Categories
Column

แข้งดาวรุ่งพุ่งแรงที่น่าจับตามองในลาลีกา 2022/23

แม้ว่าบรรดาทีมยักษ์ใหญ่ จะทุ่มเงินมหาศาลเพื่อดึงนักเตะชื่อดัง โปรไฟล์เด่นมาร่วมทีมมากแค่ไหน แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ลงทุนกับนักเตะอายุน้อย ที่คอยขึ้นมาทดแทนนักเตะรุ่นใหญ่อยู่เสมอ

ฤดูกาล 2022/23 สโมสรในลาลีกา สเปน ได้มีนักฟุตบอลอายุไม่เกิน 23 ปี ที่มีพรสวรรค์สูง พร้อมที่จะก้าวขึ้นมาเป็นกำลังหลักของทีม หรือบางคนสามารถโชว์ผลงานได้อย่างโดดเด่น เป็นที่น่าจับตามอง

นักเตะต่างชาติที่ลงเล่นในลาลีกา เช่น 3 ดาวรุ่งจากฝรั่งเศส เอดูอาร์โด้ คามาวิงก้า (19 ปี), ออเรเลียง ชูอาเมนี่ (22 ปี) และ ฌูลส์ กุนเด้ (23 ปี) อีกทั้ง 3 แข้งวัยทีนจากบราซิล วินิซิอุส จูเนียร์ (19 ปี), โรดริโก้ (22 ปี) และมัทเธอุส คุนญ่า (23 ปี)

นอกจากนี้ ยังมีวันเดอร์คิดต่างชาติคนอื่น ๆ อย่างเข่นโรนัลด์ อเราโฆ่ เซ็นเตอร์แบ็กอนาคตไกล ที่ติดทีมชาติอุรุกวัยชุดใหญ่ไปแล้ว 11 นัด และเจา เฟลิกซ์ ดาวเตะโปรตุเกส ซึ่งทั้งคู่อายุ 23 ปีเท่ากัน

แต่ลาลีกา ไม่ได้มีแค่เยาวชนจากต่างชาติเท่านั้น เพราะยังมีนักเตะดาวรุ่งสัญชาติสเปน ที่มีโอกาสแจ้งเกิดในลีกสูงสุดแดนกระทิงดุ และทีมชาติชุดใหญ่ อย่างเช่น 5 ดาวเตะจากบาร์เซโลน่า กาบี้ (18 ปี), เปดรี้ (19 ปี), อันซู ฟาติ (19 ปี), เอริก การ์เซีย (21 ปี) และ เฟร์ราน ตอร์เรส (22 ปี)

ทีมอื่น ๆ อาทิ บาเลนเซีย ที่มี 4 ดาวรุ่งอย่าง ยูนุส มูซ่าห์ (19 ปี), นิโก้ กอนซาเลซ (20 ปี), อูโก้ กิลลาม่อน (22 ปี), และจัสติน ไคลเวิร์ต (23 ปี) รวมถึง 2 แข้งจากบียาร์เรอัล เยเรมี ปิโน่ (19 ปี ) และ ซามูเอล ชุควูเซ่ (23 ปี)

ขณะที่เรอัล โซเซียดัด มี 3 แข้งคลื่นลูกใหม่ โมฮาเหม็ด อาลี-โช (18 ปี), ทาเคฟุสะ คุโบะ (21 ปี) และ มาร์ติน ซูบีเมนดี้ (23 ปี) เช่นเดียวกับ 3 นักเตะแอธเลติก บิลเบา นิโก้ วิลเลี่ยมส์ (20 ปี), อูไน เบนเซดอร์ (21 ปี) และ โออิฮาน ซานเซต (22 ปี)

หลังจากลาลีกา ในซีซั่นนี้ ผ่านไป 4 นัด ได้มีนักเตะดาวรุ่งบางคน เริ่มโชว์ผลงานได้น่าประทับใจ อย่างเช่น ไอมาร์ โอรอซ มิดฟิลด์วัย 20 ปี จากโอซาซูน่า ที่ยิง 2 ประตู มีส่วนช่วยให้ทีมอยู่ในอันดับท็อป 5 ของตาราง

คนอื่นๆ ได้แก่ อเล็กซ์ บาเอน่า วัย 21 ปี ที่ทำคนเดียว 2 ลูกให้บียาร์เรอัล ในนัดเปิดซีซั่น, อเลฮอานโดร บัลเด้ วัย 18 ปี แบ็กซ้ายอนาคตไกลของบาร์เซโลน่า และกาบรี้ เบอิก้า วัย 20 ปี ของเซลต้า บีโก้ กับ 1 แอสซิสต์ ในเกมล่าสุดกับกาดิซ

นับตั้งแต่เข้าสู่ยุคทศวรรษ 2020s มีดาวรุ่งบางคนประสบความสำเร็จแล้ว เช่น เจา เฟลิกซ์ ที่พาแอตเลติโก้ มาดริด คว้าแชมป์ลาลีกา 2020/21 และวินิซิอุส จูเนียร์ ที่คว้า 2 แชมป์กับเรอัล มาดริด เมื่อซีซั่น 2021/22

และยังมีนักเตะวัยเยาว์บางคน ที่ได้รับรางวัลส่วนบุคคล คือ เปดรี้ เจ้าของรางวัลโกลเด้น บอย ปี 2021 ส่วนกาบี้ ของบาร์เซโลน่า และเอดูอาร์โด้ คามาวิงก้า ของเรอัล มาดริด ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโกลเด้น บอย ในปีนี้

จากรายชื่อที่กล่าวมาทั้งหมด ต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ใครจะเป็นนักเตะที่สามารถเบียดขึ้นมาเป็นตัวหลักของทีมในระยะยาว จนกลายเป็นสุดยอดแข้งดาวดังระดับหัวแถวของวงการฟุตบอลได้บ้าง

Categories
Column

ใครเข้า-ใครออก : สรุปตลาดนักเตะลาลีกา ช่วงซัมเมอร์ 2022

ลาลีกา สเปน เป็นลีกที่รวบรวมบรรดาสุดยอดนักเตะระดับโลกไว้มากมาย และหลาย ๆ สโมสร ต่างยกระดับขึ้นมาทัดเทียมกับทีมยักษ์ใหญ่ ทำให้การแข่งขันในทุกเกมมีความเข้มข้นมากขึ้น

สิ่งหนึ่งที่ทำให้สโมสรฟุตบอลมีความแข็งแกร่งคือ “ตลาดซื้อขายนักเตะ” ที่มีการเสริมผู้เล่นเข้าสู่ทีมอย่างคึกคัก และนี่คือดีลที่เกิดขึ้นทั้งหมดของตลาดนักเตะลาลีกา ในช่วงซัมเมอร์ปี 2022

 อัลเมเรีย

👉 นักเตะเข้า

กุย เกเดส (วิคตอเรีย กิมาไรส์), ฮูบูแลง เมนเดส (ลอริยองต์), มาร์ติน ไซเดอร์สกี้ (แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด), มาร์โก้ มิโลวาโนวิช (ปาร์ติซาน เบลเกรด), กายกี้ เฟอร์นานเดส (ซานโต๊ส), เลโอ บัปติสเตา (ซานโต๊ส), เฟอร์นานโด ปาเชโก้ (อลาเบส), อาเดรียน เอ็มบาร์บ้า (เอสปันญ่อล), กอนซาโล่ เมเลโร่ (เลบันเต้), เอล บิลาล ตูเร่ (แรงส์), ลาซซาโร่ วินิซิอุส (ฟลาแมงโก้), อเลฮานโดร โปโซ่ (เซบีย่า, ยืมตัว), เซอร์จาน บาบิช (เรด สตาร์ เบลเกรด, ยืมตัว)

👉 นักเตะออก

อูมาร์ ซาดิค (เรอัล โซเซียดัด), ไอตอร์ บันนูเอล (เตเนริเฟ่), อาร์วิน อัปเปียห์ (เตเนริเฟ่, ยืมตัว), ฆอร์ดี้ เอสโคบาร์ (เรอัล เบติส), จอร์จี้ มาการิดเซ่ (ปอนเฟอร์ราดิน่า), เนลสัน มอนเต้ (ดนิโปร), โฆเซ่ คาร์ลอส ลาโซ่ (เอสปันญ่อล), คริสเตียน โอลิเวียร่า (บอสตัน ริเวอร์, ยืมตัว), ฆาวี่ โรเบิลส์ (ฟลูเอนลาบราด้า, ยืมตัว), นิโกล่า มาราส (อลาเบส, ยืมตัว), อาเนา โซล่า (เรอัล มูร์เซีย, ยืมตัว), โจนาธาน ซิลวา (หมดสัญญา), แดเนียล คาริโก้ (หมดสัญญา),  เคอร์โร่ ซานเชซ (หมดสัญญา), ดาร์แกน โรซิช (หมดสัญญา)

ขอบคุณภาพ : https://www.facebook.com/anderherrera

 แอธเลติก บิลเบา

👉 นักเตะเข้า

อันเดร เอร์เรร่า (ปารีส แซงต์-แชร์กแมง, ยืมตัว), กอร์ก้า กูรูเซต้า (อาโมเรบิเอต้า), ฆอน โมซิลโล่ (เรอัล บายาโดลิด), อินนิโก้ กอร์โดบา (โก อเฮด อีเกิลส์)

👉 นักเตะออก

โฆกิน เอสกิเอต้า (ราซิ่ง ซานตานเดร์), อินนิโก้ บิเซนเต้ (ราซิ่ง ซานตานเดร์), อูไน, นูนเนส (เซลต้า บีโก้, ยืมตัว), อูไน โลเปซ (ราโย บาเยกาโน่), นิโก้ เซอร์ราโน่ (มิรันเดส), เปรู โนลาสโกอิน (เออิบาร์, ยืมตัว), อิมานอล การ์เซีย (เออิบาร์, ยืมตัว)

 แอตเลติโก มาดริด

👉 นักเตะเข้า

อองตวน กรีซมันน์ (บาร์เซโลน่า, ยืมตัว), อักเซล วิตเซล (โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์), นาฮูเอล โมลิน่า (อูดิเนเซ่), เซร์คิโอ เรกีลอน (ท็อตแน่ม ฮอทสเปอร์), ซาอูล นิเกซ (เชลซี), อัลบาโร่ โมราต้า (ยูเวนตุส), ซานติอาโก้ อาเรียส (กรานาด้า), อิโว เกอร์บิช (ลีลล์)

👉 นักเตะออก

เอคเตอร์ เอร์เรร่า (ฮูสตัน ไดนาโม), หลุยส์ ซัวเรซ (คลับ นาซิอองนาล), เนฮุน เปเรซ (อูดิเนเซ่), ซิเม่ เวอร์ซัจโก้ (โอลิมเปียกอส), จูเลียโน่ ซิเมโอเน่ (เรอัล ซาราโกซ่า), วิคตอร์ โมลเลโฆ (เรอัล ซาราโกซ่า), บอร์ฆา การ์เซส (เตเนริเฟ่, ยืมตัว), บิโตโล่ (ลาส พัลมาส, ยืมตัว), มานู ซานเชซ (โอซาซูน่า, ยืมตัว), ซามูเอล ลิโน่ (บาเลนเซีย, ยืมตัว), โรดริโก้ ริเกลเม่ (กิโรน่า, ยืมตัว), เซร์คิโอ คาเมลโล่ (ราโย บาเยกาโน่, ยืมตัว), มาร์กอส เปาโล (มิรันเดส, ยืมตัว), ดาเนียล วาสส์ (บรอนบี้), เรนัน โลดี้ (น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์), เบนจามิน เลคอมเต้ (โมนาโก)

ขอบคุณภาพ : https://www.facebook.com/fcbarcelona

⚽️ บาร์เซโลน่า

👉 นักเตะเข้า

ปาโบล ตอร์เร่ (ราซิ่ง ซานตานเดร์), ฟรองค์ เคสซี่ (เอซี มิลาน), อันเดรียส คริสเตนเซ่น (เชลซี), ราฟินญ่า (ลีดส์ ยูไนเต็ด), ฌูลส์ กุนเด้ (เซบีย่า), โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้ (บาเยิร์น มิวนิค), เฮคเตอร์ เบเยริน (อาร์เซน่อล), มิราเล็ม ปานิช (เบซิคตัส), อินากี้ ปิน่า (กาลาตาซาราย)

👉 นักเตะออก

ดานี่ อัลเวส (พูมาส), เกลมองต์ ล็องเล่ต์ (ท็อตแน่ม ฮอทสเปอร์, ยืมตัว), เรย์ มานาจ (วัตฟอร์ด), ฟรานซิสโก้ ตรินเกา (สปอร์ติ้ง ลิสบอน, ยืมตัว), ออสการ์ มิงเกซ่า (เซลต้า บีโก้), ริกิ ปูอิก (ลอสแองเจลิส แกแล็กซี่), เนโต้ (บอร์นมัธ), นิโก้ กอนซาเลซ (บาเลนเซีย, ยืมตัว), อเล็กซ์ กอลลาโด้ (เอลเช่, ยืมตัว), ซามูเอล อูมติตี้ (เลชเช่, ยืมตัว), แซร์จินโญ่ เดสต์ (เอซี มิลาน, ยืมตัว), อับเดสซาหมัด เอซซัลซูลี่ (โอซาซูน่า, ยืมตัว), มาร์ติน เบรธเวท (เอสปันญ่อล), ปิแอร์-เอเมอริค โอบาเมยอง (เชลซี), อดาม่า ตราโอเร่ (วูล์ฟแฮมป์ตัน วันเดอเรอร์ส), ลุค เดอ ยอง (เซบีย่า), ฟิลิปเป้ คูตินโญ่ (แอสตัน วิลล่า)

