Khaimukdam Group

COLUMN

ฟุตบอลของแฟนบอล

รายงานจาก BBC 2 -3 วันก่อนระบุครับว่า รัฐบาลสหราชอาณาจักรเตรียมเดินหน้าในการตรวจสอบสโมสรเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงโครงสร้างการเป็นเจ้าของทีมใหม่ ซึ่งรัฐบาลอังกฤษต้องการประเมินเถึงสถานของเจ้าของทีม, ฐานะทางการเงิน และการมีส่วนร่วมของแฟนบอลในเกมฟุตบอล รวมไปถึงหน่วยงานอิสระที่กำกับดูแลดูแลสโมสรต่าง ๆ ว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในวงการฟุตบอลได้หรือไม่
ฟุตบอลของแฟนบอล

ไนเจล ฮัดเดิลสตัน รัฐมนตรีกีฬาของประเทศอังกฤษ เชื่อว่าว่า การตรวจสอบสโมสรที่นำโดยแฟนบอล จะต้องเป็นช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์ของเกมฟุตบอลในชาติ

“ฟุตบอลเริ่มต้น และจบลงด้วยแฟนบอล และเราได้เห็นการแสดงออกที่น่าทึ่งในสัปดาห์นี้ มันจะเป็นช่วงเวลาสำคัญในเกมระดับชาติของเรา” รัฐมนตรีกีฬากล่าว “เราต้องใช้ประโยชน์จากช่วงเวลาที่เป็นใจในคราวนี้ สโมสรเป็นหัวใจสำคัญของชุมชนท้องถิ่นของพวกเขาแ ละการตรวจสอบที่สำคัญในครั้งนี้จะช่วยให้ฟุตบอลก้าวไปสู่อนาคตที่จะได้ยินเสียงของบรรดาแฟนบอลได้ชัดเจน”

ขณะที่ เทรซีย์ เคราซ์ สมาขิกรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกีฬา จะนั่งแท่นเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และรายงานข้อเสนอแนะกลับไปยังรัฐบาล และสมาคมฟุตบอล

“ฟุตบอลมีความหมายอย่างมากสำหรับผู้คนจำนวนมากในประเทศนี้ และการตรวจสอบของฉันจะมุ่งเน้นไปที่แฟน ๆ” เธอกล่าว “เราจะดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อรักษาความเหมาะสมของเกม รวมไปถึงความสามารถในการแข่งขัน และที่สำคัญที่สุดคือความผูกพันที่สโมสรมีต่อบรรดาแฟนบอล และผู้สนับสนุนในชุมชนท้องถิ่น" เธอกล่าวหลังกล่าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งสำคัญนี้

ไม่น่าแปลกใจว่า การดำเนินการของคณะกรรมการตรวจสอบฯ เกิดาขึ้นจากการได้รับผลกระทบเพราะความพยายามก่อตั้งยูโรเปียน ซูเปอร์ลีก ของบรรดาทีม “บิ๊ก 6” จนนำมาสู่ความไม่พอใจในอำนาจการตัดสินใจของบรรดาเจ้าของทีมและนำโลกของฟุตบอลในอังกฤษ (และยุโรป) เข้าสู่ความโกลาหลเกือบ 72 ชั่วโมง และจากการที่ ฟลอเรนติโน เปเรซ ยืนยันว่า ESL ยังไม่ตาย นั่นหมายความว่าทั้งบรรดาแฟนบอล, พรีเมียร์ลีก และรวมไปถึงรัฐบาล ยิ่งต้องเตรียมมาตรการหาทางป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้อีกโดยง่าย

การตรวจสอบ และปรับปรุงโครงสร้างในครั้งนี้ ยังมีการอ้างถึงการใช้กฎ 50+1 แบบที่เป็นอยู่ในเยอรมนี เพื่อให้แฟนบอลคานอำนาจกับเจ้าของทีม โดยในลีกเมืองเบียร์จะมีกฎที่ทำให้สโมสรต่าง ๆ ไม่สามารถเล่นในบุนเดสลีกาได้หากนักลงทุนเชิงพาณิชย์รายหนึ่งมีสัดส่วนการถือหุ้นมากกว่า 49% แต่นั่นก็ยังคงเป็นการโยนหินถามทางในเชิงนโยบายที่ยังไม่มีการลงเสียงใด ๆ ในตอนนี้

ในระยะสั้นการเข้ามาสอดส่องดูแลของรัฐบาลอังกฤษน่าจะมีขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการอธิบายความพยายามว่า “เข้าใจ” และ”เข้าถึง” แฟนบอลจริง ๆ เพราะนอกจากจากอุตสาหกรรมฟุตบอลเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีเงินหมุนเวียนมหาศาลแล้ว ฟุตบอลยังมีความหมายทั้งในเชิงวัฒนธรรม และวิถีชีวิตต่อคนอังกฤษอย่างมาก การเดินหน้านโยบายนี้สำหรับในทางการเมืองแล้วควรจะมีแต่ได้มากกว่าเสีย แต่ในมุมของฟุตบอลที่ไม่มีการเมืองมาเกี่ยวข้อง นี่ก็เป็นเหมือนการ “ตีตรวน” เพื่อลงโทษบรรดาสโมสรร่วมก่อการที่ริอาจสร้างความวุ่นวายขึ้นในสังคมฟุตบอลของอังกฤษเช่นกัน

