงเหมาะสมกับการ “อ้างอิง” ได้อยู่ และมีดังนี้ (ตรวจสอบคอร์สปริญญาโท Sports Management and The Business of Football – MSc. ได้ที่นี่นะครับ http://www.bbk.ac.uk/…/postgraduate/programmes/TMSSMBUF_C

1.)

1.) “ฟุตบอล” เป็นผลผลิตร่วมระหว่าง “ลีก” และ “สโมสรฟุตบอล” (Joint product) ที่ต้องอาศัยกัน และกัน เพราะฟุตบอลจะเตะกันเอง ดูกันเอง ทีมเดียวไม่ได้ ต้องมีคู่แข่งขันมาร่วมด้วย และมีการจัดการลีกที่ดี เป็นในทิศทางเดียวกันตามหลักเกณฑ์จากผู้ปกครองสูงสุด (ฟีฟ่า)

แต่ธุรกิจทั่วไปจะไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น และอาจจะเป็นการดีกว่า หากเราริเริ่มธุรกิจใหม่ได้ก่อน เนื่องจากจะไม่มีคู่แข่ง (Monopoly) อันสามารถกำหนดราคา หรือควบคุมกลไกการตลาดได้

ในแง่นี้ “พรีเมียร์ลีก” เป็นต้นแบบแรกเริ่มที่ทำได้ค่อนข้างดีนับจากแยกจาก “ดิวิชั่น 1” เดิม มาก่อตั้ง “พรีเมียร์ลีก” ในปี ค.ศ.1992
เพราะอย่างน้อย มันได้เห็นซึ่งความพยายามในการรวมตัว และร่วมมือกันค่อนข้างสูงระหว่างลีก และสมาชิก พอ ๆ กับการสร้างให้เกิดความเข้มข้นในการแข่งขันกัน (Competitiveness)

สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย และบริษัทไทย ลีก จำกัด ในฐานะองค์กรสูงสุดในด้านการบริหารจัดการฟุตบอลในประเทศไทยก็มีนโยบายด้านนี้ที่ชัดเจน และดีขึ้นสอดคล้องกับนโยบาย “ฟีฟ่า” พื้นฐานจะมาจากกฎ “คลับ ไลเซนซิ่ง” ที่จะเป็นเสมือนใบเบิกทางพื้นฐานของสโมสรสมาชิกที่จะปฏิบัติตามแตกต่างกันไปตามมาตรฐานของ T1, 2, 3 และ 4

การจัดการด้านต่าง ๆ ก็คัดสรรทีมงานมืออาชีพเข้ามาผ่านกระบวนการสากล เช่น pitching หรือเสนองานจนถูกคัดเลือก หรือประมูล เช่น Plan B กับการได้สิทธิ์เป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ของสมาคมฯ และไทยลีก เป็นเวลา 3 ปีโดยเปิดซองชนะอีก 2-3 บริษัท เป็นต้น รวมถึง “ทุกด้าน” ของการบริหาร เช่น เทคนิค, ข้อมูลสถิติ, สื่อสารองค์กร, จัดการแข่งขัน, ฝ่ายผู้ตัดสิน ที่ถูกแบ่งแยกการทำงานไว้ชัดเจนร่วมกับสโมสรสมาชิก

2.) ธุรกิจฟุตบอลจะมีการกระจายรายได้ (Redistribution) ภายในลีก และระหว่างลีกใหญ่สู่ลีกเล็กรวมไปถึงทีมใหญ่รายได้ดีสู่ทีมเล็กรายได้น้อยเพื่อช่วยให้ลีก และทีมฟุตบอลแต่ละทีมมีความสมดุลกันมากที่สุด (Competitive Balance)