 เรอัล เบติส

👉 นักเตะเข้า

วิลเลี่ยน โฆเซ่ (เรอัล โซเซียดัด), หลุยส์ เฮนริเก้ (ฟลูมิเนเซ่), หลุยส์ เฟลิเป้ (ลาซิโอ), โลเรน โมรอน (เอสปันญ่อล), ดานี่ มาร์ติน (มาลาก้า), โรเบอร์ กอนซาเลซ (ลาส พัลมาส)

👉 นักเตะออก

คริสเตียน เตลโล่ (ลอสแองเจลิส เอฟซี), โจเอล โรเบิลส์ (ลีดส์ ยูไนเต็ด), มาร์ค บาร์ตร้า (แทร็บซอนสปอร์), เฮคเตอร์ เบเยริน (อาร์เซน่อล), กิเก้ เฮร์โมโซ่ (หมดสัญญา)

 กาดิซ

👉 นักเตะเข้า

เอแวร์ มาบิล (มิดทิลแลนด์), บิคตอร์ ชูสต์ (เรอัล มาดริด, ยืมตัว), โฆเซบา ซัลดูอา (เรอัล โซเซียดัด), อันโตนิโอ บลังโก้ (เรอัล มาดริด, ยืมตัว), เตโอ บงกองด้า (เกงค์), ไบรอัน โอคัมโป (นาซิอองนาล), ฆอน อันเดร การิโด้ (มิรันเดส), อัลบาโร่ กิเมเนซ (เรอัล ซาราโกซ่า)

👉 นักเตะออก

รูเบน อัลการาซ (เรอัล บายาโดลิด, ยืมตัว), มิลูติน ออสมายิช (วิเซล่า), อัลบาโร่ ฆิเมเนซ (ลาส พัลมาส), ซัลบี้ ซานเชซ (ราโย บาเยกาโน่), เยนส์ จอนส์สัน (เออีเค เอเธนส์), วาราซดัด ฮาโรยาน (อนอร์โธซิส), มาร์ติน กัลเดร่อน (เซลต้า บีโก้, ยืมตัว), อัลแบร์โต้ เปเรอา (กรานาด้า), ฆอร์เก้ ปอมโบ (ราซิ่ง ซานตานเดร์), อุสซามา อิดริสซี่ (เซบีย่า), เฟเด้ ซาน อีเมเตริโอ (เรอัล บายาโดลิด), ฟลอริน อันโดเน่ (ไบรท์ตัน), นาโน เมซ่า (หมดสัญญา)

 เซลต้า บีโก้

👉 นักเตะเข้า

วิลเลียต สเวดเบิร์ก (ฮัมมาร์บี้), ออสการ์ โรดริเกซ (เซบีย่า, ยืมตัว), ลูก้า เด ลา ตอร์เร่ (เฮอร์ราเคิลส์), อูไน นูเนซ (แอธเลติก บิลเบา, ยืมตัว), ออสการ์ มิงเกซ่า (บาร์เซโลน่า), ออกุสติน มาร์เชซิน (ปอร์โต้), กอนซาโล่ ปาเชนเซีย (ไอน์ทรัค แฟรงค์เฟิร์ต), การ์เลส เปเรซ (โรม่า, ยืมตัว), มาร์ติน กัลเดร่อน (กาดิซ, ยืมตัว), เยอร์เก้น สตรานด์ ลาร์เซ่น (โกรนิงเก้น), อิวาน บิลลาร์ (เลกาเนส)

👉 นักเตะออก

เนสตอร์ อเราโฆ่ (คลับ อเมริกา), โนลิโต้ (อิบิซ่า), เอ็มเร่ มัวร์ (คารากุมรุค), โฆเซ่ ฟอนตัน (โก อเฮด อีเกิลส์, ยืมตัว), โอเกย์ โยกุสลู (เวสต์บรอมวิช อัลเบี้ยน), กาเบรียล เฟอร์นานเดซ (ฆูอาเรซ, ยืมตัว), บราอิส เมนเดซ (เรอัล โซเซียดัด), ฆูเลน โลเบเต้ (อาร์เคซี วาลไวจ์ค), ซานติ มิน่า (อัล ชาบาบ, ยืมตัว), มิเกล เบอีซ่า (ริโอ อาฟ, ยืมตัว), เซร์คิโอ การ์ไรร่า (บียาร์เรอัล), ติอาโก้ กัลอาร์โด้ (อินเตอร์นาซิอองนาล), มัทธิอัส ดิตูโร่ (ยูนิเวอร์ซิดัด คาโตลิก้า), เจสัน มูริลโล่ (ซามพ์โดเรีย)

 เอลเช่

👉 นักเตะเข้า

เอเซเกล ปอนเซ่ (สปาร์ตัก มอสโก), การ์ลอส เคิร์ก (เลบันเต้), โรเจอร์ มาร์ตี้ (เลบันเต้), อเล็กซ์ กอลลาโด้ (บาร์เซโลน่า, ยืมตัว), ปอล ลิโรล่า (โอลิมปิก มาร์กเซย, ยืมตัว), โดมิงกอส กีน่า (วัตฟอร์ด, ยืมตัว), เฟเดริโก้ เฟอร์นานเดซ (นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด), นิโคลัส เมอร์เกา (ซาน ลอเรนโซ่), อักเซล เวอร์เนอร์ (อาร์เซน่อล ซารานดี้)

👉 นักเตะออก

กุยโด การ์ริลโย่ (เหอหนาน), อิวาน มาโกเน่ (อินดิเพนเดียนเต้), ปาโบล ปิอัตติ (เอสตูเดียนเตส), กิเก้ กาซิลย่า (ลีดส์ ยูไนเต็ด), โยฮัน โมจิก้า (บียาร์เรอัล), มูรัด เอล เกซูอานี่ (บูอากอส), มานู ฆุสโต้ (ราซิ่ง คลับ), โฆเซม่า (เลกาเนส), กิเก้ เปเรซ (เรอัล บายาโดลิด), ลูคัส โอลาซ่า (เรอัล บายาโดลิด), โฆเซ่ ซาลินาส (มิรันเดส), อันโตนิโอ บาร์รากัน (หมดสัญญา)

 เอสปันญ่อล

👉 นักเตะเข้า

ไบรอัน โอลิแวน (เรอัล มายอร์ก้า), โฆเซลู (อลาเบส), วินิซิอุส ซูซ่า (ลอมเมล, ยืมตัว), เบนจามิน เลกอมเต้ (โมนาโก, ยืมตัว), เอดู เอ็กซ์โปซิโต้ (เออิบาร์), ดานี่ โกเมซ (เลบันเต้), โฆเซ่ การ์ลอส ลาโซ่ (อัลเมเรีย), อัลบาโร่ เฟอร์นานเดซ (อูเอสก้า, ยืมตัว), มาร์ติน เบรธเวท (บาร์เซโลน่า), ปอล โลซาโน่ (กิโรน่า), ฮวน คามิโล่ บีเซอร์ร่า (กิมนาสติก)

👉 นักเตะออก

ดิเอโก้ โลเปซ (ราโย บาเยกาโน่), ดาบิด โลเปซ (กิโรน่า), ฟราน เมริด้า (เทียนจิน), โอเอียร์ โอลาซาบัล (ปาฟอส), บิคตอร์ โกเมซ (บราก้า, ยืมตัว), ออสการ์ เมเลนโด้ (กรานาด้า), มิเกลอน (เรอัล โอเบียโด้, ยืมตัว), อู๋ เหล่ย (เซี่ยงไฮ้ พอร์ท), มัทธิอัส วาร์กาส (เซี่ยงไฮ้ พอร์ท), ทอนนี่ วิลเฮน่า (ซาแลร์นิตาน่า, ยืมตัว), โฆแฟร์ การ์เรราส (มิรันเดส, ยืมตัว), อาเดรียน เอ็มบาร์บา (อัลเมเรีย), ลอนดรี้ ดิมาต้า (เอ็นอีซี ไนจ์เมเก้น, ยืมตัว), ยังเกล เอร์เรร่า (แมนเชสเตอร์ ซิตี้), มานู มอร์ลาเนส (บียาร์เรอัล), ลอเรน โมรอน (เรอัล เบติส), อัลบาโร่ บาดิลโล่ (เออิบาร์), ดิดัค บิล่า (หมดสัญญา) 

 เกตาเฟ่

👉 นักเตะเข้า

ปอร์ตู (เรอัล โซเซียดัด, ยืมตัว), ไฆเม่ ซีโอเน่ (อูเอสก้า), โดมิงกอส ดูอาเต้ (กรานาด้า), หลุยส์ มิลย่า (กรานาด้า), ฟาบริซิโอ อันจิเลรี่ (ริเวอร์เพลท), บอร์ฆา มาโยรัล (เรอัล มาดริด), กิโก้ กาซิลย่า (ลีดส์ ยูไนเต็ด), โอมาร์ อัลเดอร์เต้ (แฮร์ธ่า เบอร์ลิน, ยืมตัว), ฆวนมี่ ลาตาซ่า (เรอัล มาดริด, ยืมตัว), มูเนียร์ เอล ฮัดดาดี้ (เซบีย่า)

👉 นักเตะออก

มัทธิอัส โอลิเวียร่า (นาโปลี), อูโก้ ดูโร่ (บาเลนเซีย), ดาริโอ โปเบด้า (อิบิซ่า, ยืมตัว), แจ็ค ฮาร์เปอร์ (เออร์กูเลส, ยืมตัว), เชม่า โรดริเกซ (เออิบาร์), อีริค กาบาโก้ (กรานาด้า, ยืมตัว), อิกนาซี่ มิเกล (กรานาด้า, ยืมตัว), มิเกล รูบิโอ (กรานาด้า, ยืมตัว), โจนาธาน ซิลบา (กรานาด้า, ยืมตัว), ซาบิต อับดุลลาย (ปอนแฟร์ราดิน่า, ยืมตัว), ยาค็อบ ยังโต้ (สปาร์ต้า ปราก), กอนซาโล่ บิลลาร์ (โรม่า), ออสการ์ โรดริเกซ (เซบีย่า), บิโตโล่ (แอตเลติโก้ มาดริด), ฟลอเรนติโน่ (เบนฟิกา), ฆอร์เก้ กูเอนก้า (บียาร์เรอัล), ซานโดร รามิเรซ (อูเอสก้า), โอเกย์ โยกุสลู (เซลต้า บีโก้)

 กิโรน่า

👉 นักเตะเข้า

อิวาน มาร์ติน (บียาร์เรอัล, ยืมตัว), ดาบิด โลเปซ (เอสปันญ่อล), ยาน คูโต้ (แมนเชสเตอร์ ซิตี้, ยืมตัว), ทาตี้ กาสเตลลานอส (นิวยอร์ค ซิตี้, ยืมตัว), โรดริโก้ ริเกลเม่ (แอตเลติโก้ มาดริด, ยืมตัว), ยานเกล เอร์เรร่า (แมนเชสเตอร์ ซิตี้, ยืมตัว), ไรเนียร์ (เรอัล มาดริด, ยืมตัว), ฆาบี้ เอร์นานเดซ (เลกาเนส, ยืมตัว), โทนี่ ฟูอิดิอาส (เรอัล มาดริด), ออริออล โรเมอู (เซาธ์แธมป์ตัน), เปาโล กาซซานิก้า (ฟูแล่ม, ยืมตัว), มานู บัลเยโร่ (บาเลนเซีย), โทนี่ บีย่า (เรอัล บายาโดลิด)

👉 นักเตะออก

ไฆโร อิซเควียโด้ (การ์ตาเยน่า), อเล็กซ์ กัลลาร์ (มาลาก้า), โจนาธาน ดูบาสซิน (อัลบาเซเต้), อเล็กซ์ ซาล่า (ซาบาเดลล์), นาฮูเอล บัสโตส (แมนเชสเตอร์ ซิตี้), ปาโบล โมเรโน่ (แมนเชสเตอร์ ซิตี้), ดาริโอ ซาร์เมียนโต้ (แมนเชสเตอร์ ซิตี้), ปอล โลซาโน่ (เอสปันญ่อล), อเล็กซ์ บาเอน่า (บียาร์เรอัล), ฆอร์ดี้ คัลลาเบร่า (ลูโก้), ดาบิด ฆังก้า (หมดสัญญา), บิคตอร์ ซานเชซ (หมดสัญญา)

 เรอัล มายอร์ก้า

👉 นักเตะเข้า

โฆเซ่ โกเปเต้ (ปอนเฟร์ราดิน่า), มิเกล แอลลาเบรส (แอนดรากซ์), ติโน่ กาเดแวร์ (โอลิมปิก ลียง, ยืมตัว), มาติย่า นาสตาซิช (ฟิออเรนติน่า), ลาโก้ จูเนียร์ (อูเอสก้า), ไบรอัน คูเฟร (มาลาก้า)

