พอดีเห็น “อึน ๆ” กันจากเกม แอตเลติโก มาดริด – ลิเวอร์พูล นะครับ ผมซึ่งได้คุยหลังเกมกับโค้ชบ้านเราหลาย ๆ ท่านเป็นประจำหลังแมตช์ใหญ่ ๆ อยู่แล้วให้บังเอิญว่าได้รับสิ่งนี้จากอีกเกม คลับ บรู๊ก – แมนฯซิตี้ มาฝากจาก “โค้ชน้อย” อนันต์ อมรเกียรติ
เรื่อง Inverted Full-back หรือแบ็คหุบใน
แน่นอนครับ เจา กานเซโล หรือไคล์ วอล์คเกอร์ ภายใต้แท็คติกส์ เป๊ป กวาร์ดิโอลา ใช้แท็คติกนี้เป็นประจำอยู่แล้ว จะว่าไป เทรนท์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ก็ด้วยอ่ะนะครับในบางจังหวะของเกม
แบ็คหุบใน หรือ Inverted Full-back คืออะไร? ติดตามอ่านกันได้เลยครับ ง่าย ๆ 3 ภาพ หวังว่าคงจะชอบ และหวังใจว่าจะช่วยให้พวกเรา “เข้าใจ” The beautiful game มาก ๆ ยิ่งขึ้น และมีความสุขมากขึ้นกับการชมฟุตบอลนะครับ
เจา กานเซโล ในบทบาท Inverted Full Back วิ่งตัวเปล่าจากบริเวณที่หุบในเข้ามากลางสนามเข้าสู่กรอบเขตโทษโดย “ไทม์มิ่ง” อย่างยอดเยี่ยมกับบอลชิพตักโด่งหลังไลน์ของ ฟิล โฟเดน
ดาวเตะโปรตุกีส ยังเฟิร์สทัช “พักอก” ได้งดงาม และสะกิดบอลผ่านลอดขา ซิมง มิโญเลต์ เข้าประตูไป จบบทบาทพิเศษของฟูลแบ็คหุบในที่ทั้งช่วยเติมโดยโพสิชั่นนิ่งตัวเองเกมกลางสนาม และยังหาจังหวะขึ้นมาทำประตูได้อีกด้วย
ไคล์ วอล์คเกอร์ ก็เช่นเดียวกันที่อาศัยความรวดเร็วทั้งเคลื่อนที่ (วิ่ง) และรับบอลจากจุดเริ่มต้นที่ไม่ได้อยู่ริมเส้นเหมือนแบ็คทั่วไป และหุบมาด้านในเสมือนมิดฟิลด์ ประสานงานกับเพื่อน และเลี้ยงบอลทะลวงเข้าสู่พื้นที่ half space ก่อนยิงประตูซึ่งไว้โอกาสหน้าจะมาพูดถึงเรื่องพื้นที่ Half Space กันครับ
แน่นอนว่า ใน Shape ปกติจะเห็นแมนฯซิตี้ในระบบ 4-3-3 ตามหน้ากระดาษสร้าง Shape ได้สวยขณะรุกได้คล้ายกับ 2-3-2-3 หรือจะเรียกว่า 2-3-5 ก็สุดแล้วแต่
อย่างไรก็ดีจะเห็นบทบาทในพื้นที่ระหว่างไลน์รับ และแดนกลางคู่แข่งของ “2” เควิน เดอ บรอย และแบร์นาโด ซิลวา ที่จะสนับสนุน “3” ตัวบนได้อย่างน่าสนใจ
แน่นอนเช่นกัน ในที่นี้ กานเซโล และวอล์คเกอร์ จะหุบในเข้ามาเสมือนอีกไลน์ยืนร่วมกับมิดฟิลด์ตัวรับแท้ ๆ โรดรี้ โดยมี ลาปอร์ต และดิอาส เป็น “2” สุดท้าย
***ที่น่าสนใจมาก ๆ คือ การยืนตรงกลางเหมือนมิดฟิลด์ และริมเส้นนั้น ใช้ทักษะ เทคนิค และความถนัดต่างกัน ทว่าทั้งวอล์คเกอร์ และกานเซโล สามารถยืน 2 พื้นที่ได้อย่างไม่เคอะเขิน และหาใช่ฟูลแบ็คทุกคนจะคิดหลบในเข้ามายืนได้อย่างสะดวกสบาย***
อย่างไรก็ดีจะเห็นบทบาทของ เอแดร์ซอน ที่สามารถ +1 กลายเป็น “3” ร่วมเซ็ตบอลแรกกับ ดิอาส และลาปอร์ต ได้เช่นกัน
การได้เห็นเชฟแบบนี้ และหากแฟนทีมที่บอลบาลานซ์ไม่สมดุล หรือไม่สม่ำเสมออย่าง แมนฯยูไนเต็ด ได้มาเห็น ท่านก็อาจจะพอมองได้ว่า จริง ๆ แล้ว หากยืนได้ดี มิดฟิลด์ตัวรับอาจไม่จำเป็น และไม่ใช่ทางออกเสมอไป
ฟุตบอลต้องรับ และรุกเป็นทีม มิดฟิลด์ทั้ง 6, 7, 8 คนที่ยูไนเต็ดมีอยู่ไม่ได้แย่ แต่แค่จะเล่นอย่างไรเท่านั้นเอง
สรุป: แมนฯซิตี้ ใช้ กานเซโล่ และวอล์คเกอร์ มาช่วยประคอง และดัน high line รุกสูงทำให้สะดวกเวลารุกแล้วพลาดแล้วจะได้ pressing คืน หรือเวลารุกที่จำนวนตัวผู้เล่นในแดนคู่แข่งก็จะมากเช่นกันครับ
วันหน้า ผมจะนำแท็คติกส์อะไรแบบนี้จากโค้ชบอลมาฝากกันอีก ช่วยไลค์ ช่วยแชร์ให้เกิดประโยชน์กับวงการก็จะเป็นพระคุณมากนะครับ• ลิงก์นี้เป็น Podcast ที่ผมเคยทำไว้กับอาจารย์ >>> https://www.facebook.com/watch/174800352574845/3001521610107874 ลองติดตามดูครับปล.ภาพ และคำอธิบายในภาพอาจไม่ชัดนัก เพราะเพิ่งทำนะครับ แต่ผมได้เขียนคำอธิบายไว้ใน caption แต่ละภาพเพิ่มเติมแล้ว
ณัฐวุฒิ ประเทืองศิลป์
อนันต์ อมรเกียรติ
Editor – in – chief