เพราะหาก “ช่องว่าง” ระหว่างลีกมีมากขึ้น หรือทีมเล็กนับวันยิ่งเล็กลงขณะที่ทีมใหญ่โตเอา ๆ โดยไม่ได้มีมาตรการใด ๆ ค้ำจุนเลย ที่สุดแล้วฟุตบอลก็จะดูไม่สนุก คาดเดาผลการแข่งขันได้ง่ายเนื่องจากความเหลื่อมล้ำที่มีมากอันจะนำมาซึ่งคนดูหนีหาย สปอนเซอร์ไม่สนใจ และสุดท้าย “เม็ดเงิน” ก็จะไม่ตกสู่ทั้งทีมเล็ก และทีมใหญ่ในลีก

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ธุรกิจฟุตบอลจำต้องอาศัยกุศโลบาย “รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย” ตามคอนเซ็ปต์ “ผลผลิตร่วม” (Joint products) ระหว่างลีก กับสโมสรฟุตบอล นั่นเองบ้านเราก็จะเห็นข่าวการมอบเงินให้สโมสรต่าง ๆ จากลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด หรือจะเรียกว่า เงินบำรุงสโมสรก็สุดแล้วแต่

โดยทะยอยจ่ายเป็นงวด ๆ ไปเท่า ๆ กัน หาใช่จ่ายให้แชมป์มากสุด หรือทีมบ๊วยน้อยสุดแต่ “ไทยลีก” ยังไม่มีการช่วยเหลือทีม “ตกชั้น” จาก T1 ไป T2 หรือที่ “พรีเมียร์ลีก” อังกฤษเรียกว่า “Parachute money” เพื่อไม่ให้ทีมตกชั้นต้องเจอภาวะ “เคยรวย” มา “ยากจน” ฉับพลันเกินไป (เนื่องจากรายได้ “ทุกทาง” เช่น ค่าตั๋ว, สปอนเซอร์, ลิขสิทธิ์ทีวี, ของที่ระลึก จะลดลงฮวบฮาบ)

ประเด็นแบบนี้เราจะไม่ได้เห็นในธุรกิจอื่น ๆ เป็นอันขาด เพราะธุรกิจทั่วไปมีแต่จะได้เห็น “ปลาใหญ่” กิน “ปลาน้อย” ปลาสร้อยจนสูญพันธุ์ซะมากกว่าจะคิดแม้จะแค่เจียดเงินมาช่วย “ศัตรู”

3.) แฟนบอล (ลูกค้า) จะมีดีกรีความซื่อสัตย์สูงชนิดไม่จำเป็นต้องมี “เหตุผล” เพราะมันเป็นความรัก + ผูกพันด้วยใจโดยไม่มี “ผลประโยชน์” แอบแฝง

ดังจะเห็นได้จาก แฟนบอลทีมหนึ่งจะไม่เปลี่ยนใจไปเชียร์อีกทีมหนึ่งแม้ทีมตัวเองจะไม่ประสบสำเร็จ หรือย่ำแย่เพียงใดก็ตามแต่หากฟุตบอลเป็นเสมือน “โปรดักต์” อื่น ๆ แฟนบอล (ลูกค้า) จะพร้อมเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ “ยี่ห้ออื่น” ที่ดีกว่า ถูกกว่า แพ็คเกจดูดีกว่า คุ้มค่ากว่าได้ทันที

และตลอดเวลาทว่ากับฟุตบอลนั้นไม่ใช่ “โปรโมชั่น” นั้นไม่จำเป็น หนำซ้ำความซื่อสัตย์ยังสามารถส่งผ่านไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน เจนเนอเรชั่น ต่ออีกเจนเนอเรชั่นได้อีกด้วย

4.) ฟุตบอลเป็น “เกม” หรือเป็น “ธุรกิจ” ที่แตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ เพราะจะมีจุดมุ่งหมายพร้อม ๆ กัน 2 ประการ นั่นคือ ชนะในสนาม และ “ไม่แพ้” หรืออยู่ได้โดยไม่ขาดทุนนอกสนาม