👉 นักเตะออก

มาโนโล ไรน่า (มาลาก้า), ซัลบา เซบีย่า (อลาเบส), ไบรอัน โอลิแวน (เอสปันญ่อล), อเล็กซ์ เฟบาส (มาลาก้า), โฆอัน ซาสเตร (พีเอโอเค ซาโลนิก้า), อเล็กซานเดอร์ เซดลาร์ (อลาเบส), ปาโบล มาฟเฟว (สตุ๊ตการ์ท), ฆอร์ดี้ เอ็มบูล่า (ราซิ่ง ซานตานเดร์, ยืมตัว), อเล็กซ์ อเลเกรีย (ฟูเอนลาบราด้า, ยืมตัว), เวดัต มูริกี (ลาซิโอ), เซร์คิโอ ริโก้ (ปารีส แซงต์-แชร์กแมง), ทาเคฟุสะ คุโบะ (เรอัล มาดริด), แฟร์ นิโน่ (บียาร์เรอัล), โรดริโก้ บัตตาเกลีย (สปอร์ติ้ง ลิสบอน)

 โอซาซูน่า

👉 นักเตะเข้า

รูเบน ปีน่า (บียาร์เรอัล), ไอตอร์ เฟอร์นันเดซ (เลบันเต้), โมอิ โกเมซ (บียาร์เรอัล), เซร์คิโอ โมเรโน่ (ราโย บาเยเกาโน่, ยืมตัว), อับเดสซาหมัด เอซซัลซูลี่ (บาร์เซโลน่า, ยืมตัว), กิเก้ ซาเบริโอ (ปอนเฟร์ราดิน่า), ฆอร์เก้ เอร์รันโด้ (ลอโกรเนส), อิวาน มาร์ติเนซ (กาสเตลย่อน)

👉 นักเตะออก

มานู ซานเชซ (แอตเลติโก มาดริด, ยืมตัว), อันโตนิโอ โอเตกี (บาดาฆอซ), โอเอียร์ ซานฆัวโฆ่ (เออีเค ลาร์นาก้า), โจนัส รามัลโฮ (มาลาก้า), มาร์ค การ์โดน่า (ลาส พัลมาส), โรเบอร์ อิบาเนซ (เลบันเต้), เฆซุส อาเรโซ่ (บูอากอส, ยืมตัว), ฆาบี้ มาร์ติเนซ (อัลบาเซเต้, ยืมตัว), อินนิโก้ เปเรซ (เลิกเล่น)

 ราโย บาเยกาโน่

👉 นักเตะเข้า

ซัลบี้ ซานเชซ (กาดิซ), ดิเอโก้ โลเปซ (เอสปันญ่อล), ฟลอเรียง เลชูเน่ (อลาเบส, ยืมตัว), เซร์คิโอ กาเมลโล่ (แอตเลติโก้ มาดริด, ยืมตัว), เป๊ป ชาบาร์เรีย (เรอัล ซาราโกซ่า), อบิดัล มูมิน (วิคตอเรีย กิมาไรส์), โฆเซ่ โปโซ่ (อัล-อาห์ลี), มิเกล อังเคล มอร์โร่ (ฟูเอนลาบราด้า), อันเดรส มาร์ติน (เตเนริเฟ่), ลาสส์ บังกูร่า (พีเอเอส ลาเมีย)

👉 นักเตะออก

มาร์ติน ปาสคาล (อิบิซ่า, ยืมตัว), ฆอร์เก้ โมเรโน่ (กอร์โดบา, ยืมตัว), โฆนี่ มอนเทียล (เลบันเต้, ยืมตัว), เซร์คิโอ โมเรโน่ (โอซาซูน่า, ยืมตัว), ลูก้า ซีดาน (เออิบาร์), เซร์กี้ กวาร์ดิโอล่า (เรอัล บายาโดลิด), นิโกล่า มาราส (อัลเมเรีย), มามาดูร์ ซิลล่า (อลาเบส), มาร์ติน เมอร์เกลันซ์ (เรอัล โซเซียดัด), คาวิง โรดริเกส (เรอัล โซเซียดัด)

 เรอัล มาดริด

👉 นักเตะเข้า

ออเรเลียง ชูอาเมนี่ (โมนาโก), อันโตนิโอ รูดิเกอร์ (เชลซี), อัลบาโร่ ออดริโอโซล่า (ฟิออเรนติน่า)

👉 นักเตะออก

คาเซมิโร่ (แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด), แกเร็ธ เบล (ลอสแองเจลิส เอฟซี), มาร์เชโล่ (โอลิมเปียกอส), ลูก้า โยวิช (ฟิออเรนติน่า), อิสโก้ (เซบีย่า), บิคตอร์ ชูสต์ (กาดิซ), ทาเคฟุสะ คุโบะ (เรอัล โซเซียดัด), บอร์ฆา มาโยรัล (เกตาเฟ่), โทนี่ ฟูอิดิอาส (กิโรน่า), อันโตนิโอ บลังโก้ (กาดิซ, ยืมตัว), ไรเนียร์ (กิโรน่า, ยืมตัว)

 เรอัล โซเซียดัด

👉 นักเตะเข้า

โมฮัมเหม็ด-อาลี โช (อองเชร์), บราอิส เมนเดส (เซลต้า บีโก้), ทาเคฟุสะ คุโบะ (เรอัล มาดริด), อูมาร์ ซาดิค (อัลเมเรีย), มาร์ติน เมอร์เกลันซ์ (ราโย บาเยกาโน่)

👉 นักเตะออก

เควิน โรดริเกส (อดาน่า เดมิสปอร์), วิลเลียน โฆเซ่ (เรอัล เบติส), ลูก้า ซังกาลี (การ์ตาเยน่า), ปอร์ตู (เกตาเฟ่, ยืมตัว), โรแบร์โต้ โลเปซ (มิรันเดส, ยืมตัว), อัตนาน ยานาไซ (เซบีย่า), อเล็กซานเดอร์ อิซัค (นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด), โมดิโบ แซกนาน (อูเทร็คท์, ยืมตัว), โฆเซบา ซัลดูอา (กาดิซ), ฆอน กูริดี้ (อลาเบส), ฆูเลน โลเบเต้ (เซลต้า บีโก้), แมทธิว ไรอัน (โคเปนเฮเก้น), ฆอน เบาติสต้า (เออิบาร์), อเล็กซานเดอร์ โซลอธ (แอร์เบ ไลป์ซิก, ยืมตัว), ราฟินญ่า (ปารีส แซงต์-แชร์กแมง), นาโช่ มอนเรอัล (เลิกเล่น)

 เซบีย่า

👉 นักเตะเข้า

มาร์เกา (กาลาตาซาราย), อเล็กซ์ เตลเลส (แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, ยืมตัว), อิสโก้ (เรอัล มาดริด), ตุนกาย นิอันซู (บาเยิร์น มิวนิค), อัตนาน ยานาไซ (เรอัล โซเซียดัด), โดลเบิร์ก (นิซ่า, ยืมตัว)

👉 นักเตะออก

ดิเอโก้ คาร์ลอส (แอสตัน วิลล่า), อเลฮานโดร โปโซ่ (อัลเมเรีย, ยืมตัว), ลุค เดอ ยอง (พีเอสวี ไอนด์โฮเฟ่น), ออสการ์ โรดริเกซ (เซลต้า บีโก้, ยืมตัว), ลุควิค ออกัสตินสัน (แอสตัน วิลล่า, ยืมตัว), อุสซามา อิดริสซี่ (เฟเนยูร์ด, ยืมตัว), ฌูลส์ กุนเด้ (บาร์เซโลน่า), อิวาน โรเมโร่ (เตเนริเฟ่, ยืมตัว), มูเนียร์ เอล-ฮัดดาดี้ (เกตาเฟ่), ลูคัส โอคัมโปส (อาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม, ยืมตัว), โรนี่ โลเปส (ทรัวส์), ฆวน แบร์โรกัล (เออิบาร์), อองโตนี่ มาร์กซิยาล (แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด)

 บาเลนเซีย

👉 นักเตะเข้า

ซามู กาสติลเยโฆ่ (เอซี มิลาน), จัสติน ไคลเวิร์ต (โรม่า), อังเดร อัลเมด้า (วิคตอเรีย กิมาไรส์), นิโก้ กอนซาเลซ (บาร์เซโลน่า, ยืมตัว), เซงค์ ออซกาคาร์ (โอลิมปิก ลียง, ยืมตัว), คริสเตียน ริเบโร่ (อัลกอร์กอน), บิเซนเต้ เอสเกวโด้ (กาสติเยล่อน)

👉 นักเตะออก

อูโก้ ดูโร่ (เกตาเฟ่), มานู บัลเยโร่ (กิโรน่า), อิลัช มูริบา (แอร์เบ ไลป์ซิก, ยืมตัว), เดนิส เชรีเชฟ (เวเนเซีย), ฆอร์เก้ ซานซ์ (เลกาเนส, ยืมตัว), กอนซาโล่ กูเอเดส (วูล์ฟแฮมป์ตัน วันเดอเรอร์ส), ยาสเปอร์ ซิลเลสเซ่น (เอ็นอีซี ไนจ์เมเก้น), โกบา กอยน์เดรดี้ (เรอัล โอเบียโด้, ยืมตัว), มักซี่ โกเมซ (แทร็บซอนสปอร์), คาร์ลอส โซแลร์ (ปารีส แซงต์-แชร์กแมง), อูลอส ราซิช (บราก้า), มานู บัลเยโร่ (กิโรน่า), โอมาร์ เอแดร์ต (แฮร์ธ่า เบอร์ลิน), เฮลเดอร์ คอสต้า (ลีดส์ ยูไนเต็ด), ไบรอัน จิล (ท็อตแน่ม ฮอทสเปอร์), อิลัช มูริบา (แอร์เบ ไลป์ซิก)

 เรอัล บายาโดลิด

👉 นักเตะเข้า

มิกาเอล มัลซ่า (เลบันเต้), เซร์จิโอ อาเซนโฆ่ (บียาร์เรอัล), ฆวนโฆ่ นาร์วาเรซ (เรอัล ซาราโกซ่า), เซร์คิโอ เอสกูเดโร่ (กรานาด้า), เคเนดี้ (เชลซี), ซูเอีย เฟดดัล (สปอร์ติ้ง ลิสบอน), กิเก้ เปเรซ (เอลเช่), ลูคัส โอลาซ่า (เอลเช่), เซร์กี้ กวาร์ดิโอล่า (ราโย บาเยกาโน่)

👉 นักเตะออก

รูเบน อัลการาซ (กาดิซ), เฟเด้ ซาน อีเมเตริโอ (กาดิซ), ดิเอโก้ อลันเด้ (เอฟซี อันดอร์รา), โฆเซ่ อันโตนิโอ คาโร่ (บูร์กอส), เซกู กัสซาม่า (ราซิ่ง ซานตานเดร์), วิคเตอร์ การ์เซีย (อัลกอร์กอน), อิวาน ซานเชซ (เบอร์มิงแฮม ซิตี้, ยืมตัว), มอนชู (กรานาด้า, ยืมตัว), กอนซาโล่ พลาต้า (สปอร์ติ้ง ลิสบอน, ยืมตัว), ซาอิดี้ ยานโก้ (โบคุ่ม, ยืมตัว), กิโก้ โอลิวาส (การ์ตาเยน่า), ปาโบล เอเวียส (มาลาก้า), ราอูล การ์เนโร่ (เดปอร์ติโว ลา คอรุนญ่า, ยืมตัว), เปาโล วิตอร์ (ริโอ อาฟ, ยืมตัว), โรแบร์โต้ วิคตอร์ การ์เซีย (อัลกอร์กอน), วัลโด้ รูบิโอ (เตเนริเฟ่), สตีเว่น พลาซ่า (นิวยอร์ก เรด บูลส์), อูโก้ บัลเลโฆ่ (ปอนเฟร์ราดิน่า, ยืมตัว), โทนี่ บีย่า (กิโรน่า), โฆเซม่า (เอลเช่), มอร์กิโล่ (แอธเลติก บิลเบา), คริสโต้ กอนซาเลซ (อูดิเนเซ่), นาโช่ (หมดสัญญา)

 บียาร์เรอัล

👉 นักเตะเข้า

โฆเซ่ หลุยส์ โมราเลส (เลบันเต้), เปเป้ เรน่า (ลาซิโอ), กิโก้ เฟเมเนีย (วัตฟอร์ด), มามาดู เอ็มบัคเก้ (ลอสแองเจลิส เอฟซี), โยฮันน์ โมจิก้า (เอลเช่), ฆอร์เก้ คูเอ็นก้า (เกตาเฟ่), มานู โมราเนส (เอสปันญ่อล), แฟร์ นิโน่ (เรอัล มายอร์ก้า), อเล็กซ์ บาเอน่า (กิโรน่า)

👉 นักเตะออก

รูเบน ปีน่า (โอซาซูน่า), เซร์จิโอ อาเซนโฆ่ (เรอัล บายาโดลิด), ซาบี้ ควินติลย่า (ซานต้า คลาร่า), โมอิ โกเมซ (โอซาซูน่า), มาริโอ กาซปาร์ (วัตฟอร์ด), เพอร์วิส เอสตูพินัน (ไบรท์ตัน), บูลาย ดิอา (ซาแลร์นิตาน่า), ปาโก้ อัลคาเซร์ (ชาร์จาห์ เอฟซี), บิเซนเต้ อิบอร์ร่า (เลบันเต้, ยืมตัว), อิวาน มาร์ติน (กิโรน่า, ยืมตัว), แซร์จ ออริเย่ร์ (หมดสัญญา), โจวานนี่ โล เซลโซ่ (ท็อตแน่ม ฮอทสเปอร์, ยืมตัว)