ถ้าการทำงานของรัฐบาลในครั้งนี้เกิดนโยบายที่ดีให้สามารถเดินหน้าไปได้ นั่นหมายความว่า แฟนบอลจะมีบทบาทมากขึ้นในสโมสร และเสียงของพวกเขาจะ ‘ดังขึ้น’ เมื่อเทียบกับที่ผ่านมา แต่นั่นคงแลกมาด้วยสภาพคล่องในทีมที่อาจจะมีโอกาสถูกแทรกแซง และไม่แน่ว่าบรรดาสโมสรต่าง ๆ จะยอมให้ความร่วมมือกับนโยบายที่จะเกิดขึ้นนี้ง่าย ๆ เพราะในปัจจุบัน อำนาจในการบริหารสโมสรขึ้นอยู่กับเจ้าของทีมแบบเต็ม 100% โดยราฟาเอล เบนิเตซ อธิบายไว้ในบล็อกส่วนตัวของเขา (http://www.rafabenitez.com) ว่า ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องโครงสร้างทางธุรกิจ หรือการบริหารทีม เจ้าของทีมมีสิทธิ์จะเข้ามาแทรกแซงตรงไหนก็ได้ที่พวกเขาเห็นว่าดี

ดังนั้นเราจึงเห็นคำขอโทษต่าง ๆ ที่ออกมาจากเจ้าของทีมหลังจากวิกฤติ ESL ที่ผ่านมา เป็นคำขอโทษต่อทั้งแฟนบอล นักเตะ ผู้จัดการทีม และผู้บริหารบางส่วนด้วย เพราะการตัดสินใจเข้าร่วม ESL เป็นการตัดสินใจจากเจ้าของทีมซึ่งสิทธิ์ขาดอยู่ที่พวกเขาเท่านั้นนั่นเอง

ในทางกลับกัน การกระทำแบบนี้มีเรื่องให้ต้องกังวลอยู่ เพราะเมื่อบรรดาเจ้าของทีมถูกลดทอนอำนาจลง การลงทุน และเม็ดเงินจะยังไหลเข้ามาในวงการฟุตบอลอังกฤษได้คล่องตัวเท่าเดิมหรือไม่ เพราะในเมื่อมีการซื้อสโมสรเกิดขึ้นแต่คนที่ซื้อไม่ได้อำนาจในการตัดสินใจเหนือทีมแบบเบ็ดเสร็จ เพราะหลังจากนนี้อาจจะต้องให้แฟนบอลเข้ามามีส่วนร่วม ก็อาจจะทำให้มีความลังเลในการลงทุนกับสโมสรในอังกฤษเกิดขึ้นหรือเปล่า ลองคิดภาพว่าคุณซื้อของด้วยเงินของคุณแต่จะต้องแบ่งของชิ้นนั้นให้คนอื่นร่วมคิดวิธีที่จะใช้มันด้วย

ทว่าสำหรับมุมของแฟนบอลแล้ว และกุศโลบายที่แท้จริงของอุตสาหกรรมฟุตยอลแล้ว สโมสรฟุตบอลที่รักแม้จะไม่ได้มีชื่อแฟน ๆ เป็นเจ้าของ แต่พวกเขาก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสโมสรแห่งนั้น และน่าจะดีกว่าถ้าพวกเขาได้ร่วมมีส่วนในการตัดสินใจกับสโมสรได้ด้วย ขณะที่เจ้าของตัวจริง แม้มีชื่อในนามทางกฎหมาย แต่ก็ต้องเข้าใจถ่องแท้แล้วเช่นกันว่า นี่คือเกมที่กำเนิดขึ้นมาในภาคประชาชนจากแฟนบอล ทำเพื่อแฟนบอล และชุมชนลูกหนังของทุก ๆ คน โดยทุก ๆ คนมีส่วนร่วมด้วยกับทีมฟุตบอลของตนเอง

#ไข่มุกดำ #ไข่มุกดำทีม

#KMDFeature

#esl #EuropeanSuperLeague

Facebook
Twitter
Pinterest
Email

32 replies on “ฟุตบอลของแฟนบอล”

190560 431138Aw, this was a extremely good post. In concept I wish to put in writing like this moreover ?taking time and precise effort to make an superb article?but what can I say?I procrastinate alot and undoubtedly not appear to get 1 thing done. 676461

350462 10551Hi there! Someone in my Myspace group shared this site with us so I came to give it a appear. Im certainly loving the details. Im bookmarking and will probably be tweeting this to my followers! Outstanding weblog and fantastic style and design. 785657

518823 709096This web page is actually a walk-through its the internet you desired with this and didnt know who need to. Glimpse here, and you will surely discover it. 246962

675626 591156I discovered your weblog internet internet site on bing and appearance several of your early posts. Preserve up the quite great operate. I just now additional the RSS feed to my MSN News Reader. Seeking toward reading far much more on your part down the road! 631657

… [Trackback]

[…] There you can find 25779 more Information on that Topic: khaimukdam.com/column/ฟุตบอลของแฟนบอล/ […]

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

RELATED CONTENT