อย่างไรก็ดีครับ “จุดมุ่งหมาย” 2 ประการนี้จะขัดแย้งกันเองโดยธรรมชาติ เพราะหากต้องการจะประสบความสำเร็จในสนาม สโมสรฟุตบอลก็ต้องใช้เงิน “ลงทุน” กับการซื้อตัวผู้เล่น หรือไม่ก็เป็นค่าเหนื่อยผู้เล่นที่ส่วนมากแล้วจะใช้เต็มจำนวนงบประมาณที่มีไม่นับการปรับปรุง “สาธารณูปโภค” ต่าง ๆ สำหรับทีม และแฟนบอล เช่น สนามซ้อม, ที่นั่งสนามแข่ง, ห้องน้ำ, สนามหญ้า ฯลฯ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการเล่นทีม และเพื่ออรรถรสในการชมฟุตบอลของแฟน ๆ

ขยับจากนั้นอีกขั้นก็คือ หน้าที่เพื่อสังคม ดังจะได้เห็นกิจกรรม CSR (Corporate Social Responsibilities) ต่าง ๆ มากมาย และเป็น “ภาคบังคับ” ที่ต้องกระทำ โดยเฉพาะโปรแกรมเพื่อเยาวชน และชุมชนที่สโมสรฟุตบอลก่อตั้ง ที่สุดแล้ว “กำไร” อย่าว่าแต่จะไม่เหลือเลย การทำงบดุลไม่ให้ติด “ตัวแดง” ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายแล้ว

ฉะนั้นในทาง “อุดมคติ” ฟุตบอลจึงไม่ใช่ธุรกิจที่ผู้ถือหุ้นไม่ว่าจะในฐานะนิติบุคคล หรือบริษัทมหาชนจะ “นั่งรอ” ผลกำไรปลายปีเฉกเช่น ธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ครับ

5.) ตลาดแรงงานนักฟุตบอลนั้นมีกฎระเบียบค่อนข้างละเอียดอ่อนกว่าธุรกิจอื่น ๆ และผู้เล่นชั้นดีจะมีอำนาจในการต่อรองเงินเดือน และการเลือกทีมสูงมาก ลองดูราคานักเตะไทยใน “ไทยลีก” ที่เหมือนมีเยอะ แต่จริง ๆ แล้วมีน้อยมาก (นักเตะดีจริง ๆ)

ฉะนั้นจึงได้เห็นว่า ราคาการย้ายทีม (ค่าตัว) และเงินเดือนรวมเป็นแพ็คเกจแต่ละครั้งจะสูงมากไม่ว่าจะภายใน หรือต่างประเทศ

กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์, ชนาธิป สรงกระสินธ์ ต้องมีไม่ต่ำกว่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือจะธนบูรณ์ เกษารัตน์, ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ ในการย้ายในประเทศระดับ 50 ล้านบาท เงินเดือนนักเตะทีมชาติชุดใหญ่คิดว่าเท่าไหร่? ในเวลาที่ “ตัวท็อป” ไม่ติดทีมชาติมี 2 แสนอัพ หรือสามแสนกว่าไปแล้ว

อลิสสัน เบคเกอร์ ย้ายไปลิเวอร์พูลในตำแหน่งผู้รักษาประตูที่ 67 ล้านปอนด์ ถามว่าแพง ก็แพง แต่ตำแหน่งนี้หาไม่มี หรือที่มีก็ “ไม่ขาย” ราคาที่หงส์แดงจ่าย หรือตัวอย่างบางนักเตะไทยข้างต้นจึง “สะท้อน” ว่า นักเตะชั้นดีสามารถมีอำนาจต่อรองราคาที่ต้องการได้เลือกทีมได้ด้วย เช่น ธิโบต์ คูร์ตัวส์ อยากจะไปเรอัล มาดริด ใครจะทำไม, โรนัลโด้ เบื่อแล้วกับเกือบ 10 ปีที่มาดริดขอไปกินมะกะโรนี ยูเวนตุส ค่าตัว 100 ล้านปอนด์ แต่แค่วันเดียวก็ขายเสื้อได้ 50 ล้านปอนด์แล้วกระมัง