อ้างอิง : https://www.transfermarkt.com/laliga/transfers/wettbewerb/ES1

Categories
Football Business

ตลาดนักเตะซัมเมอร์ 2022 ที่บ้าคลั่งที่สุดในประวัติศาสตร์ลูกหนังเมืองผู้ดี

ตลาดซื้อขายนักเตะช่วงซัมเมอร์ปี 2022 ปิดทำการลงเรียบร้อย เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา สโมสรในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2022/23 ได้มีการเสริมผู้เล่นใหม่เข้ามาครบทั้ง 20 ทีม

จำนวนเงินในการซื้อขายในตลาดนักเตะรอบนี้ ทุกสโมสรในลีกสูงสุดอังกฤษ ใช้จ่ายรวมกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ถึง 1.9 พันล้านปอนด์ ทุบสถิติเดิมในปี 2017 ที่ทำไว้ 1.4 พันล้านปอนด์

SoccerSuck x ไข่มุกดำ จะมาสรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น รวมถึงตัวเลข สถิติที่น่าสนใจ ตลอดช่วงเวลาการซื้อขายของตลาดนักเตะซัมเมอร์ 2022 มาให้ฟังกันครับ

ภาพรวมของการซื้อขาย

การซื้อขายนักเตะในตลาดช่วงซัมเมอร์ 2022 เรียกได้ว่าคึกคักที่สุดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มา 2 ปี หลายสโมสรได้จ่ายเงินซื้อนักเตะทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์

เริ่มจากเชลซี ในยุคของท็อดด์ โบห์ลี่ เจ้าของทีมคนใหม่ ประเดิมการเข้ามาบริหารสโมสร ด้วยการจ่ายถึง 251 ล้านปอนด์ แลกกับนักเตะใหม่ 8 คน กลายเป็นทีมแชมป์ใช้เงินมากสุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก

ดีลใหญ่ ๆ ของเชลซี ยกตัวอย่างเช่น ราฮีม สเตอร์ริ่ง (จาก แมนเชสเตอร์ ซิตี้), มาร์ค คูคูเรลล่า (จาก ไบรท์ตัน), เวสลี่ย์ โฟฟาน่า (จาก เลสเตอร์ ซิตี้), คาลิดู คูลิบาลี่ (จาก นาโปลี), ปิแอร์-เอเมอริค โอบาเมยอง (จาก บาร์เซโลน่า)

ขอบคุณภาพ : https://www.facebook.com/ChelseaFC

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ของเอริค เทน ฮาก กุนซือคนใหม่ ก็จ่ายหนักเป็นสถิติสูงสุดของสโมสร นักเตะอย่างลิซานโดร มาติเนซ, ไทเรลล์ มาลาเซีย, คาเซมิโร่, และแอนโธนี่ 4 คนนี้ มีค่าตัวรวมกัน 214 ล้านปอนด์

แม้กระทั่งน็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ ทีมน้องใหม่ที่คัมแบ็กสู่พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกในรอบ 23 ปี ใช้เงิน 145 ล้านปอนด์ แลกกับนักเตะใหม่ถึง 22 คน ทุบสถิติทีมที่เซ็นสัญญานักเตะจำนวนมากที่สุดในพรีเมียร์ลีก

สโมสรที่ใช้เงินซื้อนักเตะเกิน 100 ล้านปอนด์ นอกจาก 3 ทีมที่กล่าวมาแล้ว ยังมีเวสต์แฮม ยูไนเต็ด, ท็อตแน่ม ฮอทสเปอร์, แมนเชสเตอร์ ซิตี้, นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด, อาร์เซน่อล และวูล์ฟแฮมตัน วันเดอเรอร์ส

นอกจากนี้ ยังมีบรรดากองหน้าที่ย้ายทีมด้วยค่าตัวมหาศาล ทั้งดาร์วิน นูนเญซ (ไป ลิเวอร์พูล), เออร์ลิง ฮาลันด์ (ไป แมนฯ ซิตี้), กาเบรียล เชซุส (ไป อาร์เซน่อล), จานลูก้า สคามัคก้า (ไป เวสต์แฮม), อเล็กซานเดอร์ อิซัค (ไป นิวคาสเซิล)

ฝุ่นตลบในวันตลาดวาย

ถ้านับเฉพาะการซื้อขายที่เกิดขึ้นในวันสุดท้ายของตลาดนักเตะรอบนี้ คือวันที่ 1 กันยายน 2022 จะพบว่ามีดีลที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว โดยมี 14 จาก 20 สโมสรพรีเมียร์ลีก ที่มีการปิดดีลในวันตลาดวาย

ขอบคุณภาพ : https://www.facebook.com/mancity

ยกตัวอย่างเช่น แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ดึงตัวมานูเอล อาคานจี กองหลังทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ จากโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ เซ็นสัญญา 5 ปี และจะได้ร่วมงานกับเออร์ลิง ฮาลันด์ อดีตเพื่อนร่วมทีม “เสือเหลือง” อีกครั้ง

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เร่งเครื่องปิดดีล 2 นักเตะในวันสุดท้าย คือ แอนโธนี่ ปีกทีมชาติบราซิล จากอาแจกซ์ อัมสเตอร์ดัม 82 ล้านปอนด์ และยืมตัวมาร์ติน ดูบราฟก้า ผู้รักษาประตูจากนิวคาสเซิ่ล จนจบฤดูกาลนี้

เชลซี ดึง 2 นักเตะเข้ามาในวันสุดท้าย ทั้งปิแอร์-เอเมอริค โอบาเมยอง จากบาร์เซโลน่า เซ็นสัญญา 2 ปี และเดนิส ซาคาเรีย มิดฟิลด์ทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์จากยูเวนตุส ด้วยสัญญายืมตัวเป็นเวลา 1 ฤดูกาล

ลิเวอร์พูล ที่ตามหานักเตะเพื่อเข้ามาแก้ปัญหาในแดนกลาง ที่สุดแล้วได้ตัวอาร์ตูร์ เมโล่ มิดฟิลด์ทีมชาติบราซิลจากยูเวนตุส ด้วยสัญญายืมตัว 1 ฤดูกาล และมีออพชั่นซื้อขาดที่ 37.5 ล้านปอนด์

เอฟเวอร์ตัน ดึงตัวอิดริสซ่า เกย์ กองกลางทีมชาติเซเนกัล จากปารีส แซงต์-แชร์กแมง กลับถิ่นกูดิสัน พาร์คอีกครั้ง เซ็นสัญญา 2 ปี และเจมส์ การ์เนอร์ จากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เซ็นสัญญา 4 ปี

เลสเตอร์ ซิตี้ ที่เพิ่งขยับตัวจ่ายเงินซื้อนักเตะในตลาดรอบนี้เป็นทีมสุดท้าย ซึ่งดีลแรกของพวกเขา ก็เกิดขึ้นในวันสุดท้าย คือ เวาท์ ฟาส เซ็นเตอร์แบ็กชาวเบลเยียม จากแรงส์ ในลีกฝรั่งเศส เซ็นสัญญา 5 ปี

ส่วนดีลอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ ที่ปิดดีลโลอิก บาด จากแรนส์ ในฝรั่งเศส ด้วยสัญญายืมตัว รวมถึงฟูแล่ม ที่ปิดดีลวิลเลี่ยน อดีตดาวเตะเชลซี และอาร์เซน่อล 

ลีกลูกหนังที่บ้าคลั่งที่สุด

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ คือลีกที่ใช้เงินมากที่สุดในตลาดซื้อขายนักเตะช่วงซัมเมอร์ ปี 2022 เมื่อเทียบกับ 5 ลีกใหญ่ยุโรป นอกจากนี้ ยังเป็นตัวเลขที่ทุบสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์ลูกหนังเมืองผู้ดีอีกด้วย

ตัวเลข 1.9 พันล้านปอนด์ ในตลาดรอบนี้ ทำลายสถิติเดิมจากช่วงเดียวกันเมื่อปี 2017 ที่มียอดใช้จ่าย 1.4 พันล้านปอนด์ และเพิ่มขึ้นจากตลาดนักเตะซัมเมอร์ปีที่แล้ว (2021) ถึง 67 เปอร์เซ็นต์ 

จากข้อมูลของดีลอยด์ (Deloitte) บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินระดับโลก ระบุว่า ยอดใช้จ่ายเฉพาะซัมเมอร์ปีนี้ สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้นจากสถิติเดิมของยอดรวม 2 รอบตลาด เมื่อฤดูกาล 2017/18 คิดเป็น 3 เปอร์เซ็นต์

ข้อมูลสำคัญของ Deloitte จากตลาดซื้อขายนักเตะซัมเมอร์ปี 2022 มีดังต่อไปนี้

– ใน 5 ลีกใหญ่ของยุโรป (อังกฤษ, เยอรมนี, อิตาลี, สเปน, ฝรั่งเศส) ใช้จ่ายรวมกัน 3.88 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้น 52 เปอร์เซ็นต์ จากซัมเมอร์ปีที่แล้ว

– สโมสรพรีเมียร์ลีก ถือสัดส่วนถึง 49 เปอร์เซ็นต์ มากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงซัมเมอร์ปี 2008 และมากกว่าเซเรีย อา ของอิตาลีถึง 3 เท่า (646 ล้านปอนด์)

– สโมสรพรีเมียร์ลีก เซ็นสัญญานักเตะ 169 คน มากกว่าช่วงเดียวกันของปี 2021 (148 คน) และปี 2020 (132 คน)

– ยอดใช้จ่ายในการซื้อนักเตะสุทธิ (ส่วนต่างระหว่างซื้อและขาย) ของพรีเมียร์ลีกซีซั่นนี้ ทะลุ 1 พันล้านปอนด์เป็นครั้งแรก

– นักเตะที่ย้ายทีมแบบมีค่าตัว มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 66 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับซัมเมอร์ปีที่แล้ว ที่มีสัดส่วน 45 เปอร์เซ็นต์

ทิม บริดจ์ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจการกีฬาของ Deloitte กล่าวว่า “การใช้จ่ายในตลาดซัมเมอร์ปีนี้ที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แสดงให้เห็นว่า ทีมในพรีเมียร์ลีกมีความมั่นใจอย่างมาก เนื่องจากมีรายได้กลับเข้ามามากขึ้นหลังช่วงโควิด”

“พวกเขายินดีที่จะใช้เงินเป็นจำนวนมาก เพื่อต่อสู้กับการแข่งขันที่สูงมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา อันเนื่องมาจากความกดดันที่สโมสรต่างๆ ได้กำหนดเป้าหมายที่ท้าทายมากขึ้น”

ไม่ว่านักเตะใหม่ที่เข้ามา จะมีค่าตัวมากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การทำผลงานที่น่าประทับใจ และพาทีมประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เพื่อให้คุ้มค่ากับเงินทุกปอนด์ที่ได้จ่ายไป

เรียบเรียง: จักรพันธ์ ภู่ทอง

อ้างอิง :

– https://www.bbc.com/sport/football/62758471

https://theathletic.com/3358933/2022/09/01/premier-league-transfer-news-summer-window/

https://www.premierleague.com/transfers/summer

– https://www.transfermarkt.com/premier-league/transfers/wettbewerb/GB1

https://www.sportingnews.com/uk/soccer/news/premier-league-transfer-spending-Haaland-Nunez-Richarlison-Jesus/l0rj2wd9arkzt7goqkkri6ps

Categories
Column

เอดินสัน คาวานี่ : ดาวยิงคนใหม่บาเลนเซีย กับ 5 เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้

เอดินสัน คาวานี่ หนึ่งในสุดยอดจอมถล่มประตูของวงการฟุตบอลในศตวรรษที่ 21 เคยผ่านการค้าแข้งกับสโมสรชื่อดังในลีกใหญ่ยุโรป ทั้งนาโปลี, ปารีส แซงต์-แชร์กแมง และแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

แต่หลังจากหมดสัญญากับ “ปิศาจแดง” ก็เป็นบาเลนเซีย ทีมยักษ์หลับแห่งลาลีกา สเปน ที่จัดการสอยกองหน้าจอมเก๋าอุรุกวัยรายนี้ มาเสริมเกมรุกในถิ่นเมสตาย่า แบบไม่มีค่าตัว เซ็นสัญญา 2 ปี

ดาวเตะวัย 35 ปี จะได้โอกาสโชว์ฝีเท้าบนเวทีลีกสูงสุดแดนกระทิงดุเป็นครั้งแรกในชีวิตกับ “โลส เช” และนี่คือ 5 เรื่องราวของเขา ที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน

คนบ้านเดียวกันกับ “ซัวเรซ”

เมืองซัลโต้ ประเทศอุรุกวัย ถือเป็นบ้านเกิดของ 2 สุดยอดกองหน้าในวงการฟุตบอล ทั้งเอดินสัน คาวานี่ และหลุยส์ ซัวเรซ อดีตดาวยิงลาลีกา ซึ่งทั้งคู่เกิดห่างกันเพียงแค่ 21 วัน หรือ 3 สัปดาห์เท่านั้น โดยวันเกิดของคาวานี่ คือ 14 กุมภาพันธ์ 1987 ส่วนวันเกิดของซัวเรซ คือ 24 มกราคม 1987

ขอบคุณภาพ https://www.facebook.com/EdiCavaniOfficial

เริ่มไว้ผมยาวตั้งแต่อายุ 15 ปี

เมื่อครั้งยังเป็นเด็ก คาวานี่มีผมที่สั้น เนื่องจากคุณแม่มักจะตัดผมให้เป็นประจำ แต่เมื่ออายุได้ 15 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ย้ายไปฝึกวิชาลูกหนังกับอคาเดมี่ของดานูบิโอ เอฟซี สโมสรในมอนเตวิเดโอ เมืองหลวงของอุรุกวัย เขาจึงเริ่มไว้ผมยาวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และเขาคงจะไม่กลับไปตัดผมสั้นอีกแล้ว

ได้รับฉายา “เอล มาทาดอร์”

คำว่า “เอล มาทาดอร์” เป็นภาษาสเปน หมายถึง “นักสู้วัวกระทิง” แต่คาวานี่ได้รับฉายานี้ ขณะที่เล่นอยู่กับปาแลร์โม ในอิตาลี เนื่องจากการจบสกอร์ที่เยือกเย็นของเขา ในฤดูกาล 2008/09 ทำได้ถึง 15 ประตู รวมทุกรายการ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เท่ากับซีซั่น 2009/10 ซีซั่นสุดท้ายของเขากับปาแลร์โม

200 ประตู ดาวซัลโวตลอดกาล “เปแอสเช”

หลังจากลงเล่นให้กับปาแลร์โม และนาโปลี ในระดับลีกสูงสุดของอิตาลีมา 7 ปี คาวานี่ก็ย้ายมาค้าแข้งกับปารีส แซงต์-แชร์กแมง ยักษ์ใหญ่แห่งฝรั่งเศส ทำได้ถึง 200 ประตู รวมทุกรายการ ตลอดการค้าแข้ง 7 ปี ก้าวขึ้นมาเป็นดาวยิงสูงสุดตลอดกาลในประวัติศาสตร์ของ “เปแอสเช” เป็นที่เรียบร้อย

ขอบคุณภาพ https://www.facebook.com/EdiCavaniOfficial

มักจะหาโอกาสไปใช้ชีวิตแบบชนบท

ในช่วงที่ฟุตบอลลีกยุโรปหยุดพักฤดูกาล คาวานี่มักจะหาโอกาสกลับบ้านเกิดที่อุรุกวัย เพื่อเดินทางไปยังพื้นที่ที่ห่างไกลจากสังคมเมือง โดยเจ้าตัวเคยให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า ถ้าวันนี้ไม่ได้เป็นนักฟุตบอลอาชีพ เขาอาจจะไปเป็นสัตวแพทย์ เพราะเป็นคนที่รักสัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่าเป็นอย่างมาก

เจนนาโร่ กัตตูโซ่ เทรนเนอร์คนใหม่ของบาเลนเซีย กล่าวถึงคาวานี่ว่า “เขาไม่ใช่นักเตะธรรมดา เขาทำประตูและคว้าแชมป์มามากมายกับทีมที่ยอดเยี่ยม ผมเข้าใจเลยว่าทำไมผู้คนถึงตื่นเต้นกับการมาของเขา”

นับจากนี้ไป แฟนๆ ลาลีกาจะได้ชมฟอร์มการเล่นของเอดินสัน คาวานี่ กับบาเลนเซีย ซึ่งเขาจะเข้ามาเป็นพี่เลี้ยง เพื่อถ่ายทอดจิตวิญญาณให้กับนักเตะวัยหนุ่ม ที่จะเป็นกำลังหลักของทีมในวันข้างหน้าอีกด้วย

Categories
Column

คาเซมิโร่ : การเดิมพันครั้งสำคัญ เพื่อแก้ปัญหาแดนกลางของ “ปิศาจแดง”

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา คาเซมิโร่ ประเดิมลงสนามเป็นนัดแรกให้กับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด โดยได้ลงเล่นช่วง 10 นาทีสุดท้าย ก่อนที่ต้นสังกัดใหม่ของเขา บุกชนะเซาธ์แธมป์ตัน 1 – 0

ถือเป็นชัยชนะ 2 นัดติดต่อกันของยูไนเต็ด ต่อยอดจากศึก “แดงเดือด” ที่กำราบศัตรูที่รักอย่างลิเวอร์พูล ซึ่งคาเซมิโร่ ได้เปิดตัวต่อหน้าแฟน ๆ เรด อาร์มี่ ในโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เป็นครั้งแรก

SoccerSuck x ไข่มุกดำ จะมาขยายให้ฟังว่า มิดฟิลด์หมายเลข 18 เจ้าของดีกรีแชมป์ยุโรป 5 สมัย จะให้ประโยชน์อะไร กับ “ปิศาจแดง” ได้บ้าง ?

“คาเซมิโร่” คือดีลหน้ามืด ?

พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2022/23 ซีซั่นแรกของเอริค เทน ฮาก กุนซือคนใหม่แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ออกสตาร์ท 2 นัดแรก ด้วย 0 คะแนน เสียประตูถึง 6 ลูก ทำให้บรรยากาศภายในสโมสรเต็มไปด้วยความโกลาหล

นั่นทำให้เบื้องบนของยูไนเต็ด อยู่เฉยไม่ได้ ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อตอบสนองความต้องการของเทน ฮาก และหวังลดกระแสความไม่พอใจของแฟนบอลที่สะสมความคับแค้นมานานเกือบ 20 ปี

แฟรงกี้ เดอ ยอง มิดฟิลด์บาร์เซโลน่า เป้าหมายแรกในการเสริมทัพ ที่เทน ฮาก หวังดึงลูกน้องเก่าสมัยอยู่กับอาแจกซ์ อัมสเตอร์ดัมมาร่วมงาน พยายามเจรจามานานกว่า 3 เดือน แต่ปิดดีลไม่สำเร็จ

ในขณะเดียวกัน ทีมงานซื้อขายของยูไนเต็ด ก็ไปเจรจากับ อาเดรียง ราบิโอต์ ของยูเวนตุส ที่ค่าตัวไม่แพงนัก เพราะเหลือสัญญาแค่ปีเดียว แต่ติดเงื่อนไขเรื่องค่าจ้างที่สูงมาก จึงถอนตัวจากดีลนี้ไป

ขอบคุณภาพ https://web.facebook.com/manchesterunited

จนกระทั่ง สโมสรเจ้าของแชมป์ลีกสูงสุดอังกฤษ 20 สมัย ตัดสินใจคว้าตัว คาเซมิโร่ กองกลางทีมชาติบราซิลวัย 30 ปี จากเรอัล มาดริด ด้วยค่าตัว 70 ล้านปอนด์ ชนิดที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

จากมิดฟิลด์ที่คว้าแชมป์ 18 โทรฟี่กับ “ราชันชุดขาว” สู่ความท้าทายครั้งใหญ่กับแมนฯ ยูไนเต็ด แม้จะไม่สามารถเปลี่ยนทุกอย่างได้ด้วยตัวคนเดียว แต่อย่างน้อยก็คือก้าวแรก ในยุคใหม่ของ “ปิศาจแดง”

ปิดตำนานคู่หู “แม็ค-เฟรด” ได้แล้ว ?

ตำแหน่ง “กองกลางตัวรับ” คือตำแหน่งที่แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ตามหามานาน เพราะหลังจากไมเคิล คาร์ริก ประกาศเลิกเล่นหลังจบฤดกาล 2017/18 ทำให้มิดฟิลด์ตัวรับ มีเนมันย่า มาติช เพียงคนเดียวเท่านั้น

ในเดือนธันวาคม 2018 โอเล่ กุนนาร์ โซลชา เข้ามาเป็นกุนซือคนใหม่แทนโชเซ่ มูรินโญ่ ได้ใช้เฟร็ด และสกอตต์ แม็คโทมิเนย์ มารับหน้าที่เป็นกลางรับ 2 ตัว ตามแผนการเล่น 4-2-3-1 ซึ่งทั้งคู่ไม่ใช่กลางรับธรรมชาติ

คู่หู “แม็ค-เฟรด” ลงเล่นด้วยกันให้กับแมนฯ ยูไนเต็ด ตั้งแต่ยุคของโซลชา, ราล์ฟ รังนิก และเอริค เทน ฮาก เป็นระยะเวลาเกือบ 4 ปี แต่ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ทั้งคู่ทำได้ไม่ดีพอตามที่ทุกคนในสโมสรคาดหวัง

ย้อนกลับไปในนัดเปิดซีซั่น 2022/23 ที่ทีมของเทน ฮาก แพ้ไบรท์ตัน คาโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด 1 – 2 ทั้งเฟร็ด และแม็คโทมิเนย์ ต่างก่อความผิดพลาด จ่ายบอลเสียหลายจังหวะ แถมการป้องกันเกมรับทำได้เข้าชั้นเลวร้าย

พอล สโคลส์ ตำนานมิดฟิลด์เบอร์ 18 ของยูไนเต็ด วิเคราะห์ผ่าน BT Sport หลังเกมชนะเซาธ์แธมป์ตันว่า “ผมคิดว่าเฟร็ด กับแม็คโทมิเนย์ ถูกร้องขอให้เล่นมิดฟิลด์ตัวรับ แต่ผมไม่คิดว่าพวกเขาจะทำได้ดีขนาดนั้น”

“การมีนักเตะอย่างคาเซมิโร่ ที่คอยอยู่ด้านหลังหรือด้านข้างนั้น เป็นอะไรที่ดีมาก ๆ ทำให้คุณเล่นได้อย่างมีอิสระ เพราะคุณจะรู้ว่า คนที่อยู่ด้านหลังหรือด้านข้าง มันอยู่ในตำแหน่งที่ดีอยู่แล้ว”

ขอบคุณภาพ https://web.facebook.com/Casemiro92

ปลดปล่อยเพื่อนร่วมทีมทั้งรับและรุก

การเข้ามาของคาเซมิโร่ นอกจากจะแก้ปัญหาในตำแหน่งมิดฟิลด์ตัวรับที่ขาดหายมาหลายปีแล้ว อาจจะช่วยยกระดับการเล่นของเพื่อนร่วมทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดให้ดีขึ้นได้ ทั้งเกมรับและเกมรุก

แผนการเล่น 4-2-3-1 สูตรกลางรับ 2 คน ที่เอริค เทน ฮาก ใช้มาแล้ว 3 นัด (พบกับเบรนท์ฟอร์ด, ลิเวอร์พูล และเซาธ์แธมป์ตัน) ต่อจากนี้ไป คาเซมิโร่ จะได้จับคู่กับคนใดคนหนึ่งระหว่างเฟร็ด หรือสก็อตต์ แม็คโทมิเนย์

หรือถ้าเป็นแผนการเล่น 4-3-3 สูตรถนัดของกุนซือชาวดัตช์ ที่เน้นเกมรุกแบบเต็มที่ บทบาทของคาเซมิโร่ ก็จะยืนต่ำกว่ามิดฟิลด์ด้านข้าง 2 คน ทั้งคริสเตียน อิริคเซ่น และบรูโน่ เฟอร์นันเดส ที่จะเล่นเกมรุกมากขึ้น

คาเซมิโร่ ยังสามารถเปลี่ยนกระแสการเล่นจากรับเป็นรุก หากเขาสามารถเคลื่อนบอลให้อิริคเซ่น และบรูโน่เข้าไปในเขตโทษ ก็อาจเป็นการช่วยปลดล็อกปัญหาในเกมรุกของแมนฯ ยูไนเต็ดได้

และเมื่อมีกลางรับระดับโลกสไตล์ถึงลูกถึงคน และขยันแบบฉลาดอย่างคาเซมิโร่อยู่ในทีม ก็ช่วยให้เกมรับได้รับประโยชน์เช่นเดียวกัน เนื่องจากเจ้าตัวจะคอยทำหน้าที่เก็บกวาดการบุกของคู่แข่งอยู่แล้ว

ดีลของคาเซมิโร่ จะเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ช่วยยกระดับทีมให้ดีขึ้น หรือจะเป็นอนุสรณ์แห่งความล้มเหลวอีกครั้ง ของทีมยักษ์หลับที่รอวันตื่นอย่างแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

เรียบเรียง: จักรพันธ์ ภู่ทอง

อ้างอิง :

https://www.bbc.com/sport/football/62603699

https://www.telegraph.co.uk/football/2022/08/19/what-casemiro-will-do-manchester-united/

https://worldfootballindex.com/2020/04/real-madrid-tactics-win-the-champions-league-three-years-in-a-row-zidane/

https://www.si.com/soccer/manchesterunited/exclusive-interviews/what-manchester-united-can-expect-from-casemiro

Categories
Column

เบนเซม่า VS เลวานดอฟสกี้ : การเริ่มต้นที่ดีของ 2 ดาวยิง “เบอร์ 9” ที่ดีที่สุดในโลก

หากพูดถึงกองหน้าตัวเป้า หรือ Lone striker ที่สามารถยีนระยะในเกมฟุตบอลระดับสูงนานกว่า 10 ปี ก็จะนึกถึงคาริม เบนเซม่า และโรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้ แม้ว่าอายุจะล่วงเลยมาถึงช่วง 34 – 35 ปีแล้วก็ตาม