ส่วนตลาดแรงงานก็แล้วแต่สถานการณ์ ทว่ากฎระเบียบปรับได้ตลอด (อ่านด้านล่างกฎนักเตะต่างชาติของไทย) และขึ้นตรงกับ “ฟีฟ่า” เช่น หากมีคดีฟ้องร้องใด อาทิ สัญญาไม่เป็นธรรม, ไม่จ่ายค่าเหนื่อย ฯลฯ ผู้เล่นสามารถส่งตรงให้หน่วยงานของ “ฟีฟ่า” พิจารณาได้เลยไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายในประเทศนั้น ๆ และ “ฟีฟ่า” สามารถสั่งปรับเงิน, คะแนน ถึงขั้นระงับทีมไม่ให้เข้าร่วมการแข่งขันได้เลยโดยตรง

6.) ฟุตบอลเป็นเกมที่ควบคุมโดยกฎกติกาสากล ผสมผสานกับการบริหารโดยรัฐบาลลูกหนังหลายระดับตั้งแต่ระดับประเทศ, นานาชาติ, ทวีป และโลก คอยควบคุมดูแล, ปรับปรุง และแก้ไข เพื่อคุณภาพที่ดีของเกมพูดแล้วจะ “ยาวไหม” (555) เช่น ล่าสุดก็กับกฎนักเตะอาเซียน 3 คน, ต่างชาติ 3 คน และเอเชีย 1 คนของฟุตบอลลีกบ้านเราประเด็นคงไม่แตะว่า “เหมาะสม” หรือดีที่สุดไหม? แต่จะบอกว่า มันตอบโจทย์เรื่องการ “ปกครอง” เด็ดขาด และเบ็ดเสร็จโดยรัฐบาลลูกหนังที่ไม่จำเป็นต้องอิงกฎหมายนานาชาติใด ๆ

ข้อสรุปดังกล่าว อาจใช้แค่ซีซั่นเดียว และปรับเปลี่ยนอีกก็ได้ตามกระบวนการของรัฐบาลลูกหนังไทย แต่ต้องสอดคล้อง และรับรองโดย “ฟีฟ่า”

โดยเรื่องเกี่ยวข้องกับ “ฟุตบอล” ทุกเรื่อง ฟีฟ่าจะมีหน่วยงานรองรับการทำงานเสมือนเป็น “รัฐบาลกลาง” ของลูกหนังโลก ที่มีอำนาจสิทธิ์ขาด

จุดนี้จึงมีทั้ง “ข้อดี” และไม่ดีได้เหมือนกัน เช่น อำนาจบางครั้งก็อาจก่อให้เกิดการคอรัปชั่นเพราะการ “ตัดสินใจ” ขึ้นอยู่กับกลุ่มคน หรือคณะทำงานภายในไม่กี่คน

แต่ข้อดี คือ การบริหารจัดการจะเป็นในทิศทางเดียวกัน และเบ็ดเสร็จจากส่วนกลาง-ทั้งหมดในวันนี้ มีเป้าหมายจะนำเสนอในด้านที่ “แตกต่าง” อีกมิติหนึ่งของกีฬา “ฟุตบอล” โดยเฉพาะในเชิงเศรษฐศาสตร์ การบริหาร และจัดการกีฬาฟุตบอลโดยเฉพาะในส่วนการจัดการแข่งขันระดับลีก และบอลถ้วย รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทุกผู้มีผลประโยชน์ร่วม (stakeholders) เช่น แฟนบอล, นักเตะ, ผู้สนับสนุน, พันธมิตรหวังว่า เมื่อทราบ “ความต่าง” นี้ เรา ๆ ท่าน ๆ แฟนบอลจะหลงรักฟุตบอลมากยิ่งขึ้นนะครับ

Author : ณัฐวุฒิ ประเทืองศิลป์