และเมื่อบาร์เซโลน่า ได้อาวุธหนักอย่างเลวานดอฟสกี้มาเสริมแนวรุก ดวลความคมกับคาริม เบนเซม่า ดาวเตะเรอัล มาดริด ทำให้ “เอล กลาซิโก้” ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้นอีกหลายเท่าเลยทีเดียว

เหตุการณ์สำคัญจากเกมลาลีกา สเปน นัดที่ 2 ของฤดูกาล 2022/23 ทั้งเบนเซม่า และเลวานดอฟสกี้ ดาวยิงที่สวมเสื้อหมายเลข 9 ด้วยกันทั้งคู่ ต่างเริ่มต้นทำประตูได้เป็นนัดแรก ในสุดสัปดาห์เดียวกัน

ก่อนที่จะมาดวลกันในลีกแดนกระทิงดุ ซีซั่นนี้ ทั้งเบนเซม่า และเลวานดอฟสกี้ ต่างก็พาสโมสรต้นสังกัดประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์ พร้อมทั้งได้รับรางวัลส่วนบุคคลมาครอบครอง จากซีซั่นที่แล้ว

เริ่มจากเบนเซม่า ที่พาเรอัล มาดริด คว้าดับเบิลแชมป์ ทั้งลาลีกา และยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก พ่วงด้วยตำแหน่งดาวซัลโว ประจำการแข่งขันทั้ง 2 รายการ ด้วยผลงาน 27 ประตู กับ 15 ประตู ตามลำดับ

ด้วยผลงานที่โดดเด่นสุดๆ กับเรอัล มาดริด เมื่อซีซั่นก่อน ทำให้ดาวยิงชาวฝรั่งเศสวัย 35 ปีรายนี้ มีโอกาสสูงมากๆ ที่จะคว้ารางวัล “บัลลง ดอร์” รวมถึงรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมของฟีฟ่า ประจำปีนี้ด้วย

ทางฝั่งของเลวานดอฟสกี้ ที่พาบาเยิร์น มิวนิค คว้าแชมป์บุนเดสลีกา พร้อมกับคว้ารางวัลส่วนตัว ทั้งดาวซัลโวลีกเยอรมัน (35 ประตู) และรางวัลดาวซัลโวลีกยุโรป (โกลเด้น ชูส์) เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน

ตลอด 8 ฤดูกาลที่อยู่กับ “เสือใต้” ศูนย์หน้าชาวโปแลนด์วัย 34 ปี เคยได้รับรางวัลส่วนตัวอื่นๆ เช่น นักเตะยอดเยี่ยมของฟีฟ่า 2 สมัยซ้อน ในปี 2020 และ 2021 รวมถึงกองหน้ายอดเยี่ยมบัลลง ดอร์ ในปี 2021

จนกระทั่งเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว ลาลีกา เดินทางมาถึงนัดที่ 2 ของฤดูกาลนี้ กองหน้าหมายเลข 9 ของ 2 สโมสรยักษ์ใหญ่แห่งวงการฟุตบอลสเปน สามารถทำประตูได้เป็นนัดแรกให้กับต้นสังกัดของแต่ละคน

เริ่มจากวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม เรอัล มาดริด บุกไปเยือน เซลต้า บีโก้ เบนเซม่า ยิงจุดโทษให้ “ราชันชุดขาว” ขึ้นนำก่อนตั้งแต่นาทีที่ 14 และท้ายที่สุด ทีมของคาร์โล อันเชล็อตติ เก็บชัยชนะด้วยสกอร์ 4 – 1

ต่อด้วยวันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม บาร์เซโลน่า บุกไปเยือน เรอัล โซเซียดัด เลวานดอฟสกี้ ได้ลงสนามในวันคล้ายวันเกิดของตัวเอง ยิง 2 ประตู กับ 1 แอสซิสต์ พา “เจ้าบุญทุ่ม” ชนะ 4 – 1 เช่นเดียวกัน

ส่วนนักเตะคนอื่นๆ นอกจากจะเป็นผู้ป้อนบอลให้กองหน้าอันดับ 1 ของแต่ละทีมยิงประตูแล้ว พวกเขาก็สามารถทำประตูด้วยตัวเองได้เช่นกัน และมีสิทธิ์ที่จะแข่งขันในอันดับดาวซัลโวของลาลีกาได้ตลอดเวลา

หลังผ่านไป 2 นัด ผู้นำดาวซัลโวลาลีกาในเวลานี้ คือ บอร์ฆา อิกเลเซียส ของเรอัล เบติส ทำได้ 3 ประตู ส่วน 2 ประตูของเลวานดอฟสกี้ ทำได้เท่ากับอัลบาโร่ โมราต้า, ยาโก้ อัสปาส, ชิมี่ เอบิล่า, อเล็กซ์ บาเอน่า และฆวนมี่

สำหรับนัดต่อไป ทั้งบาร์เซโลน่า และเรอัล มาดริด จะลงเตะในคืนวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม โดย “เจ้าบุญทุ่ม” เปิดบ้านพบเรอัล บายาโดลิด (00.30 น.) ต่อด้วย “ราชันชุดขาว” ออกไปเยือนเอสปันญ่อล (03.00 น.)

ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีของคาริม เบนเซม่า และโรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้ และดูเหมือนว่าทั้งคู่จะมีโอกาสมากที่สุด สำหรับการท้าชิงรางวัล “ปิชิชี่” หรือดาวซัลโวลาลีกา ที่จะทราบผลอย่างแน่นอน ในเดือนมิถุนายน ปีหน้า

Categories
Football Business

ส่อง “สปอนเซอร์บนชื่อสนาม” ในลีกลูกหนังสเปน

การนำชื่อขององค์กรทางธุรกิจ ไปปรากฏอยู่ในชื่อสนามแข่งขันของทีมกีฬา มีจุดเริ่มต้นจากวงการกีฬาอเมริกันเกมส์ ในสหรัฐอเมริกา ก่อนที่โมเดลดังกล่าว จะเข้าสู่วงการฟุตบอลยุโรปในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ตาม การนำชื่อแบรนด์สินค้าไปผูกติดกับชื่อสนามฟุตบอล ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากสนามฟุตบอล ถือเป็นวัฒนธรรม ที่ยึดโยงกับชุมชน และแฟนลูกหนังมายาวนานหลายสิบปี

แต่วงการฟุตบอลในยุคสมัยใหม่ ที่กลายเป็นธุรกิจแบบเต็มตัว หลาย ๆ สโมสรเริ่มมองหาวิธีใหม่ ๆ ที่จะเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น นอกเหนือจากรายได้ในวันแข่งขัน และค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์

ในฤดูกาล 2022/23 มี 3 สโมสรจากลีกสูงสุดแดนกระทิงดุ (LaLiga Santander) ที่มีการนำชื่อสปอนเซอร์ทางธุรกิจ มารวมอยู่ในชื่อสนามเหย้า ได้แก่ บาร์เซโลน่า, แอตเลติโก มาดริด และอัลเมเรีย

นอกจากนี้ ยังมีสโมสรอีบิซ่า จากลีกดิวิชั่น 2 (LaLiga SmartBank) ที่เปลี่ยนชื่อรังเหย้าเป็น “พาลาเดียม แคน มิสเซส” ตามชื่อของ Palladium แบรนด์ธุรกิจโรงแรมจากเกาะอีบิซ่า ในสเปน เป็นเวลา 3 ฤดูกาล

ก่อนหน้านี้ เคยมีสโมสรในลาลีกา ที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อสนามตามสปอนเซอร์มาแล้ว อย่างเช่น เซลต้า บีโก้ ที่เปลี่ยนชื่อเป็น “อาบังก้า บาลาอิโดส” ตามชื่อของ Abanca บริษัทการเงินของสเปน

หรือกรณีของเรอัล โซเซียดัด ที่มีชื่อสนามว่า “เรอาเล่ อารีน่า” มาจาก Reale Seguros บริษัทประกันภัยของสเปน รวมถึงเรอัล มายอร์ก้า ที่เปลี่ยนชื่อเป็น “บิซิต มายอร์ก้า เอสตาดี้” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

บาร์เซโลน่า : สปอติฟาย คัมป์ นู

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา บาร์เซโลน่า ได้บรรลุข้อตกลงกับ Spotify แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งชื่อดังจากประเทศสวีเดน ในการเข้ามาเป็นสปอนเซอร์ให้กับสโมสร เซ็นสัญญาระยะยาวถึง 12 ปี หรือสิ้นสุดในปี 2034

ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของบาร์ซ่า ที่จะใช้ชื่อสปอนเซอร์รวมกับชื่อสนาม นั่นคือ “สปอติฟาย คัมป์ นู” โดยจะนำเงินทุนไปดำเนินโครงการ Espai Barca ในการปรับปรุงสนามแข่งขัน และพื้นที่โดยรอบ

โจน ลาปอร์ต้า ประธานสโมสร “เจ้าบุญทุ่ม” เปิดเผยว่า “นี่คือดีลครั้งประวัติศาสตร์ของเรา ความร่วมมือในครั้งนี้ จะทำให้แฟน ๆ ใกล้ชิดกับสโมสรมากยิ่งขึ้น ด้วยการผสมผสานระหว่างความบันเทิงกับฟุตบอล”

แอตเลติโก มาดริด : ซิบิตาส เมโทรโปลิตาโน่

ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แอตเลติโก มาดริด ได้มีสปอนเซอร์รายใหม่เข้ามาสนับสนุน คือ Cívitas บริษัทด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังในประเทศสเปน เซ็นสัญญาเป็นระยะเวลา 10 ปี

ทำให้สนามแข่งขันของแอต. มาดริด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ซิบิตาส เมโทรโปลิตาโน่” ตามชื่อของผู้สนับสนุนใหม่ พร้อมกับการดำเนินโครงการสร้างศูนย์ฝึกซ้อมแห่งใหม่ รวมถึงรังเหย้าของทีมสำรอง ความจุ 6,000 ที่นั่ง

อเลฮานโดร อยาล่า ประธานของ “ซิบิตาส” กล่าวว่า “เราจะร่วมมือกับแอตเลติโก มาดริด ในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับผู้คน ทั้งด้านสุขภาพ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม”

อัลเมเรีย : เพาเวอร์ ฮอร์ส สเตเดี้ยม

อัลเมเรีย ทีมน้องใหม่ที่ได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีกสูงสุด ในฤดูกาลนี้ ได้เปลี่ยนชื่อสนามเหย้าเป็น “เพาเวอร์ ฮอร์ส สเตเดี้ยม” โดยมาจากชื่อของ “Power Horse” แบรนด์เครื่องดื่มชูกำลังจากประเทศออสเตรีย

โมฮัมเหม็ด เอล อาสซี่ ซีอีโอของ “เดอะ อินดาลิกอส” กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่เพาเวอร์ ฮอร์ส ได้ให้ความไว้วางใจในการเข้ามาสนับสนุนสโมสร เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ยอดเยี่ยมนับจากนี้ไป”

การนำชื่อแบรนด์สินค้า ไปอยู่บนชื่อสนามฟุตบอล ถือเป็นทางออกแบบ “วิน-วิน” เพราะแบรนด์สินค้า จะได้พื้นที่ประชาสัมพันธ์ธุรกิจของตัวเอง ขณะที่ทีมกีฬาก็จะได้เงินไปลงทุนต่อยอดตามที่ต้องการ

แม้ว่า การขายลิขสิทธิ์ชื่อสนาม อาจจะกระทบถึงความรู้สึกของแฟนบอลอยู่ไม่น้อย แต่สำหรับทีมฟุตบอลแล้ว ก็อาจจะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุด ในการนำเงินเข้ามาบริหารสโมสรให้อยู่รอดต่อไป

ขอบคุณภาพ https://www.facebook.com/udalmeriasad
Categories
Special Content

นิโก้ กอนซาเลซ : มิดฟิลด์ดาวรุ่ง กับการพิสูจน์ตัวเองครั้งใหม่ที่บาเลนเซีย

นิโก้ กอนซาเลซ ถือเป็นนักเตะดาวรุ่งพุ่งแรงของบาร์เซโลน่า ถูกดันขึ้นมาตั้งแต่ยุคของโรนัลด์ คูมัน และได้กลายมาเป็นผู้เล่นคนสำคัญมาอย่างต่อเนื่องจนถึงยุคของอย่างซาบี้ เอร์นานเดซ กุนซือคนปัจจุบัน

ทว่า “เจ้าบุญทุ่ม” ได้ตัดสินใจปล่อยตัวมิดฟิลด์ดาวรุ่งชาวสเปนวัย 20 ปีรายนี้ ไปให้บาเลนเซีย คู่แข่งร่วมลาลีกา ยืมตัวไปใช้งานจนจบฤดูกาล 2022/23 แม้ว่าจะเพิ่งต่อสัญญาฉบับใหม่ออกไปจนถึงปี 2026 ก็ตาม

ประวัติส่วนตัวของนิโก้ เป็นลูกชายแท้ ๆ ของ ฟราน กอนซาเลซ อดีตกัปตันทีมเดปอร์ติโบ ลา คอรุนญ่า ชุดคว้าแชมป์ลีกสูงสุด เมื่อซีซั่น 1999/2000 รวมทั้งแชมป์โคปา เดล เรย์ 2 สมัย และสแปนิช ซูเปอร์ คัพ 3 สมัย

ความฝันของนิโก้ คือการคว้าแชมป์ลาลีกาตามรอยคุณพ่อของเขา ซึ่งเจ้าตัวเคยให้สัมภาษณ์กับสื่อท้องถิ่นว่า “คุณพ่อดูแลผมอยู่ตลอดเวลา ประสบการณ์ในระดับสูงของคุณพ่อ สามารถช่วยผมได้”

เส้นทางนักฟุตบอลของนิโก้ เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 7 ขวบ กับทีมเยาวชนของมอนตาเนรอส และอีก 4 ปีต่อมา ก็ได้เข้าสู่ “ลา มาเซีย” ศูนย์ฝึกของบาร์เซโลน่า เขาเติบโตอย่างรวดเร็วจนได้ลงเล่นกับทีมสำรองครั้งแรกในวัย 17 ปี

ฟอร์มการเล่นที่โดดเด่นกับทีมสำรอง ทำให้ โรนัลด์ คูมัน เทรนเนอร์ของบาร์ซ่าในเวลานั้น ตัดสินใจดันนิโก้ขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่แบบเต็มตัว และได้ลงสนามเป็นนัดแรก ในเกมเปิดฤดูกาล 2021/22 ที่เอาชนะเรอัล โซเซียดัด 4 – 2

เมื่อซีซั่นที่แล้ว บาร์เซโลน่าได้มองถึงนโยบายระยะยาว โดยได้ใช้งานผู้เล่นดาวรุ่งมากขึ้น เพื่อพาสโมสรกลับคืนสู่ความรุ่งเรืองอีกครั้ง ทำให้พวกเขาคือทีมที่มีอายุเฉลี่ยของนักเตะน้อยที่สุดเป็นอันดับ 3 ของลาลีกา

ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงกุนซือจากคูมัน มาเป็น ซาบี้ เอร์นานเดซ อดีดตำนานมิดฟิลด์ของเจ้าบุญทุ่ม แต่นิโก้ก็ยังเป็นผู้เล่นคนสำคัญมาโดยตลอด ซึ่งเจ้าตัวลงเล่นไปทั้งหมด 37 นัดรวมทุกรายการ ทำได้ 2 ประตู

สไตล์การเล่นของนิโก้ เป็นนักเตะที่มีวิสัยทัศน์ในการอ่านเกมพื้นที่บริเวณกลางสนาม เล่นได้หลากหลายตำแหน่งในแผงกองกลาง ทั้งมิดฟิลด์ตัวรับที่คอยคุมจังหวะของเกม หรือมิดฟิลด์ตัวรุกที่ขึ้นไปโจมตีแนวรับคู่แข่ง

สโมสรยักษ์ใหญ่จากคาตาลัน ยังคงมั่นใจในศักยภาพของนิโก้ ที่จะสามารถพัฒนาฝีเท้าให้ดียิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต จึงตัดสินใจขยายสัญญาฉบับใหม่ อยู่โยงในถิ่นสปอติฟาย คัมป์ นู ต่อไปจนถึงปี 2026

แต่ทางบาร์ซ่า ต้องการให้นิโก้สั่งสมประสบการณ์การค้าแข้งในลีกระดับสูงสุดให้มากขึ้น ด้วยการปล่อยให้ บาเลนเซีย ของเจนนาโร่ กัตตูโซ่ เฮดโค้ชคนใหม่ชาวอิตาเลียน ยืมตัวไปใช้งานจนจบซีซั่นนี้ โดยไม่มีออปชั่นซื้อขาด

นิโก้ ได้โอกาสลงสนามให้กับบาเลนเซียในลาลีกา ฤดูกาลใหม่ ในฐานะตัวสำรองทั้ง 2 นัด รวมทั้งสิ้น 44 นาที เริ่มจากเกมเปิดซีซั่นที่เปิดบ้านชนะกิโรน่า 1 – 0 และนัดล่าสุดที่บุกไปแพ้แอธเลติก บิลเบา 0 – 1

สำหรับบาเลนเซีย ในฤดูกาลใหม่ ยังคงเน้นไปที่การสร้างทีมด้วยนักเตะดาวรุ่งเป็นหลัก ต่อเนื่องจากฤดูกาลที่แล้ว ซึ่งในเวลานี้ “โลส เช” เป็นทีมที่มีอายุเฉลี่ยของนักเตะน้อยที่สุดในลาลีกา เพียง 23.4 ปีเท่านั้น

นักเตะดาวรุ่งของบาเลนเซียในซีซั่นนี้ อาทิเช่น อูโก้ ดูโร่, ซามูเอล ลิโน่, ยูนุส มูซ่าห์, เธียร์รี่ คอร์เรอา, อูโก้ กิลลามอน และจอร์จี้ มามาร์ดาชวิลี่ ซึ่งนิโก้ กอนซาเลซ ก็พร้อมแล้วกับโอกาสครั้งใหม่ในถิ่นเมสตาย่า

Categories
Special Content

ไทโว อโวนิยี่ : เริ่มต้นนับหนึ่ง กับชัยชนะของ “เจ้าป่า” ที่รอคอยมา 23 ปี

น็อตติงแฮม ฟอเรสต์ หนึ่งในทีมระดับตำนานของวงการฟุตบอลอังกฤษ ต้อนรับกลับคืนสู่พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกในรอบ 23 ปี ด้วยการเสริมทัพนักเตะแบบจัดหนัก จัดเต็ม มากกว่า 10 คน เข้าไปแล้ว

และหนึ่งในดีลสำคัญช่วงซัมเมอร์นี้ คือการดึงตัว ไทโว อโวนิยี่ ที่ไม่เคยลงเล่นทีมชุดใหญ่กับลิเวอร์พูลเลยแม้แต่นัดเดียว มาร่วมทีมด้วยค่าตัว 17.5 ล้านปอนด์ ทุบสถิตินักเตะค่าตัวแพงสุดในประวัติศาสตร์สโมสร

จนกระทั่ง 14 สิงหาคม 2022 อโวนิยี่เป็นผู้ทำประตูชัย พาฟอเรสต์เฉือนชนะเวสต์แฮม 1 – 0 นับเป็นประตูแรกของเขา และชัยชนะนัดแรกของทีม “เจ้าป่า” ในลีกสูงสุด ที่รอคอยมานานนับตั้งแต่ฤดูกาล 1998/99

SoccerSuck x ไข่มุกดำ จะพาไปทำความรู้จักกับศูนย์หน้าชาวไนจีเรีย ที่เพิ่งฉลองวันเกิดอายุครบเบญจเพส ไปเมื่อเร็วๆ นี้กันครับ

ฉายแววเก่งที่อิมพีเรียล ซอคเกอร์ อคาเดมี่

ครอบครัวของไทโว อโวนิยี่ มีฐานะยากจน พ่อแม่จึงไม่สามารถหาซื้อรองเท้าฟุตบอลให้กับลูกชายได้ ทำให้ไทโวต้องแก้ปัญหาด้วยการนำรองเท้าเก่า ๆ ที่เหลือทิ้งจากกองขยะ มาซ่อมแล้วใช้เป็นของตัวเอง

แต่ความยากลำบาก ก็ไม่อาจฉุดรั้งความฝันของอโวนิยี่ในการเป็นนักฟุตบอล เขาเริ่มต้นฝึกวิชาลูกหนังครั้งแรก กับกวารา ฟุตบอล อคาเดมี่ ซึ่งก่อตั้งโดยบูโกลา ซารากี อดีตผู้ว่าการรัฐกวารา ประเทศไนจีเรีย

ในปี 2010 อโวนิยี่ในวัย 13 ปี ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลเยาวชนของโคคา-โคลา ในกรุงลอนดอน และได้รับเลือกให้เป็นผู้เล่นทรงคุณค่า (MVP) จนถูกเชิญเข้าร่วมฝึกวิชาลูกหนังกับ อิมพีเรียล ซอคเกอร์ อคาเดมี่

อีก 3 ปีต่อมา อโวนิยี่ ได้ลงเล่นให้กับทีมชาติไนจีเรียชุดเยาวชน เริ่มจากชุดยู-17 (8 นัด 4 ประตู) ต่อด้วยชุดยู-20 (9 นัด 5 ประตู) และชุดยู-23 (7 นัด 2 ประตู) จนได้รับโอกาสให้ติดทีมชาติชุดใหญ่เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2021

ผลงานการยิงประตูในทีมชาติชุดเยาวชนของอโวนิยี่ ทำให้เขาถูกนำไปเปรียบเทียบกับ ราชิดี เยกินี่ เจ้าของสถิติดาวยิงสูงสุดตลอดกาลของทีมชาติไนจีเรียในช่วงทศวรรษที่ 1980s ถึง 1990s (62 นัด 37ประตู)

ฟอร์มการเล่นของไทโว อโวนิยี่ ในทีมชาติไนจีเรียชุดเยาวชนทุกชุด โดดเด่นมาก จนได้รับโอกาสครั้งสำคัญกับการค้าแข้งในลีกใหญ่ยุโรป เป็นการยุติช่วงเวลา 5 ปี กับอิมพีเรียล ซอคเกอร์ อคาเดมี่ ที่ยอดเยี่ยม

6 ปีในแอนฟิลด์ กับช่วงเวลาที่ไม่เคยเป็นใจ

วันสุดท้ายของตลาดซื้อขายนักเตะช่วงซัมเมอร์ปี 2015 ไทโว อโวนิยี่ ได้เริ่มต้นเส้นทางค้าแข้งระดับอาชีพที่อังกฤษ กับลิเวอร์พูล ในยุคที่แบรนแดน ร็อดเจอร์ส เป็นผู้จัดการทีม ด้วยค่าตัว 400,000ปอนด์

แต่ทว่า เขาไม่สามารถลงเล่นให้กับ “หงส์แดง” ได้ เนื่องจากยังไม่มีใบอนุญาตการทำงานในอังกฤษ (เวิร์ก เพอร์มิต) จึงต้องปล่อยให้สโมสรในต่างแดนยืมตัวไปใช้งาน รวม 7 สโมสร ตลอดระยะเวลา 6 ปี

ขอบคุณภาพ https://web.facebook.com/1.FCUnionBerlin

ซึ่งสโมสรสุดท้ายที่ยืมตัวอโวนิยี่ คือ ยูนิโอน เบอร์ลิน ในฤดูกาล 2020/21 ซึ่งหลังจากจบซีซั่นดังกล่าว อโวนิยี่ได้รับเวิร์ก เพอร์มิต จากรัฐบาลอังกฤษเป็นที่เรียบร้อย โอกาสโชว์ฝีเท้าในเมืองผู้ดี ได้เปิดกว้างแล้ว

ความฝันของอโวนิยี่ที่จะได้ลงเล่นกับลิเวอร์พูล ทำท่าว่าจะเป็นจริง แต่เหมือนโชคชะตาจะไม่เข้าข้างอีกครั้ง เมื่อยูนิโอน เบอร์ลิน ตัดสินใจซื้อตัวไปร่วมทีมแบบถาวรในในซีซั่น 2021/22 ด้วยค่าตัว 6.5 ล้านปอนด์

และในซัมเมอร์นี้ ยูนิโอน เบอร์ลิน ขายอโวนิยี่ไปให้ฟอเรสต์ ด้วยค่าตัว 17.5 ล้านปอนด์ ทำให้สโมสรจากเมืองหลวงของเยอรมันทีมนี้ ต้องแบ่งเงินค่าตัว 10 เปอร์เซ็นต์ให้ลิเวอร์พูล ตามที่ระบุไว้สัญญาเมื่อปี 2021

การแยกทางของอโวนิยี่ ทำให้ลิเวอร์พูลได้รับเงิน 2 ต่อ จากกำไรในการขายนักเตะ 6.1 ล้านปอนด์ บวกกับส่วนแบ่งค่าตัวที่ได้จากยูนิโอน เบอร์ลิน อีก 1.75 ล้านปอนด์ รวมทั้งสิ้น 7.85 ล้านปอนด์

ไทโว อโวนิยี่ ไม่มีโอกาสได้สัมผัสพื้นหญ้าที่สนามแอนฟิลด์กับทีมชุดใหญ่ของลิเวอร์พูลเลยแม้แต่เกมเดียว แต่ชีวิตยังต้องดำเนินต่อไป กับต้นสังกัดใหม่ที่เพิ่งเลื่อนชั้นขึ้นพรีเมียร์ลีกครั้งแรกในรอบกว่า 2 ทศวรรษ

ปลดล็อกประตูแรก สู่ชัยชนะที่รอคอยมานาน

เมื่อพูดถึงน็อตติงแฮม ฟอเรสต์ ก็ถือเป็นสโมสรที่เคยสร้างความรุ่งเรืองในช่วงปลายยุค 1970s ด้วยการคว้าแชมป์ยูโรเปี้ยนคัพ 2 สมัยติดต่อกัน มากกว่าแชมป์ลีกสูงสุด ที่ได้เพียงครั้งเดียวเสียอีก

และฟอเรสต์ ก็เป็น 1 ใน 22 ทีม ที่ร่วมก่อตั้ง “พรีเมียร์ลีก” ในฤดูกาล 1992/93 แม้จะเปิดซีซั่นด้วยการเอาชนะลิเวอร์พูล 1 – 0 แต่ท้ายที่สุด พวกเขาก็ตกชั้นจากลีกสูงสุดโฉมใหม่ ตั้งแต่ซีซั่นแรก

หลังจากนั้น ฟอเรสต์ก็กลายเป็น “โย-โย่ ทีม” ขึ้น ๆ ลง ๆ หาความสม่ำเสมอไม่ได้เลย จนมาถึงฤดูกาล 1998/99 คือฤดูกาลสุดท้ายของพวกเขาในลีกสูงสุด และไม่เคยกลับไปอยู่ในจุดนั้นอีกเลย

กระทั่งสตีฟ คูเปอร์ อดีตกุนซือสวอนซี ที่เข้ามาคุมทีมแทนคริส ฮิวจ์ตัน ช่วงต้นซีซั่น 2021/22 และกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่พาฟอเรสต์ ชนะเพลย์ออฟ เลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ลีกได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1999

ฟอเรสต์ เริ่มต้นซีซั่นใหม่ด้วยการแพ้นิวคาสเซิล 0 – 2 ไทโว อโวนิยี่ ลงเป็นตัวสำรอง และเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ดาวเตะวัย 25 ปี ประเดิมตัวจริงเป็นนัดแรก ในนัดเปิดบ้านเฉือนชนะเวสต์แฮม 1 – 0

ลูกยิงของอโวนิยี่ ในช่วงทดเจ็บครึ่งแรก แม้ว่าจะเป็นจังหวะที่มาแบบไม่ตั้งใจในระยะเผาขน แต่กลายเป็นประตูสุดล้ำค่า ที่ช่วยให้ “เจ้าป่า” เก็บชัยชนะเป็นนัดแรก ในการคัมแบ็กสู่ลีกสูงสุดที่ห่างหายไปนาน

อโวนิยี่ กล่าวว่า “ผมใช้เวลาอยู่นานในการกลับสู่พรีเมียร์ลีก เป็นความฝันของผมที่ยิงประตูได้ และทำให้ทีมชนะ ในฐานะกองหน้า ต้องพร้อมอยู่เสมอเวลาอยู่รอบๆ ประตู ไม่ว่าจะเป็นตัวจริงหรือตัวสำรอง”

ประตูแรกของไทโว อโวนิยี่ ถือเป็นจุดเริ่มที่ดีของน็อตติงแฮม ฟอเรสต์ แต่อีก 36 นัดที่เหลือของฤดูกาล ยังคงต้องเจอกับบททดสอบที่โหดหินอีกมาก เพื่อเอาตัวรอดในสมรภูมิพรีเมียร์ลีกให้ได้

เรียบเรียง: จักรพันธ์ ภู่ทอง

อ้างอิง :

https://www.skysports.com/football/news/11095/12671455/taiwo-awoniyi-from-sewing-his-own-football-boots-through-seven-liverpool-loans-to-nottingham-forest

https://theathletic.com/3373758/2022/06/25/nottingham-forest-taiwo-awoniyi-liverpool/

https://firsttimefinish.co.uk/2021/01/12/story-taiwo-awoniyi-nigerian-liverpools-doorstep/

Categories
Special Content

เมื่อ “เอฟเอ” เริ่มทดลองใช้กฎห้ามเด็กต่ำกว่า 12 ขวบ “โหม่งบอล”

สมาคมฟุตบอลอังกฤษ หรือ เอฟเอ ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการสมาคมฟุตบอลระหว่างประเทศ (IFAB) ให้ทดลองใช้มาตรการห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี โหม่งลูกบอล ตลอดฤดูกาล 2022/23

ซึ่งมาตรการดังกล่าว ครอบคลุมทุกระดับ ตั้งแต่รากหญ้า, โรงเรียน, สโมสร ไปจนถึงลีก เพื่อป้องกันผลข้างเคียงทางสมอง ในอนาคต และถ้าพิสูจน์ว่าประสบความสำเร็จ จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการในซีซั่นถัดไป

แล้ววงการลูกหนังเมืองผู้ดี ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร ? SoccerSuck x ไข่มุกดำ จะมาขยายความให้ฟังกันครับ

“โอมาลู” ผู้ที่ทำให้โลกรู้จัก CTE

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกันยายน ปี 2002 วงการกีฬาสหรัฐอเมริกาได้สูญเสีย ไมค์ เว็บสเตอร์ ตำนานนักกีฬาอเมริกันฟุตบอลของพิตต์สเบิร์ก สตีลเลอร์ส จากไปด้วยอาการหัวใจวาย ในวัย 50 ปี

สมัยที่เว็บสเตอร์เป็นนักกีฬาอาชีพในเอ็นเอฟเอล ได้รับฉายาว่า “ไอรอน ไมค์” เนื่องจากเขาใช้ศีรษะที่อยู่ภายใต้หมวกเหล็ก พุ่งชนคู่ต่อสู้ กลายเป็นภาพที่แฟนกีฬาคนชนคนจดจำได้เป็นอย่างดี

โดยผู้ที่รับหน้าที่ชันสูตรศพ คือ นพ.เบนเน็ต โอมาลู แพทย์ชาวไนจีเรีย ซึ่งได้ผ่าตัดเอาสมองของเว็บสเตอร์มาวินิจฉัย ภายนอกดูปกติ แต่เมื่อนำเนื้อเยื่อสมองไปฉีดสี ก็พบความผิดปกติในที่สุด

ซึ่งนพ. โอมาลู ได้ตั้งชื่อว่า ภาวะสมองเสื่อมรุนแรงเรื้อรัง (Chronic Traumatic Encephalopathy : CTE) คือภาวะที่สมองไม่สามารถสั่งการได้ตามปกติ เนื่องจากการส่งสัญญาณของระบบประสาทที่ติดขัด

ความน่ากลัวของ CTE คือ ในช่วงแรกจะไม่แสดงอาการชัดเจน แต่ถ้าได้รับบาดเจ็บจากแรงกระทบกระเทือนทางสมองซ้ำๆ สะสมเรื้อรังเป็นเวลานานหลายสิบปี ก็จะทำให้อาการทวีความรุนแรงมากขึ้น

นพ. โอมาลู กล่าวว่า “ในมุมมองของผม อาชีพนักกีฬาอเมริกันฟุตบอล ไม่ต่างอะไรจากทหารในสนามรบ ผมคิดว่านักกีฬาประเภทนี้มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ กำลังมีอาการบางอย่าง หรือเจ็บป่วยจากภาวะ CTE”

จากกรณีการเสียชีวิตของเว็บสเตอร์ ทำให้ในปี 2011 กีฬาเอ็นเอฟแอล ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาครั้งสำคัญ เพื่อลดการปะทะของผู้เล่น โดยเริ่มจากขยับระยะการเตะเปิดลูก จากเดิม 30 หลา เป็น 35 หลา

ตามด้วยการเพิ่มความปลอดภัยสูงสุด ด้วยการไม่ให้หมวกกันกระแทกที่สวมใส่ ปะทะกันโดยเด็ดขาด พร้อมกับจัดเตรียมนักประสาทวิทยา ประจำการในแต่ละสนาม เพื่อเช็คสภาพร่างกายของผู้เล่นได้ทันที

บทเรียนจากตำนานลูกหนังในอดีต

“ลูกโหม่ง” ถือเป็นหนึ่งในจังหวะคลาสสิกที่อยู่คู่กับกีฬาฟุตบอลมาทุกยุคทุกสมัย นักฟุตบอลในอดีตหลายๆ คน ต่างเคยมีประสบการณ์โหม่งทำประตูมาแล้วอยู่บ่อยๆ จนพาทีมประสบความสำเร็จมามากมาย

อย่างไรก็ตาม ได้มีนักฟุตบอลระดับตำนานในสมัยก่อน เริ่มที่จะมีอาการป่วยด้วยภาวะสมองเสื่อมมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีการตั้งข้อสงสัยว่า สาเหตุที่แท้จริงของภาวะดังกล่าว เกิดจากการโหม่งบอลที่มากเกินไปหรือไม่ ?

จุดเริ่มต้นที่วงการฟุตบอลอังกฤษให้ความสำคัญกับการโหม่งบอล คือกรณีของเจฟฟ์ แอสเทิล อดีตศูนย์หน้าจอมโหม่งประตูของทีมชาติอังกฤษ และเวสต์บรอมวิช อัลเบี้ยน ที่เสียชีวิตไปเมื่อปี 2002 ด้วยวัย 59 ปี

แอสเทิล ถือเป็นนักฟุตบอลคนแรกของเกาะอังกฤษ ที่ถูกตรวจพบว่าเป็นโรคสมองเสื่อม ซึ่งในตอนแรก มีการระบุสาเหตุการเสียชีวิตแบบกว้างๆ ว่า เป็น “อาการทั่วไป” ที่เกิดขึ้นเป็นปกติในวงการฟุตบอลอังกฤษ

จนกระทั่งในปี 2014 ได้มีการเรียกร้องขอความเป็นธรรม ภายใต้แคมเปญ “Justice ofr Jeff” ให้มีการสืบสวนสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริงของแอสเทิล และท้ายที่สุดก็ได้รับการยืนยันว่า เขาเสียชีวิตด้วยภาวะ CTE

นพ. โอมาลู ผู้ค้นพบ CTE กล่าวว่า “สมองมนุษย์ เปรียบได้กับบอลลูนที่ลอยอยู่ในกะโหลก เมื่อโหม่งลูกฟุตบอล สมองจะลอยตัวไปกระแทกกับกะโหลก ทำให้เกิดรอยช้ำ ยิ่งมีการโหม่งบ่อย ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด CTE เมื่ออายุมากขึ้น”

มีการตั้งข้อสันนิษฐานว่า ลูกฟุตบอลในสมัยก่อนมีน้ำหนักที่มาก และจะหนักขึ้นกว่าเดิมถ้ามีการอุ้มน้ำ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ลูกฟุตบอลถูกออกแบบมาให้มีน้ำหนักเบา และนักเตะเริ่มรู้เทคนิคในการโหม่งบอลที่ถูกต้อง

แต่สำหรับเกมฟุตบอลในปัจจุบัน ที่กลายเป็นธุรกิจแบบเต็มตัว การหลีกเลี่ยงการใช้ลูกโหม่งเพื่อทำประตู คงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก ๆ ตราบใดที่ผลประโยชน์ของทีมฟุตบอล สำคัญกว่าความปลอดภัยและชีวิตของนักเตะ

ว่าด้วยเรื่อง “กฎการโหม่งบอล”

จากงานวิจัยที่ระบุว่า นักฟุตบอลอาชีพมีโอกาสเสียชีวิตจากภาวะสมองเสื่อมมากกว่าคนทั่วไปถึง 3.5 เท่า ทำให้ในบางประเทศ เริ่มที่จะเพิ่มมาตรการเพื่อลดการโหม่งบอลสำหรับเด็กที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด

เมื่อปี 2015 สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 11 ขวบโหม่งบอลโดยเด็ดขาด เพราะผู้ปกครองกังวลว่าสมองของเด็กๆ จะได้รับการกระทบกระเทือน ส่วนเด็กอายุ 11-13 ปี จะจำกัดจำนวนครั้งในการโหม่ง

ต่อมาในปี 2020 สมาคมฟุตบอลอังกฤษ, สมาคมฟุตบอลสกอตแลนด์ และสมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์เหนือ ร่วมกันออกกฎห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี โหม่งบอลในสนามซ้อม แต่ในสนามจริงยังอนุญาตให้ใช้ลูกโหม่งได้

จนกระทั่งฤดูกาล 2021/22 ที่ผ่านมา บรรดาองค์กรฟุตบอลของอังกฤษ ได้ร่วมมือกันในการบังคับใช้กฎโหม่งบอลเป็นครั้งแรก โดยมีผลกับการแข่งขันทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับ ตั้งแต่ลีกอาชีพ จนถึงลีกสมัครเล่น

ซึ่งสาระสำคัญของกฎนี้คือ “ให้จำกัดการโหม่งบอลในสนามซ้อม จากลูกเปิดระยะไกลกว่า 35 เมตรทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นลูกเปิดจากริมเส้น, ลูกเตะมุม, ลูกฟรีคิก และอื่นๆ ไม่เกิน 10 ครั้งต่อสัปดาห์”

มาร์ค บูลลิงแฮม ซีอีโอของเอฟเอ กล่าวว่า “เราจะศึกษาผลวิจัยทางการแพทย์เพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในทุกกรณี เราเชื่อว่าแนวทางนี้จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต”

ล่าสุด ในซีซั่น 2022/23 เอฟเอได้ทดลองใช้มาตรการห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี โหม่งลูกบอลโดยเด็ดขาด ทั้งในสนามซ้อมและสนามแข่ง หากผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ ก็จะบังคับใช้จริงในซีซั่น 2023/24

แม้ผลการวิจัยในเรื่องการป้องกันภาวะสมองเสื่อม ยังคงต้องใช้เวลาพิสูจน์อีกนานมากๆ แต่ความพยายามที่จะลด หรือห้ามการโหม่งบอลในเด็ก ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทุกฝ่ายต่างเห็นความสำคัญร่วมกัน

เรียบเรียง: จักรพันธ์ ภู่ทอง

อ้างอิง :

– https://www.thefa.com/news/2022/jul/18/statement-heading-trial-u12-games-20221807

https://www.telegraph.co.uk/football/2022/07/18/heading-banned-under-12s-landmark-english-football-trial/

https://www.bbc.com/sport/football/62208661

https://www.bbc.com/sport/football/44367148

– https://theathletic.com/2735831/2021/07/29/explained-english-footballs-new-heading-guidelines-what-are-they-how-will-they-work-will-there-be-punishments/